ย้อนดูหุ่นล้อการเมือง “บอลประเพณี” หมัดเด็ดนศ.โดนใจสังคม

แม้ว่างานฟุตบอลประเพณี ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเกิดขึ้นจากความคิดของนักเรียนกลุ่มหนึ่ง ต้องการสานความสามัคคีระหว่าง 2 มหาวิทยาลัย และเพื่อลบค่านิยมในอดีตที่มองว่าผู้เข้าศึกษาในจุฬาฯ เป็นนักเรียนที่จบชั้นมัธยม 8 แต่นักศึกษาธรรมศาสตร์เป็นนักเรียนที่ไม่จบเท่านั้น

เลือกประเดิมสนามครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2477 ณ ทุ่งพระเมรุ มีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (ชื่อเดิม) เป็นเจ้าภาพ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์” มิได้เป็นเพียงเรื่องของนิสิต นักศึกษา ของทั้งสองมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีแสดงออกของคนรุ่นใหม่ ส่งสารออกไปถึงสังคมด้วย ผ่านสีสันของงานบอลมีทั้งผู้แทนนิสิตและทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์, ผู้นำเชียร์, ดรัมเมเยอร์และคทากร เหล่ากองเชียร์ของทั้ง 2 ฝั่ง ที่มักจะมีการแปรอักษรเด็ดๆ โต้กันไปมาให้ได้เห็นกันในแต่ละปี

บรรยากาศ​ขบวน​พาเหรด​ล้อ​การเมือง​ของ ม.​ธรรมศาสตร์ ที่​นำ​หุ่น​ล้อ​การ​จัด​งาน​อัปมงคล​สมรส​ระหว่าง สมเด็จ​ฮุน​เซน นายกรัฐมนตรี​แห่ง​ราช​อาณาจักร​กัมพูชา เจ้าบ่าว กับ​พ.ต.ท.​ทักษิณ ชิน​วัตร อดีต​นายกรัฐมนตรี เจ้าสาว ร่วม​กัน​ตัด​เค้ก​ปราสาท​เขา​พระ​วิหาร ใน​งาน​ฟุตบอล​ประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 66 ที่​สนามกีฬา​แห่งชาติ

รวมไปถึงขบวนพาเหรดของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย เหล่านิสิต นักศึกษา หยิบยกเอาประเด็นสำคัญทั้งในประเทศและสังคมโลกมานำเสนอต่อประชาชน โดยเฉพาะหุ่น “กลุ่มอิสระล้อการเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ล้อการเมือง” ถือได้ว่าเรียกแสงสปอตไลต์ของสื่อ รวมทั้งผู้นำในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Advertisement

แท้จริงแล้วขบวนพาเหรดและการแปรอักษรอยู่คู่กับงานฟุตบอลประเพณีฯมาตั้งแต่ครั้งแรกๆ ในรูปแบบของป้ายผ้าเขียนข้อความต่างๆ รวมถึงการไฮด์ปาร์ก ซึ่งนายลัทธพล ยิ้มละมัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง ประธานกลุ่มอิสระล้อการเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เพิ่งจะมีการแบกหุ่นล้อเลียนในขบวนพาเหรดก็เมื่อประมาณปี พ.ศ.2539-2540 นี้เอง แต่ละปีก็จะเลือกเอาประเด็นสำคัญที่นิสิต นักศึกษา ควรรู้มากที่สุดหรือเป็นปัญหามากที่สุด มานำเสนอสอดแทรกอารมณ์ขันให้เข้าใจได้ง่าย

ทุกปีจึงได้เห็นหุ่นที่กระแทกใจใครหลายคน โดยเฉพาะรัฐบาล อาทิ หุ่น “ปิ๊งรักสลับขั้ว” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ เนวิน ชิดชอบ ในชุดนักมวยจับมือโอบไหล่ ใบหน้าเปื้อนยิ้มแต่มีบาดแผล ทั้งๆ ที่เคยอยู่กันคนละฝ่าย ทั้งยังมีหุ่น “ตีนติดแอก แบกเบอร์เกอร์” ล้อเลียน นายกฯอภิสิทธิ์ขณะนั้น ต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ปรากฏให้เห็นในงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 65

หุ่น​รูป​นาย​อภิสิทธิ์ เวช​ชา​ชีวะ นายก​รัฐ​มต​รก​อด​กับ​นาย​เนวิน ชิด​ชอบ ชื่อ​ปิ๊ง​รัก​สลับ​ขั้ว ใน​ขบวน​พาเหรด​ล้อ​การเมือง ของ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​และ​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​ธรรมศาสตร์- จุฬา ที่​สนามศุภชลาศัย
หุ่น​นาย​อภิสิทธิ์ เวช​ชา​ชีวะ นายกรัฐมนตรี​ของ​ไทย​กำลัง​แบก​แฮมเบอร์เกอร์ ชื่อ”ตีน​ติด​แอก แบก​เบอร์​เก​อร์” ใน​ขบวน​พาเหรด​ล้อ​การเมือง ของ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​และ​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​ธรรมศาสตร์- จุฬา ที่​สนามศุภชลาศัย

ขณะที่งานบอลครั้งที่ 66 ก็ฮือฮาไม่แพ้กัน เมื่อล้อการเมืองเลือกทำหุ่นล้อความสัมพันธ์ของ ทักษิณ ชินวัตร และ ฮุน เซน นายกฯกัมพูชา ขณะที่สังคมกำลังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเขาพระวิหาร ในชื่อหุ่น “เกมรักทักษิโนวา” รวมถึงประเด็นสำคัญขณะนั้นอย่างรัฐธรรมนูญ ก็ถูกนำมาล้อผ่านภาพยนตร์ดัง อวตาร ในชื่อหุ่น “เอาว่ะ…ต้าน!!! ค้านรัฐธรรมนูญ” ในปีต่อมา คนไทยก็ยังได้เห็นหุ่นรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน บรรทุกนักการเมืองทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่น่าจะไปด้วยกันได้ ในชื่อหุ่น “ขึ้นเงินเดือนฟรี ภาษีประชาชน” ในงานบอลครั้งที่ 67 เมื่อเหล่า ส.ส. ส.ว.ในภาพ มีมติขึ้นเงินเดือน ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน

Advertisement

ร้อนแรงสุดสุดกับงานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 68 คงไม่พ้นหุ่นของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขี่หลัง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.ขณะนั้น ซึ่งมีนโยบายการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาด จนเป็นที่มาของหุ่น “เอาอยู่” รวมไปถึงพาสปอร์ตและนิรโทษกรรม ที่ถูกหยิบยกมาพูดถึง และนายกฯยิ่งลักษณ์ก็ถูกหยิบยกมาพูดถึงอีกครั้งในหุ่น “คุณนาย (ก) ฮา” หยิบประเด็นค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว มาพูดถึงในงานบอลครั้งที่ 69

บรรยากาศ​ขบวน​พาเหรด​ล้อ​การเมือง​ของ ม.​ธรรมศาสตร์ ที่​นำ​หุ่น​นาย​เนวิน ชิด​ชอบ แกน​นำ​พรรค​ภูมิใจ​ไทย เป็น​อวตาร​ที่​เป็น​ผู้​มา​รุกราน​กอบโกย​ผล​ประโยชน์​จาก​ประเทศ ใน​งาน​ฟุตบอล​ประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 66 ที่​สนามกีฬา​แห่งชาติ
บรรยากาศ​ขบวน​พาเหรด​ล้อเลียน​การเมื​อง​ใน​งาน​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​ธรรมศาสตร์-จุฬา ครั้ง​ที่ 67 ณ สนามศุภชลาศัย
ขบวน​พาเหรด​ล้อ​การเมือง​ใน​งาน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 68 ที่​สนามศุภชลาศัย สนามกีฬา​แห่งชาติ โดย​ใช้​แนว​คิด​การ​จัด​งาน​ร่วม​กัน​ว่า “เปิด​รับ” ซึ่ง​เป็น​วิธีการ​สำคัญ​ใน​การ​แก้​ปัญหา​และ​พัฒนา​สังคม​ให้​ก้าว​ไป​สู่​สิ่ง​ใหม่​ที่​ดี​ขึ้น
ขบวน​ล้อ​การเมือง​ชุด”คุณนาย(ก)ฮา”ของ​ฝั่ง ม.​ธรรมศาสตร์ ระหว่าง​ฟุตบอล​ประเพณี “ธรรมศาสตร์-จุฬา” ครั้ง​ที่ 69 ที่​สนามศุภชลาศัย โดย​มือขวา​บีบ​คอ​นก​พิราบ มือ​อีก​ข้าง​หนึ่ง​ถือ​เตารีด เพื่อ​รีด​เส้นทาง​ที่​ยับยู่ยี่​ให้​เดินทาง​ไป​ได้​อย่าง​สะดวก

