“ฮิตาชิ”ชู “นวัตกรรม-พัฒนาคุณภาพชีวิต” โชว์หุ่นยนต์ “EMIEW 3” ยุคดิจิทัล

นายโทชิอากิ ฮิกาชิฮาระ

ฮิตาชิ ได้จัดงาน “Hitachi Social Innovation Forum 2018 TOKYO” แสดงระบบปฏิบัติการ นวัตกรรมยุคดิจิทัล เพื่อให้พันธมิตรทางธุรกิจและสื่อมวลชน ณ ศูนย์การประชุมในเขตมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

นายโทชิอากิ ฮิกาชิฮาระ ประธานบริหารฮิตาชิ กล่าวว่า “ฮิตาชิมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ หรือไอโอที (loT-Internet of Things) มาใช้งานและนำมาแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัล พร้อมสร้างสรรค์ความต้องการของคน พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทำให้สังคมน่าอยู่อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันดิจิทัลเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นโจทย์ใหม่ที่ทำให้เกิดแสงสว่างและเงา สำหรับ “แสงสว่าง” คือทำให้เกิดกิจกรรม สร้างโอกาสทางธุรกิจและใช้เวลาน้อยลง ส่วน “เงา” คือระบบความมั่นคง ความปลอดภัยอินเตอร์เน็ต ดังนั้นฮิตาชิจึงได้ทำวิจัยและสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI-Artificial intelligence) สิ่งที่ ฮิตาชิมุ่งหวังมี 2 อย่าง คือ 1.แก้ไขปัญหาสังคม 2.พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยใน 2 ข้อนี้”

“หากย้อนไปยุคแรกเริ่ม พ.ศ.2453 ฮิตาชิเริ่มต้นบริษัทการผลิตด้วยเครื่องจักรกล 5 แรงม้าจนถึงปัจจุบันที่ทำการรวมความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการดำเนินงาน (Operational Technology: OT) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) เข้าด้วยกัน และใช้ AI พัