“อาชีพ” สร้างโอกาส เยาวชนผู้เคยก้าวพลาด

ทุกคนมีโอกาสก้าวพลาด แต่ความในความผิดพลาดนั้น หากได้รับความให้อภัยและให้โอกาสในการแก้ตัวอีกครั้ง คงไม่มีใครอยากจะทำให้พลาดอีก

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิซิตี้ และองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จึงจัด “โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาชีพเยาวชน” ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จ.สมุทรปราการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิความปลอดภัย สร้างแรงบันดาลใจลดการกระทำผิดซ้ำ และเพิ่มโอกาสในการจ้างงานอย่างเป็นธรรมให้กับเยาวชนผู้เคยกระทำผิด

ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา หรือ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 10 จังหวัดสมุทรปราการ มีอำนาจรับเด็กและเยาวชนเข้ารับการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเยาวชนและครอบครัว 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นนทบุรี ปทุมธานี และนครนายก โดยโครงการดังกล่าวจะเข้ามาเสริมความเข้มแข็ง โดยมีอาชีพให้เหล่าเยาวชนเลือกเรียน 5 อาชีพ คือ ช่างไม้ก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า และช่างคอมพิวเตอร์กราฟิก
นายนิธินพ โล่วเจริญ อาจารย์ประจำศูนย์ฝึก กล่าวว่า มีอาจารย์สอนในหน่วยต่างๆ มาจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ สอนทั้งปูพื้นฐานภายในและภายนอก ประเมินงานโดยการสอบ เรียนแต่ละหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง และภายใน 4 เดือนหากประเมินผ่านจากทางโรงงานก็สามารถทำงานกับบริษัทต่อ ได้ค่าแรงประมาณ 350-420 บาทต่อวัน

gen01130359p2“เยาวชนที่ผ่านการฝึกหลักสูตรวิชาชีพ แล้วจะออกไปทำงานภายนอก ทางศูนย์ฝึกฯ จะหาแหล่งประกอบการให้หรือเยาวชนไปประกอบอาชีพตามภูมิลำเนาของตนก็ได้ เมื่อทำงานครบ 14 วันก็จะให้กลับมารายงานตัวตรวจปัสสาวะและรอยสักเพื่อดูว่ามีเพิ่มเติมหรือไม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นการดูแลในช่วงต้นเพื่อให้เกิดการปรับตัวอยู่ทั้งภายในศูนย์ฝึก และอยู่ภายนอกสังคม” นายนิธินพกล่าว

Advertisement

“ฟ่าง” (นามสมมุติ) อายุ 19 ปี เด็กจากบ้านกรุณา กล่าวว่า ครอบครัวเสียค่าเดินทางเวลามาหา นำของมาให้ก็เสียเงินเยอะ จึงอยากทำงานช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัวต่อไปในอนาคต โดยอยากให้ทางศูนย์ฝึกหางานให้และหาเองด้วยอีกทางหนึ่ง

เช่นเดียวกับ “โด” (นามสมมุติ) และ “หนึ่ง” (นามสมมุติ) อายุ 18 ปี ที่บอกว่าในอนาคตอยากมีงานทำเมื่อออกไปข้างนอก ช่วยเหลือครอบครัวได้

อีกทั้งภายในยังมีห้องสมุดและหน่วยพละที่ก่อตั้งพร้อมกับศูนย์ฝึก เพื่อเป็นทางเลือกกิจกรรมนันทนาการ

นางชาลี ปุจฉาการ ครูบรรณารักษ์ กล่าวว่า แต่ละเดือนจะมีกิจกรรมให้เด็กร่วมสนุกชิงเงินรางวัล เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการอ่าน ในขณะนี้ห้องสมุดได้รับบริจาคจากผู้ปกครองและงบประมาณจากทางรัฐบ้าง มีหนังสือทั้งหมด 700-800 เล่ม เด็กจะยืมไปอ่านตามลานต่างๆ และนำมาคืนมีประมาณ 250 คน/วัน หนังสือยอดฮิตส่วนมากจะเป็นการ์ตูน เช่น วันพีช นารูโตะ

เพื่อไม่ให้เยาวชนเหล่านี้หวนคืนสู่เส้นทางกระทำผิด

gen01130359p3

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image