แต่ที่ดูเหมือนจะเสียงดังกว่าปีที่ผ่านๆ มา ก็คงจะเป็นสมัยรัฐบาล คสช. ในงานฟุตบอลประเพณีฯครั้งที่ 70 ที่เป็นเรื่องตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่ม เมื่อ คสช.ออกมาขอความร่วมมือให้งดจัดขบวนล้อการเมือง ส่งเจ้าหน้าที่มาสอดส่อง

เป็นระยะ แต่ทางกลุ่มก็ยังยืนยันที่จะแสดงหุ่นต่อไป จนกระทั่งวันงาน เจ้าหน้าที่ก็สั่งปิดประตูสนาม ตรวจป้ายผ้าทุกผืนอนุญาตให้เข้าได้แต่หุ่นที่ตรวจแล้วเท่านั้น

แล้วก็เป็นการสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับผู้ชมในสนาม เมื่อหุ่นทั้ง 6 ตัว กลับเปลี่ยนเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง หลังจากดึงป้ายผ้าออก อาทิ หุ่น “(ปะ) ยึด อำ (โอ) นาจ” ล้อกับท่านผู้นำที่กำลังซักล้างคนในอ่าง ที่มีวลีเด็ด เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน เพื่อให้คราบหมดไป, หุ่น “ข้า” นิยม 12 ประการ ว่าด้วยการปลูกฝังความดี ที่เมื่อฉีกเอากระดานค่านิยมออก จะเห็นคำว่าประชาธิปไตยที่ถูกขีดฆ่าลง และหุ่นโฆษณาชวนเชื่อ(ง) ว่าด้วยการปฏิรูปสื่อ กับหุ่น น.ศ.มธ.นั่งชมโทรทัศน์ ที่เปลี่ยนเป็นภาพ พล.อ.ประยุทธ์กับการ์ตูนชื่อดังเทเลทับบี้ กลายเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโซเชียลมีเดีย

ส่งผลให้งานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 71 เป็นที่่จับตาจากเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อก่อนจะเริ่มงาน หุ่นของนักศึกษาได้ถูกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่และมีการปิดประตูไม่ให้เข้าสนามฟุตบอล จนกระทั่งต้องเจรจาจนเข้าสู่พื้นที่ได้สำเร็จ โดยหุ่นทั้ง 5 ตัวก็ยังเป็นที่สนใจกับการเสียดสีสังคมได้เป็นอย่างดี อาทิ “เจี๊ยบ เลียบอาวุธ” แมสคอตจากเพจ “อีเจี๊ยบ เลียบด่วน” ตกแต่งด้วยเสื้อกั๊กลายพราง ซึ่งเจี๊ยบ เลียบด่วน ถือเป็นผู้มีชื่อเสียงว่าเชียร์ใครฝ่ายนั้นจะแพ้, ดาร์ธไหน โกงไวเฟร่อ ว่าด้วยการทุจริตต่างๆ และหุ่นตั่วเฮียที่รัก หุ่นมังกร เปรียบดังประเทศมหาอำนาจอันเป็นที่พึ่ง ในยุคที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่มีทางเลือกมากนัก

