นักโภชนาการแนะ ‘อาหารสมอง’ ดีต่อ ‘ลูกน้อย’ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

เพราะ “สมอง” เป็นอวัยวะสำคัญที่บรรจุกลไกในการควบคุมร่างกายไว้ จึงมีความสำคัญอย่างมาก แต่ทราบหรือไม่ว่า ? สมองมีการทำงานตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งถึงช่วงเวลาสำคัญที่สุด คือ ช่วงหลังคลอดจนถึง 6 ปีแรก และ “โภชนาการ” คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้สมองของเด็กสามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพตามวัย

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ “โฟร์โมสต์” จึงได้จับมือ “นักโภชนาการ” แนะเทคนิคการเลือกอาหาร พร้อมชวนทำความรู้จักสารอาหารสำคัญ “กรดอะมิโนจำเป็น และโอเมก้า 369” ที่จะช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อยให้มีพัฒนาการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

พิมจันทร์ วิมุกตานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เผยว่า สารอาหาร ที่สำคัญในการเสริมสร้างสมอง ในที่นี้ คือ “โอเมก้า 369 ” กรดไขมันจำเป็นชนิดไม่อิ่มตัวที่ช่วยในการสร้างเครือข่ายใยประสาทในสมองของเด็ก ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาและสมาธิที่ดี ส่วน “กรดอะมิโนจำเป็น ทั้ง 9 ชนิด” ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น เป็นหน่วยย่อยที่สุดของโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที ช่วยในเรื่องของการควบคุมกลไกภายในร่างกาย ทั้งระบบภูมิคุ้มกัน การเผาผลาญไขมัน การเติบโตของระบบประสาทและความจำ รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูก ให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ

พิมจันทร์ วิมุกตานนท์

ด้าน แววตา เอกชาวนา นักกำหนดอาหารวิชาชีพ กล่าวว่า สมองของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ จนถึง 6 ขวบนั้น เจริญเติบโตเร็วมาก ทั้งขนาดและกระบวนการทำงาน สมองจะเติบโตถึง 90% และเซลล์ในสมองจะสร้างการเชื่อมโยงเข้าหากันทีละเล็กละน้อย เปรียบเสมือนการวางโครงสร้างอาคาร ที่ค่อยๆ ต่อเติมไปทีละส่วน ฉะนั้น หากสมองเติบโตได้สมบูรณ์จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก อาทิ เด็กในวัยเพียง 1-6 ขวบนั้น สามารถเรียนรู้ภาษาพร้อมๆ กันได้ถึง 7 ภาษา ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ที่จริงสมองเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาพูดได้ถึง 5,000 ภาษาเลยทีเดียว

Advertisement
แววตา เอกชาวนา นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

นอกจากนี้ ในผลวิจัยยังพบว่า ‘นมแม่’ มีกรดอะมิโนครบถ้วนต่อเด็กมากที่สุด และเด็กในวัยเจริญเติบโตควรรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เมื่อเห็นว่าลูกกินได้น้อย คุณพ่อคุณแม่ควรจัดอาหารระหว่างมื้อมาเพิ่ม แต่ต้องไม่บ่อยจนรบกวนอาหารมื้อหลัก และอาหารต้องไม่มีรสชาติหวานจัด เพราะจะทำให้ลูกไม่อยากอาหารได้ รวมถึงอย่าติดสินบนเพื่อให้เด็กยอมกินอาหาร เพราะจะทำให้เด็กติดนิสัยและไม่ยอมกินเมื่อไม่มีของมาแลกเปลี่ยน พยายามอย่าบังคับ ขู่เข็ญ ให้เด็กกินอาหาร เพราะจะทำให้รู้สึกไม่ดีต่อการกินและไม่อยากกิน และกลายเป็นคนกินยากไปในที่สุด

อย่างไรก็ตาม นอกจากโภชนาการที่เหมาะสมแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ คือกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมอง เพื่อกระตุ้นให้สมองทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ ผ่านทักษะสัมผัส 7 ประเภท ทั้งการสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรสชาติ การเคลื่อนไหว และการทรงตัว ซึ่งนอกจากจะได้ทั้งความสนุก อารมณ์แจ่มใส ร่างกายแข็งแรง พัฒนาสมอง และยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีของครอบครัวอีกด้วย

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image