ก้าวต่อไป “ปิดทองหลังพระฯ” ยึดแนวพระราชดำริ “ขยายผลสู่ชุมชน”

ด้วยมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ดำเนินการพัฒนาในพื้นที่ต้นแบบ 5 จังหวัด มาเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยมีผลการดำเนินงานก้าวหน้ามาโดยลำดับ ในโอกาสครบรอบการดำเนินงาน 6 ปี มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ จึงจัดงาน “6 ปีปิดทองฯ ขยายผลสู่ชุมชน” เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน และทิศทางการทำงานในอนาคต ที่สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวถึงผลการดำเนินงานของปิดทองหลังพระฯ ในพื้นที่ต้นแบบทั้ง 5 พื้นที่ ได้แก่ จ.น่าน อุดรธานี เพชรบุรี กาฬสินธุ์ และอุทัยธานี รอบ 6 ปีที่ผ่านมาว่า ถือว่าสัมฤทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบน้ำ ที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน

“ปิดทองหลังพระฯ เกิดขึ้นเพื่อนำแนวทางพระราชดำริมาเป็นแนวทางหลักในการบริหารประเทศ โดยช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ปิดทองหลังพระฯ ทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการบูรณาการ เริ่มจากการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ต้นแบบทั้ง 5 จังหวัดอย่างสัมฤทธิผล ประชากร 3,948 ครอบครัวในพื้นที่ต้นแบบ มีพื้นที่รับน้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น 17,379.67 ไร่ พร้อมกับส่งเสริมการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมสนับสนุนจากภาคเอกชนและภาครัฐ”

การทำงานของปิดทองหลังพระฯ ม.ร.ว.ดิศนัดดาบอกว่า เป็นการทำงานแก้ไขปัญหาที่แก้ตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

Advertisement

“เป็นการทำงานโดยสร้างต้นแบบพัฒนาชุมชน โดยพัฒนาตามความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง ว่า ปัญหาคืออะไร ความต้องการคืออะไร เราเรียนรู้จากชุมชน เข้าไปสอบถามทุกหลังคาเรือน ได้พบปัญหา 70-80 เปอร์เซ็นต์ ของทุกหลังคาเรือน ซึ่งนี่คือปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ไม่ใช่ปัญหาที่มาจากคำพูดจากปากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อบต.”

นอกจากพัฒนาทางเศรษฐกิจของชุมชนแล้ว ยังส่งเสริมอาชีพและพืชเศรษฐกิจใหม่ๆ เช่น พริกซุปเปอร์ฮอท สตรอเบอรี่ กล้วยเหลืองนวล ยังช่วยเพิ่มความรู้และต่อยอดไปสู่ความเข้มแข็ง จากระดับครัวเรือนไปสู่ระดับชุมชนได้ในอนาคต จนปัจจุบันเกิดกลุ่มและกองทุนที่ชาวบ้านจัดการตนเองแล้ว 33 กลุ่ม คืนพื้นที่ป่ากลับมาได้ 87,865 ไร่ ปลูกต้นไม้และไม้เศรษฐกิจไปแล้วกว่า 7.5 ล้านต้น ซึ่งจะดึงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติกลับมาและสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านต่อไปในระยะยาว

“จากการส่งเสริมการเกษตรเพื่อคืนพื้นที่ป่า ผลปรากฏว่าเมื่อมีน้ำเพื่อการเกษตรมากขึ้น ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรน้อยลง”

 

20160307_120940

20160307_120904

 

นี่คือความสำเร็จตลอด 6 ปีที่ผ่านมา สำหรับอีก 5 ปีต่อไปนี้ คุณชายดิศนัดดาบอกว่า เราจะยกระดับการทำงานไปสู่การทำให้การพัฒนาชนบทเกิดความยั่งยืนอย่างเป็นระบบ โดยยึดโยงประสบการณ์จากพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งจะดำเนินการในระหว่างปี 2559-2563