ขบวน​ล้อ​เรียน​การเมือง​ของ​นิสิต​และ​นักศึกษา​โดย​ใช้​หุ่น​ขบวนการ​ไอ​เอส(ภาพ​เล็ก)ก่อน​ดึง​ผ้า​คลุม​ออก​กลาย​เป็น​หุ่น​ผู้ชาย​ใส่​ชุด​ทหาร ใน​งาน​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 70 ภาย​ใต้​การ​ควบคุม​อย่าง​เข้มข้น​ของ​เจ้าหน้าที่ ที่​สนามศุภชลาศัย
ขบวน​ล้อ​เรียน​การเมือง​ของ​นิสิต​และ​นักศึกษา​โดย​ใช้​หุ่น​ขบวนการ​ไอ​เอส(ภาพ​เล็ก)ก่อน​ดึง​ผ้า​คลุม​ออก​กลาย​เป็น​หุ่น​ผู้ชาย​ใส่​ชุด​ทหาร ใน​งาน​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 70 ภาย​ใต้​การ​ควบคุม​อย่าง​เข้มข้น​ของ​เจ้าหน้าที่ ที่​สนามศุภชลาศัย
ขบวน​ล้อ​เรียน​การเมือง​ของ​นิสิต​และ​นักศึกษา​โดย​ใช้​หุ่น​ขบวนการ​ไอ​เอส(ภาพ​เล็ก)ก่อน​ดึง​ผ้า​คลุม​ออก​กลาย​เป็น​หุ่น​ผู้ชาย​ใส่​ชุด​ทหาร ใน​งาน​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 70 ภาย​ใต้​การ​ควบคุม​อย่าง​เข้มข้น​ของ​เจ้าหน้าที่ ที่​สนามศุภชลาศัย

แน่นอนว่าฟุตบอลประเพณีฯ ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ย่อมทำให้รัฐบาลพุ่งสายตาไปที่งานบอลครั้งที่ 72 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ อย่างแน่นอน

สำหรับหุ่นล้อการเมืองครั้งที่ 72 นี้นายลัทธพลเผยว่า มีทั้งหมด 5 ตัว คืบหน้าไปมากกว่า 95% แล้ว โดยกว่าจะได้หุ่นแต่ละตัว เกิดจากการประชุมร่วมกันว่าใครสนใจเรื่องอะไร ก่อนจะดูว่าแต่ละเรื่องที่คิดมานั้นเกี่ยวเนื่องกันหรือไม่ และเลือกว่าสิ่งใดสำคัญที่สุด เพื่อคิดคอนเซ็ปต์นำเสนอ กว่าจะได้แต่ละตัวต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าเนื้อหาที่จะนำเสนอนั้นไม่เสี่ยงกับสถานการณ์การเมือง ซึ่งปีนี้มุ่งไปถึงการปฏิรูปของรัฐบาล ที่เป็นภารกิจหลัก หุ่นแต่ละตัวจะทำออกมาให้คิดถึงประเด็นที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมได้แน่นอน

โดยการทำงาน 1 เดือนที่ผ่านมานี้ นายลัทธพลเผยว่า อาจมีคนเข้ามาพูดคุยบ้างว่าไม่อยากให้มีการล้อตัวบุคคล หรือไม่อยากให้หยาบคาย แต่ก็ไม่ถึงกับคุกคามการทำงานให้ลำบากแต่อย่างใด ซึ่งกลุ่มอิสระล้อการเมืองฯ ก็ตั้งใจอยากให้หุ่นทั้งหมดส่งสารอะไรบางอย่างผ่านการแสดงออกทางการเมืองให้ถึงผู้ชม

“จริงๆ การแสดงออกทางการเมืองมีหลายวิธี แล้วแต่ที่คนจะเลือกและสะดวกใจจะทำ นักศึกษาบางคนสนใจปลูกต้นไม้ แยกขยะ งดใช้ถุงพลาสติก แต่กลุ่มล้อการเมืองสนใจและถนัดในเรื่องนี้ เราก็ทำหุ่นล้อการเมืองที่คนมองว่าไกลตัว ให้คนเข้าใจแบบง่ายๆ ผ่านความตลกในตัวมัน”

ซึ่งการนำเรื่องอำนาจ การเมืองมาทำให้ง่ายและใกล้ตัว เป็นสิ่งที่กลุ่มล้อฯหวังว่าจะช่วยจุดประเด็นสังคมได้ และว่า

“ทุกคนล้วนหวังดีต่อประเทศ อยู่ที่ผู้ใหญ่จะให้โอกาสหรือเปล่า ซึ่งวันงานก็คงจะให้คำตอบเรื่องนี้ได้”

