เทรนด์คนรุ่นใหม่ ทำงานกับองค์กรใส่ใจ สังคม-สิ่งแวดล้อม

เทรนด์คนรุ่นใหม่ ทำงานกับองค์กรใส่ใจ สังคม-สิ่งแวดล้อม

เทรนด์คนรุ่นใหม่ ทำงานกับองค์กรใส่ใจ สังคม-สิ่งแวดล้อม

หลากหลายปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในประเทศและองค์กรต่างๆ หากวิเคราะห์หาสาเหตุ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืน หรือที่รู้จักในทฤษฎี ESG (Environment, Social, Governance) ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance)

ซึ่งถูกพูดถึงในงาน Sustainability Expo 2022 (SX 2022) จัดโดย 5 องค์กรชั้นนำด้านความยั่งยืนของไทย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) เล่าว่า คำว่ายั่งยืนใน ESG ความหมายคือ การที่เราใช้ทรัพยากรในปัจจุบันโดยที่ไม่ทำให้คนรุ่นหลังเดือดร้อน หรืออีกนัยหนึ่ง เราเป็นบริษัทต้องเป็นบริษัทที่เติบโตอย่างยั่งยืน สร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้น ต้องมีกำไรถึงจะยั่งยืน และใช้โดยไม่ไปเบียดเบียนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เป็นคำนิยามสั้นๆ ง่ายๆ ที่เราจะทำเรื่อง ESG

  “เรื่อง ESG คนมักนึกถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะนึกง่าย เช่น โลกร้อน หิมะละลาย แต่จริงๆ ยังมีอย่างอื่น โดยเฉพาะด้านสังคม สมัยก่อนเวลาเราพูดถึง CSR (Corporate Social Responsibility) หรือกิจกรรมเพื่อสังคม เราจะนึกภาพคนทำบุญ บริจาคสิ่งของ ตลอดจนปลูกป่า ซึ่งผมคิดว่า CSR ให้ครั้งเดียวแล้วจบเลย แต่หลายๆ เรื่องมันต้องเป็น CSR ที่มีกระบวนการ ก็คือเรื่องของสังคม เริ่มตั้งแต่พนักงาน เราดูแลเขาอย่างไร พาสเนอร์ เราช่วยหรือให้ความรู้เขาอย่างไร คอมมูนิตี้ เราดูแลชุมชนรอบข้างอย่างไร เวลาสร้างโปรเจคเราได้ดูว่าโปรเจคเราสร้างความเดือดร้อนให้เขาไหม อย่างเรื่องฝุ่น เสียง อะไรต่างๆ”

Advertisement
ธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)

ธนพลอธิบายการสร้างโปรเจคในปัจจุบัน อย่างเรียลเอสเตทเป็นธุรกิจเกี่ยวกับคน เป็นการสร้างพื้นที่ที่ว่างเปล่าให้มีคุณค่า ให้มีคนมาใช้ ฉะนั้นต้องคิดว่าจะสร้างพื้นที่อย่างไรให้เชื่อมต่อกับคนได้ ทำให้คนรู้สึกดี มีความเป็นมิตร มาเดินแล้วรู้สึกสบาย อีกส่วนในการสร้างพื้นที่ เราไม่ได้หวังว่าเพื่อทำกำไรสูงสุด แต่เดี๋ยวนี้ต้องมีพื้นที่ให้ชุมชนหรือคนรอบข้างใช้ประโยชน์ได้ ยกตัวอย่างสามย่านมิตรทาวน์ มีสวนลอยฟ้าข้างบน มีสามย่านโคอ็อป เป็นโคเลิร์นนิ่งสเปซ ศูนย์แห่งการเรียนรู้ ให้กับนิสิตนักศึกษา นักเรียน ผู้ใหญ่ มาอ่านหนังสือประชุมสัมมนาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อเป็นการเอื้อประโยชน์ให้

หรืออย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่เปิดใหม่ รอบนอกศูนย์จะมีเส้นทางให้คนมาวิ่งออกกำลังกายได้ อย่างมาจากรถไฟฟ้าใต้ดิน เข้ามาที่ศูนย์ประชุมฯ ทางชั้นใต้ดิน แล้วเดินต่อไปที่สวนเบญจกิติเพื่อไปวิ่งรอบสวนน้ำ สวนป่า แล้วกลับเข้ามาได้ เหล่านี้เป็นเรื่องการสร้างพื้นที่ที่ตอบกลับให้ชุมชนและคน ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งของ ESG

ธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)

เฟรเซอร์สฯ ประกาศนโยบายเชิงรุกจะเป็นบริษัทเน็ตซีโร่คาร์บอนภายในปี 2050 ขณะนี้เริ่มเคลื่อนแล้ว ตั้งแต่การเทรนนิ่งพนักงานให้เข้าใจทิศทางขององค์กรต่อ ESG และแผนดำเนินธุรกิจ ที่มีมาตรการการคัดแยกขยะ รีไซเคิล การใช้วัสดุที่คำนึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ไฟฟ้าโซล่าเซลล์ การประหยัดน้ำ เก็บน้ำฝนนำกลับมารีไซเคิล การแบ่งพื้นที่หลังคาเพื่อปลูกผักผลไม้ ในส่วนคลังสินค้าให้เช่า ก็ก่อสร้างตามมาตรฐานอาคารสีเขียว เช่นเดียวกับโปรเจควันแบงค์ค็อก ก็ใส่เรื่อง ESG ในทุกมิติ

Advertisement

  “หลายคนบอกว่าทำ ESG ต้องใช้เงินเยอะ แต่ผมมองว่ามันเริ่มได้ที่คน มีตั้งแต่กระบวนการแยกขยะ การใช้ของรีไซเคิล ซึ่งมีตัวอย่างของบริษัทที่ทำเรื่องเหล่านี้ จะบอกว่าเดี๋ยวนี้เด็กรุ่นใหม่ เขามองบริษัทที่จะทำงานด้วย เขาไม่ได้มองบริษัทที่จะกำไรอย่างเดียวโดยไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมหรือสังคม

  “การทำธุรกิจถ้าไม่ปรับตัวตั้งแต่วันนี้เราจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ไม่สามารถแข่งขันกับตลาดระดับโลกได้ นั่นคือความสำคัญของ ESG ฉะนั้นอยากเชิญชวนทุกภาคส่วนมาเรียนรู้และทำเพื่อโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนเล็กแค่ไหนก็ตาม” ธนพลกล่าวทิ้งท้าย

ธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image