“วันนี้ เข้าสู่บทใหม่ กระจายความรู้สู่สังคม ปี 2559-2569 จะเห็นแนวทางในการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ ย้อนไป 5 ปีที่แล้ว ทำ 5 จังหวัด ความสำเร็จมากน้อยต่างกัน แต่ 5 ปีจากนี้ไปจะทำให้กว้างขวางทั่วประเทศ โดยเอาความรู้ความสามารถไปอธิบายข้าราชการให้เข้าใจ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้ไปเป็นนโยบายประเทศ”

“ทิศทางในอนาคตคือ ปฏิรูปครั้งใหญ่ในสังคม เพื่อน้อมนำหลักทรงงาน คือ “ระเบิดจากข้างใน” และพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยประชาชนต้องคิดวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ของทุกหมู่บ้าน และให้ภาครัฐเป็นพี่เลี้ยง เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบของประชารัฐ ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัวชุมชน ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสามารถลดความเหลื่อมล้ำในภาคการเกษตรได้”

ม.ร.ว.ดิศนัดดาระบุอีกว่า ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และมั่นใจว่าแนวพระราชดำริปิดทองฯ จะมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างมีนัยยะสำคัญ

“เราต้องเชื่อและศรัทธาในโครงการพระราชดำริว่าแก้ไขปัญหาชุมชนได้อย่างแท้จริง เป็นวิธีการที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์จริง วัดผลจากประชาชนได้จริงๆ เพื่อเกษตรกรส่วนใหญ่จะได้อยู่ได้อย่างมั่นคง และสำคัญที่สุด คือ บุคคล ชุมชน และประเทศชาติต้องมั่นคง และสิ่งที่อยากเห็นจากการทำงานคือ อยากให้เป็นนโยบายของรัฐบาล และรัฐบาลลุกขึ้นมาทำเอง เรียนรู้จากศาสตร์พระราชา ซึ่งชาวบ้านยอมรับว่าแก้ปัญหาของเขาได้อย่างแท้จริง เพราะแก้ปัญหาได้ตรงจุด เกาถูกที่คัน”

และสำหรับตัวคุณชายเอง “ผมเชื่อของผมอย่างนี้ และผมจะทำจนกว่าชีวิตจะหาไม่”

นอกจากนี้ปิดทองหลังพระฯ ยังร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ด้วยการลงพื้นที่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ สร้าง “นักพัฒนาตามแนวพระราชดำริ” อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ม.ราชภัฏอุดรธานี เพราะคนหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป โดยการให้นิสิต-นักศึกษาลงมาพัฒนาชุมชนด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เรียนรู้ปัญหาจริงจากชุมชน

รศ.ดร.ธนิต ธงทอง รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในเวทีเสวนามหาวิทยาลัยกับการพัฒนาชนบท ว่า จุฬาฯมีนิสิตทำค่ายอาสามานาน แต่การลงมาทำงานกับปิดทองฯ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องจิตอาสา เพราะก่อนหน้านี้ เราไปทำสิ่งที่เราอยากทำ แต่ทุกวันนี้ ปิดทองฯ ทำให้เราเปลี่ยนความคิดมานึกถึงปัญหาของคนในหมู่บ้าน นิสิตไปทำค่ายอาสาโดยแก้ปัญหาจากปัญหาที่ชาวบ้านกำลังประสบอยู่ พร้อมให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมแก้ด้วย

“ช่วงที่ทำงานกับปิดทองฯ ไม่ใช่เฉพาะนิสิตที่ลงค่าย คณะอาจารย์เองก็ต้องลงไปเรียนรู้ด้วย ซึ่งการลงไปทำตรงนี้ทำให้เราได้พบกับศาสตร์พระราชา ได้ซาบซึ้งถึงความรักที่ในหลวงมีต่อคนไทย ทำให้นิสิตเปลี่ยนแปลงความคิดที่จะช่วยประเทศชาติและช่วยสังคม ห้องเรียนไม่จำเป็นที่ต้องอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ อีกแล้ว” รศ.ดร.ธนิตกล่าว

เพื่อการบริหารท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม

 

ม.ร.ว (1)

ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล

รศ.ดร.ธนิต

รศ.ดร.ธนิต ธงทอง

IMG_ 0067

IMG_ 0057

IMG_ 0010

IMG_ 0186

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image