ก่อนจะทิ้งท้ายไว้ว่า งานนี้มีเซอร์ไพรส์เช่นเดิม

หุ่น​ล้อ​​ล้อ​การเมือง​งาน​ฟุตบอล​ประเพณี “ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้ง​ที่ 71 บรรยากาศ​เป็น​ไป​อย่าง​คึกคัก ท่ามกลาง​เจ้าหน้าที่​ใน​และ​นอก​เครื่องแบบ​คุม​เข้ม ที่​สนาม​ศุภช​ลา​สัย
หุ่น​ขบวน​ล้อ​การเมือง​งาน​ฟุตบอล​ประเพณี “ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้ง​ที่ 71 บรรยากาศ​เป็น​ไป​อย่าง​คึกคัก ท่ามกลาง​เจ้าหน้าที่​ใน​และ​นอก​เครื่องแบบ​คุม​เข้ม ที่​สนาม​ศุภช​ลา​สัย
ขบวน​พาเหรด​ล้อ​การเมือง​ของ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 63 ที่​สนามศุภชลาศัย สนามกีฬา​แห่งชาติ
สีสัน​และ​บรรยากาศ​ใน​การ การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 63 ที่​สนามศุภชลาศัย สนามกีฬา​แห่งชาติ
ขบวน​พาเหรด​ล้อ​การเมือง​ของ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 63 ที่​สนามศุภชลาศัย สนามกีฬา​แห่งชาติ
หุ่น​ชื่อ “สื่อ สาร มาร ชน!”ใน​ขบวน​พาเหรด “ล้อ​การเมือง” ของ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​และ​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​ธรรมศาสตร์- จุฬา ที่​สนามศุภชลาศัย
หุ่น​นาย​บารัค โอ​บาม่า ผู้​นำ​สห​รัฐ​ชื่อ “Deva or Zatan” ใน​ขบวน​พาเหรด “ล้อ​การเมือง” ของ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​และ​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​ธรรมศาสตร์- จุฬา ที่​สนามศุภชลาศัย
บรรยากาศ​ขบวน​พาเหรด​ล้อ​การเมือง​ของ ม.​ธรรมศาสตร์ ที่​นำ​หุ่น​ล้อ นาย​อภิสิทธิ์ เวช​ชา​ชีวะ นายกรัฐมนตรี ถูก​รถ​เมล์ รัฐธรรมนูญ หนังสือ​เรียน​ทับ ใน​มือ​ชู​หมี​แพนด้า สะท้อน​การบริหาร​ประเทศ​ที่​มี​ปัญหา​รุม​เร้า ใน​งาน​ฟุตบอล​ประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้ง​ที่ 66 ที่​สนามกีฬา​แห่งชาติ
ขบวน​ล้อ​การเมือง​ชุด”คุณนาย(ก)ฮา”ของ​ฝั่ง ม.​ธรรมศาสตร์ ระหว่าง​ฟุตบอล​ประเพณี “ธรรมศาสตร์-จุฬา” ครั้ง​ที่ 69 ที่​สนามศุภชลาศัย โดย​มือขวา​บีบ​คอ​นก​พิราบ มือ​อีก​ข้าง​หนึ่ง​ถือ​เตารีด เพื่อ​รีด​เส้นทาง​ที่​ยับยู่ยี่​ให้​เดินทาง​ไป​ได้​อย่าง​สะดวก
ภาพล้อ​หลากหลาย​ลีลา​ใน​ขบวน​พาเหรด​ของ​นักศึกษา​ที่​เดิน​โชว์​ไป​รอบๆ สนาม​ก่อน​เริ่ม​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์​ครั้ง​ที่ 59 ที่​สนามศุภชลาศัย
ขบวน​ล้อเลียน​และ​เสียดสี​ปัญหา​สังคม​และ​การเมือง​ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา – ธรรมศาสตร์
ขบวน​ล้อเลียน​และ​เสียดสี​ปัญหา​สังคม​และ​การเมือง​ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา – ธรรมศาสตร์
ขบวน​ล้อเลียน​และ​เสียดสี​ปัญหา​สังคม​และ​การเมือง​ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา – ธรรมศาสตร์
ขบวน​ล้อเลียน​และ​เสียดสี​ปัญหา​สังคม​และ​การเมือง​ใน​การ​แข่ง​ขัน​ฟุตบอล​ประเพณี​จุฬา – ธรรมศาสตร์
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image