ร่อนตามลม…ผลศึกษาที่สหรัฐ ชี้ ผู้ป่วยสูงอายุ รักษากับหมอผู้หญิง มีโอกาสรอดตายสูงขึ้น

(FILES) This file photo taken on October 19, 2009 shows A physician with stethoscope in Manassas, Virginia. Elderly people who were treated by female doctors in the hospital had significantly better survival rates and fewer readmissions than those treated by male doctors, said a US study on December 19, 2016. The findings in the Journal of the American Medical Association (JAMA) Internal Medicine were based on a sample of more than one million people whose records were analyzed from 2011 to 2014. / AFP PHOTO / KAREN BLEIER

หัว-ร่อนตามลม

 

 

 

Advertisement

 

 

 

Advertisement

เอเอฟพี รายงานผลการศึกษาที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง ที่ระบุว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ซึ่งเป็นผู้หญิง ระหว่างนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล มีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่า และมีโอกาสเสี่ยงที่จะต้องกลับเข้าไปนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกน้อยกว่าผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ซึ่งเป็นผู้ชาย

นี่เป็นผลการศึกษาที่ได้จากการศึกษาข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1 ล้านคน ระหว่างปี พ.ศ.2554-2557 และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ในรายงานผลการศึกษาระบุว่า ผู้ป่วยสูงวัยที่ได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์หญิง มีโอกาสเสี่ยงน้อยกว่าที่จะเสียชีวิตภายในระยะเวลา 30 วัน ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือมีโอกาสเสี่ยงน้อยกว่าที่จะต้องกลับเข้าไปนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีก หลังออกจากโรงพยาบาลในระยะเวลา 30 วัน

ทั้งนี้ ยูสุเกะ ทสึกาวะ หัวหน้าทีมศึกษาวิจัยรายงานชิ้นนี้ของฝ่ายบริหารและกำหนดนโยบายของโรงเรียนสาธารณสุขในเครือของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ถ้าหากนายแพทย์สามารถประสบความสำเร็จในการรักษาเช่นเดียวกับแพทย์หญิง ก็จะทำให้แต่ละปีมีผู้ป่วยสูงวัย ซึ่งมีอายุมากกว่า 65 ปีเสียชีวิตลดลงไป 32,000 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขเท่ากับจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาในแต่ละปี

“ความแตกต่างระหว่างอัตราการเสียชีวิต ทำเอาพวกเราประหลาดใจจริงๆ โดยจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเพศของแพทย์เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยที่มีอาการหนัก” ยูสุเกะกล่าว

ในรายงานผลการศึกษาระบุด้วยว่า นี่เป็นการศึกษาสำรวจครั้งแรก ที่ทำขึ้นเพื่อต้องการศึกษาหาผลลัพธ์เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยนายแพทย์และแพทย์หญิงว่าจะมีผลลัพธ์เป็นอย่างไร โดยในผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยแพทย์หญิงมีโอกาสที่จะเสียชีวิตลดลง 4% เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยสูงวัยที่รักษาโดยนายแพทย์ และยังพบด้วยว่าผู้ป่วยสูงวัยที่ได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์หญิง มีโอกาสเสี่ยงที่จะกลับเข้าไปนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีก หลังจากออกจากโรงพยาบาลภายใน 30 วัน ลดลง 5%

 

แพทย์หญิง 2

 

ที่น่าสนใจก็คือ ในรายงานผลการศึกษาระบุด้วยว่า “นี่เป็นผลลัพธ์ที่พบอย่างแพร่หลายไม่ว่าในคลินิก หรือในโรงพยาบาลแบบใด รวมทั้งไม่ว่าจะเป็นโรคร้ายชนิดใดก็ตาม”

อย่างไรก็ตาม ในผลการศึกษาไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างเช่นนี้ แต่ในผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ระบุว่าแพทย์หญิงมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติทางคลินิก มากกว่านายแพทย์ นอกจากนั้น แพทย์หญิงยังมีการสื่อสารโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมากกว่า

อาชิช เจฮา ศาสตราจารย์ด้านนโยบายสุขภาพและผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพทั่วโลกฮาร์วาร์ด กล่าวว่า ปัจจุบันความเข้าใจที่ดีขึ้นถึงการเข้าถึงผู้ป่วยคือสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าเมื่อก่อน

“มีหลักฐานที่เห็นได้ชัดถึงการปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างแพทย์หญิงและนายแพทย์ และจากผลการศึกษาที่เราได้ก็แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างเหล่านั้นมีความหมาย และมีความสำคัญต่อสุขภาพของผู้ป่วย”

นายเจฮายังกล่าวทิ้งท้ายว่า “เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าทำไมแพทย์หญิงจึงมีผลทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับผลการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงเพศของแพทย์ผู้รักษา”

อนึ่ง ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา มีแพทย์หญิงอยู่ราว 1 ใน 3 ของแพทย์ทั่วประเทศ และมีนักศึกษาหญิงที่เรียนแพทย์อยู่ครึ่งต่อครึ่งกับนักศึกษาชาย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image