ปาย เมืองเล็กๆ แห่งความสุข หนึ่งหมุดหมาย ของ นักท่องเที่ยวยิว

ปาย เมืองเล็กๆแห่งความสุข หนึ่งหมุดหมายของนักท่องเที่ยวยิว

ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ตกเป็นข่าวกระแสการต่อต้านนักท่องเที่ยวชาวอิสราเอล จากปัญหาความขัดแย้ง ถึงขั้นปักป้ายไม่ต้อนรับชาวยิว เป็นกระแสที่แพร่สะพัดไปในวงกว้าง สร้างความกังวลเรื่องการแย่งงาน แย่งอาชีพ การรวมกลุ่มทำกิจกรรม ที่อาจสร้างปัญหากระทบความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ และการท่องเที่ยวอำเภอปาย

สำหรับ อ.ปาย เป็นเมืองเล็กๆ อำเภอหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอนจังหวัดเหนือสุดของสยาม เดิมมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ไม่เพียงนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเท่านั้น แต่นิยมพักผ่อนแบบพักยาวๆหลายวัน เพราะเป็นเมืองเล็กที่น่ารัก อบอุ่น มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามค่อนข้างมาก ชาวบ้านในพื้นที่ยังมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม จึงเป้าหมายของหลายๆคนที่อยากเดินทางขึ้นมาเยือนสักครั้ง

ADVERTISMENT

“ปาย” เริ่มเติบโตทางการท่องเที่ยวอย่างมากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลายประเทศนิยมเดินทางมาพักผ่อนในรูปแบบคนเดียว ครอบครัว หรือมาแนวการผญจภัย แบกเป้เพียงใบเดียวกับเงินอีกเล็กน้อย เพื่อเดินทางมาดินแดนสวรรค์แห่งนี้ เล่าลือกันในกลุ่มนักท่องเที่ยวว่า เมืองนี้เป็นดินแดนอิสระของนักท่องเที่ยวต่างแดน หรือ เป็นที่นัดหมายของนักท่องเที่ยวแต่ละเชื้อชาติมาพบปะกัน จนมีการรวมตัวกันจัดกิจกรรม ทั้ง ฟูลมูนบาร์ตี้ในวันพระจันทร์เติมดวง นิยมจัดท่ามกลางขุนเขาช่วงกลางคืนท่ามกลางแสงจันทร์ ท่ามกลางกระแสข่าวเชิงลบที่มาพร้อมปาร์ตี้ ที่มีกัญชา ยาเสพติด

ปัจจุบัน ปายเปลี่ยนไปแล้ว แต่ละปีมีนักท่องเที่ยว เดินทางมาเที่ยวเมืองปายมากถึง 200,000-300,000 คน มีทั้งเดินทางมาพักผ่อนท่องเที่ยว พำพักในระยะยาวของผู้สูงอายุ เนื่องจากค่าครองชีพค่อนข้างถูก บางกลุ่มยังมาหาช่องทางประกอบอาชีพ หรือ สร้างครอบครัว โดยเป็นนักท่องเที่ยวหลากหลายเชื้อชาติ อังกฤษ อิสราเอล เยอรมัน อเมริกา และอื่นๆ รวมถึงกลุ่มชาวยิว หรืออิสราเอล จากสถิติของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองในปี 2567 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทุกสัญชาติเข้ามาเที่ยวในพื้นที่อำเภอปาย มีประมาณ 220,000 คน เป็นนัชาวอิสราเอลประมาณ 31,000 คน เข้ามาเที่ยวมาทั้งรูปแบบครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือเดินทางคนเดียว

ADVERTISMENT

สำหรับในกลุ่มที่ไม่ได้เดินทางมาแบบครอบครัว มักเดินทางมากัน 1-2 คน ส่วนใหญ่อยู่มีอายุ 20-30 ปี จะใช้เวลาเที่ยวประมาณ 1 สัปดาห์ กลุ่มนี้ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่างๆของไทย แน่นอนว่าต้องปักหมุดที่ อ.ปาย ในโปรแกรม เพื่อมาพบปะสรรสรรค์กับเพื่อนชาติเดียวกันและหลายประเทศ

ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบครอบครัวจะพักอาศัยในระยะยาวกว่านั้น ส่วนใหญ่เป็นคนวัยเกษีณย ที่ชื่นชอบการเดินทางพักผ่อนในเมืองเล็กๆที่มีครองชีพไม่แพง ส่งผลให้เศรษฐกิจของอำเภอปายคึกคักมากขึ้น ตั้งแต่ธุรกิจโรงแรมที่พัก ต่อเนื่องไปถึงร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านนวด ร้านเช่ารถ และร้านค้าตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

