คนรุ่นใหม่มาทำตามพ่อ ‘ปลูกเพ(ร)าะสุข’

นิยาม “ความสุข” ของแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ดังเช่นเหล่า “คนรุ่นใหม่” ที่เข้าร่วมโครงการทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะสุข ซึ่งเป็นโครงการที่น้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแรงบันดาลใจในการสรรค์สร้างความสุขที่ยั่งยืน โดยกลุ่มมิตรผลเป็นผู้ริเริ่มโครงการ

ปรีชา หงอกสิมมา ปราชญ์เกษตรทฤษฎีใหม่จากจังหวัดขอนแก่นที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ กล่าวถึงเส้นทางเพาะความสุขจากแนวคิดของพ่อหลวงว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาอมตะที่ชี้นำแนวทางในการดำรงชีวิตให้กับประชาชนในทุกระดับ โดยมุ่งหวังให้คนไทยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง มีภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง นำไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนท่ามกลางสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

“เมื่อนำความรู้ด้านการเกษตรที่มีไปผนวกกับประสบการณ์จากการทำงานเป็นนักฝึกอบรมของโครงการส่วนพระองค์ ก็ก่อให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจที่จะกลับมาสานต่อในเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ ทั้งยังส่งต่อความรู้ให้กับชุมชน ทั้งในเรื่องการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรใช้เองในครัวเรือน โดยเชื่อว่าทฤษฎีดังกล่าวจะช่วยทำให้คนในชุมชนใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคง สมดุลกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือมีความพอใจในสิ่งที่ตนเองมีและใช้ทรัพยากรในมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“โดยส่วนตัวเชื่อว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มิได้จำกัดอยู่แค่ในวงของเกษตรกรเท่านั้น แต่เป็นหลักการที่เป็นสากล และคนไทยทุกคนควรหาโอกาสเข้ามาเรียนรู้เพื่อให้ตนเองเกิดความสุขที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง” ปรีชากล่าว

Advertisement

ขณะที่ ธิดารัตน์ ตลับนิล เกษตรกรต้นแบบด้านเกษตรทฤษฎีใหม่จากจังหวัดชัยภูมิ เล่าถึงความสุขที่ได้จากการปรับพื้นที่ตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประมาณ 2 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ทำนา ปลูกผักผลไม้ สระน้ำเลี้ยงปลา และการปรับเปลี่ยนมาสู่การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้ทรงให้แนวทางไว้ทำให้ตนเองใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

ฟากของคนรุ่นใหม่ผู้ใช้ชีวิตในเมือง นภนิศ อิศรางกูร ณ อยุธยา ก็เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ได้รับแรงบันดาลใจจากคำสอนของพ่อหลวงเช่นกัน

นภนิศเล่าถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับชีวิตประจำวันว่า “แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการดำเนินชีวิตที่ไม่ว่าใครก็สามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้ แม้กระทั่งตัวเองซึ่งทำงานเป็นสถาปนิกและมีไลฟ์สไตล์แบบคนเมือง โดยหลักๆ จะเป็นเรื่องของการใช้ชีวิตบนพื้นฐานของความพอประมาณในทุกด้าน พร้อมทั้งนำความรู้ด้านสถาปัตยกรรมที่เล่าเรียนมาผสมผสานกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาโครงการพัฒนาชุมชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ นภนิศยังทำหน้าที่เป็นนักออกแบบความสุขที่จะให้คำปรึกษาในการจัดตั้ง “ศูนย์ปลูก เพ(ร)าะสุข” โดยสอดแทรกการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาปรับปรุงการท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน เริ่มจากการปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่และนำความรู้พื้นบ้านมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบในยุคสมัยใหม่

Advertisement

เพื่อให้เกิดความน่าสนใจโดยที่ไม่ลืมภูมิปัญญาของแต่ละชุมชน

 

นภนิศ
ปรีชา-ธิดารัตน์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image