‘กล้องจุลทรรศน์’บนกล้องสมาร์ทโฟน ผลงานไฮเทคฝีมือคนไทย

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก Chula SmartLens

พูดถึงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แล้ว หลายคนคงจะอดนึกถึง กล้องจุลทรรศน์ อุปกรณ์ตัวใหญ่ที่เป็นดั่งตัวช่วยเรียนรู้เรื่องราวของโลกใบจิ๋ว เป็นไม่ได้ ก็ด้วยคุณสมบัติที่ให้เด็กหลายคนได้มองลอดผ่านเลนส์ขยาย ดูรายละเอียดของสิ่งเล็กๆ บนโลกนี้ แต่เพราะเจ้ากล้องจุลทรรศน์มีข้อจำกัดมากมาย ทั้งเรื่องขนาด การใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงเรื่องราคานี่เอง ที่ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้ห่างไกลจากเด็กไปเสียหน่อย

แต่ทุกวันนี้ กล้องจุลทรรศน์ จะเข้าใกล้ตัวเด็กมากขึ้น เมื่อ ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ประดิษฐ์ “จุฬาสมาร์ทเลนส์” นวัตกรรมเลนส์อัจฉริยะที่ช่วยเปลี่ยนสมาร์ทโฟน สิ่งใกล้ตัวของใครหลายๆ คนตอนนี้ ให้เป็นกล้องจุลทรรศน์เคลื่อนที่ได้ เพียงแค่ใช้หนีบติดกับกล้องสมาร์ทโฟนไม่ว่าจะกล้องหน้าหรือกล้องหลัง ก็ช่วยขยายสิ่งเล็กๆ ให้ชัดเจนขึ้นทั้งระดับ 20 เท่า กับ 40 เท่า และล่าสุดกับระยะซูม 50 เท่า

ศ.ดร.สนอง
ศ.ดร.สนอง
เลนส์
เลนส์

ด้วยไอเดียที่อยากสร้างมิติใหม่ให้กับการศึกษาผ่านการถ่ายภาพด้วยกล้องสมาร์ทโฟนซึ่งมีความละเอียดเพิ่มขึ้นทุกๆ วัน เนื่องจากเห็นว่ากล้องจุลทรรศน์ทั่วๆ ไปนั้นมีราคาแพง เคลื่อนย้ายยากเพราะใหญ่ และต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลา จึงได้ผลิตเลนส์นี้ขึ้นมา แรกเริ่มเพื่อใช้ส่องอัญมณีเนื่องจากได้ทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยอัญมณีศาสตร์และเครื่องประดับแห่งชาติมา ภายหลังก็ได้นำไปต่อยอดใช้ส่องวัตถุทั่วไป และได้นำไปใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสาธิตฯจุฬาฯ แล้ว

“ทุกวันนี้ใครๆ ก็มีสมาร์ทโฟน เด็กๆ ในโรงเรียนสามารถนำเลนส์ไปหนีบกับสมาร์ทโฟนช่วยทุ่นราคา จากที่ต้องซื้อกล้อง หลายหมื่นบาท เราขายสิ่งนี้ราคา 500 บาท สำหรับเลนส์ 20 เท่า และ 700 บาท สำหรับเลนส์ 40 เท่า เด็กๆ หลายคนนำไปส่องปรสิต เกสรดอกไม้ เซลล์ต่างๆ ช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาไปได้เรื่อยๆ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ก็นำไปส่องอัญมณี ถ่ายภาพส่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูว่าเป็นของปลอมหรือไม่ หรือที่ผ่านมาก็มีผู้เลี้ยงกุ้งนำไปส่อง ถ่ายภาพแล้วส่งให้สัตวแพทย์ดูว่ากุ้งของเขาเป็นโรคหรือไม่ ก็มีประโยชน์ของมันหลากหลายมาก และส่วนตัวก็อยากให้สิ่งนี้เผยแพร่เข้าไปสู่ทุกคน”

Advertisement

12471680_1625995450994713_6313240616969228856_o

IMG_2372

หลังจากเปิดตัวไปเมื่อกลางปีที่แล้ว ศ.ดร.สนองเผยว่า ได้รับความสนใจมาก โดยได้นำเอาจุฬาสมาร์ทเลนส์ไปพรีเซนต์ที่กรุงบรัสเซลส์ ชาวต่างชาติต่างให้ความสนใจรวมทั้งมีคนสนใจติดต่อเข้ามาหลายราย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่เห็นว่าเป็นของใหม่

Advertisement

วันนี้ ศ.ดร.สนองจึงได้ต่อยอดประดิษฐ์อุปกรณ์ใหม่อย่าง สโคป 360 เป็นแท่น (Stage) สำหรับตั้งกล้องสมาร์ทโฟน พร้อมขาหนีบวัตถุ สามารถปรับระยะต่างๆ ระหว่างวัตถุและเลนส์ได้ ออกแบบให้ใช้ง่าย และประกอบง่าย สามารถพกพาไปที่ต่างๆ ได้โดยง่าย

ชุดเลนส์ครบเซ็ต ภาพจากเฟซบุ๊ก Chula SmartLens
ชุดเลนส์ครบเซ็ต
ภาพจากเฟซบุ๊ก Chula SmartLens

“หลังจากที่นำไปโชว์ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ก็มีหลายคนสนใจเครื่องนี้ เพราะจะช่วยทำให้สะดวกมากขึ้นในการใช้เลนส์นี้ ในตอนนี้ยังไม่ทำเพื่อเชิงพาณิชย์ ซึ่งหากสนใจก็สามารถติดต่อได้ที่ภาควิชาเคมีได้”

“ส่วนตัวผมเอง ไม่กังวลว่าจะโดนก๊อปสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ แต่อยากให้คนทั่วไปรู้จักสิ่งๆ นี้ เพื่อนำไปใช้ในด้านการศึกษาโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดารได้มากกว่า เพราะการเริ่มต้นให้เขาได้ศึกษาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนี้ ทำให้เขาอยากรู้อยากเห็นและไปศึกษาเพิ่มเติมได้มากขึ้น”

นวัตกรรมใหม่

ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ก Chula SmartLens

11792065_1582785718649020_5795349834895678003_o

11893835_1589613224632936_57508601696202740_o

11922933_1591044241156501_3334077054359245052_o

IMG_2372

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image