ส่วนสไตล์การท่องเที่ยว ยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ซึ่งอ.ปาย มีให้เลือกหลายแห่ง ทั้งป่าไม้ ภูเขา และเส้นทางเดินทาง แบบออฟโรด รวมทั้งกิจกรรมท่องเที่ยว เช่น กิจกรรมล่องห่วงยางในลำน้ำปายในช่วงสภาพอากาค่อนข้างร้อน ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยว ราว 200-300 คนมาล่องห่วงยาง , ดูพระอาทิตย์ตกดินที่กองแลน หรือแกรด์แคนยอน เมืองไทย เพื่อชมความสวยของของแสงสุดท้ายด้านชายแดนตะวันตกของประเทศไทย รวมทั้งกิจกรรมแช่โป่งน้ำร้อนท่าปายหรือโป่งน้ำร้อนบ้านไทรงาม แหล่งท่องเที่ยวอันซีนอีกแห่งของ อ.ปาย

จากความนิยมท่องเที่ยวของชาวอิสราเอล ที่แห่เดินทางเข้ามามากและต่อเนื่อง มีการวิเคราะห์การคาดการณ์กันว่า เหตุที่มาเมืองปาย มีเหตุผลสำคัญ คือ ความกังวลเรื่องความปลอดภัยจากการสู้รบ หรือการถูกทำร้าย โดยนักท่องเที่ยวเหล่านี้ มักรวมกันเป็นกลุ่มก้อน และเที่ยวกันเฉพาะกลุ่มหนึ่ง ประกอบกับพื้นที่ อ.ปาย มีชาวมุสลิมไม่มากเหมือนทางภาคใต้ของประเทศไทย ปาย จึงมีความปลอดภัยมากกว่า

นอกจากนี้มีข้อจำกัดเรื่องเส้นทาง ซึ่งพื้นที่นี้มีเส้นทางเพียงถนนสายเดียว ยังไม่รวมกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีบรรยากาศดี ผู้คนเป็นมิตร ค่าใช้จ่ายไม่สูง ทั้งยังสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ท่องเที่ยวได้อย่างเสรี มี community ที่เชื่อมโยงกลุ่มนักท่องเที่ยวชาติต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนพูดคุย โดยไม่ได้แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา รวมทั้งมี “ชาบัดเฮ้าส์ปาย” อาคารกึ่งโบสถ์ หรือ สถานที่ประกอบศาสนกิจ ที่อำนายความสะดวกให้ชาวยิวได้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาด้วย

จากการตรวสอบย้อนหลัง จะพบว่าในอดีตมีครอบครัวชาวยิวมาปักหลักตั้งถิ่นฐานใน อ.ปาย หลายปีแล้ว เริ่มแรก 50-80 คนเท่านั้น แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น มี 1,000-1,300 คน หมุนเวียนเข้าออกตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย ส่วนหนึ่งชาวยิวมามากเกิดจากการบอกต่อผ่านสื่อออนไลน์ในกลุ่ม ที่แนะนำว่า ปาย เป็นเมืองเล็กๆที่สงบเงียบ มีธรรมชาติที่สวยงาม และมีความปลอดภัยสำหรับการพักผ่อนของชาวยิว เนื่องจากปัญหาภายในประเทศอิสราเอล ทำให้หลายคนเลือกเดินทางมาหาพื้นที่สงบและไม่อยากยุ่งกับสงคราม ทำให้มีการย้ายมาปักหลักในเมืองปายมากขึ้น

ส่งผลให้เกิดความกังวลถึงการขยายตัวของครอบครัวชาวยิวในอนาคต จะนำมาซึ่งการแย่งอาชีพของคนพื้นที่ ปัจจุบัน ชาวยิวไม่นิยมประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง มีบ้าง คือ ทำอาหาร หรือ แสดงดนตรีตามช่วงเวลาเท่านั้น โดยมีชาวยิวที่ work permit หรืออนุญาตให้ประกอบาชีพเพียง 7 รายเท่านั้น ส่วนการตั้งรกรากในพื้นที่ ข้อมูลของสำนักทะเบียนอำเภอปาย ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสของชาวอิสราเอลกับชาวไทยในพื้นที่อำเภอปาย ตั้งแต่ปี 2565 เพียงคู่เดียว จาก 35 คู่ที่จดทะเบียนสมรส แต่พบนักท่องเที่ยวสัญชาติอังกฤษมากที่สุด 10 คู่

อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 มีชาวอิสราเอลยื่นคำร้องขออยู่ต่อในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน 1,857 ราย แยกเป็น เพื่อการท่องเที่ยว 1,270 ราย เพื่อการศึกษา 39 ราย เป็นครอบครัวคนต่างด้าวที่มาศึกษาในสถานศึกษา 12 ราย มีความจำเป็นทางธุรกิจ 7 ราย เป็นครอบครัวคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราว 5 รายในปี 2568 ในเดือนมกราคม และมีชาวอิสราเอลยื่นขออยู่ต่ออีก 203 ราย จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยื่นคำร้อง 871 ราย และมี 10 ราย ที่อยู่ยาว 1 ปีด้วยสาเหตุด้านธุรกิจ และมีภรรยาเป็นคนไทย

หลังเกิดปัญหาขึ้น นายเอกวิทย์ มีเพียร ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ และหารือกับนายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายอำเภอปาย หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องมาตรการแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว

พล.ต.ต.ทรงกริช ออนตะไคร้ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ในการรักษาความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้วางกำลังและกวดขันในทุกพื้นที่ที่เป็นจุดสำคัญ เช่น ถนนคนเดินปาย และสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เบื้องต้นเหตุการณ์ปกติ รวมทั้งตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลที่ถูกกล่าวอ้างในสื่อสังคมออนไลน์ ก็พบว่าข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนถูกบิดเบือนจนสังคมเกิดความสับสน

ด้าน ผู้ว่าฯ เอกวิทย์ กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยวอำเภอปาย หลังมีกระแสข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ถึงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลบางกลุ่ม ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับจัดระเบียบการท่องเที่ยวทั้ง 5 มาตรการตามข้อสั่งการอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย การประกอบอาชีพของชาวต่างชาติ, การสันทนาการ เช่น ร้านจำหน่ายกัญชา ร้านบริการต่างๆ, การกวดขันวินัยจราจรของชาวต่างชาติ, การแต่งกายไม่เหมาะสมของชาวต่างชาติหลังกิจกรรมล่องห่วงยาง และสถานประกอบการรวมทั้งสถานบริการต่างๆ ขณะเดียวกันทุกหน่วยงานได้เร่งสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชนผ่านสื่อทุกช่องทาง เพื่อไม่ได้รับข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าว ลดความสับสนจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บิดเบือน และคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

“จากกรณีข่าวที่เกิดขึ้น เป็นข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อน จังหวัดแม่ฮ่องสอนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมชี้แจงสร้างความเข้าใจให้กับสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนต้องอาศัยร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงเครือข่ายสื่อมวลชนร่วมสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริง รอบด้าน และครบถ้วน อย่างไรก็ตาม อำเภอปาย ยังพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติทุกประเทศ” ผู้ว่าฯ กล่าว

ในฝั่งผู้ประกอบการ “ผู้กองแบงค์” อดีตตำรวจ และ อินฟลูเอนเซอร์ ด้านการท่องเที่ยว อ.ปาย เล่าว่า ช่วงตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคมเป็นที่รับรู้กันว่า จำนวนนักท่องเที่ยงจะลดลง แม้จะเป็นช่วงที่การท่องเที่ยวซบเซา แต่ถือเป็นช่วงที่ให้ชุมชนได้มีโอกาสฟื้นฟู พัฒนา และเตรียมความพร้อมสำหรับฤดูกาลท่องเที่ยวถัดไป การเข้าใจสาเหตุเหล่านี้จะช่วยให้ทุกภาคส่วนสามารถวางแผนและรับมือกับสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น

“ช่วงนี้นักท่องเที่ยวต่างประเทศจะบางตาลง ราว 70-80 % จากปัจจัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นแบบนี้ทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จนกว่าฝนแรกจะกลับมาอีกครั้งในสัปดาห์ที่ 2 -3 ของเดือนพฤษภาคม นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจะกับมาปายอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงโลว์ซีซั่น อ.ปาย ถือเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่ยังได้รับความนิยม ด้วยหลายเหตุผลที่นับได้ถึง 49 ข้อ อาทิ บรรยากาศเงียบสงบ สามารถถ่ายภาพกับแหล่วท่องเที่ยวได้อย่างสวยงาม ไม่มีผู้คนแออัด เลือกที่พักได้ตามต้องการทั้งห้องวิวดี ราคาไม่แพง และไม่ต้องต่อคิวหรือจองล่วงหน้า ดี้รัยบบริการที่ดี ได้เห็นวิถีชีวิตดั้งเดิม ร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม เยี่ยมชมวัด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยไม่ผ่านการปรับแต่งเพื่อรับนักท่องเที่ยว การจราจรไม่ติดขัด ราคาสินค้า และบริการถูกลง มีโปรโมชั่นมากมาย ที่สามารถต่อรองราคาได้”

โดยรวมแล้วเที่ยวปายช่วงนี้ ชีวิตค่อนข้างสโลว์ไลฟ์ จะได้สัมผัสเสน่ห์ของ เมืองปายที่แตกต่างไปจากช่วงไฮซีซั่น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image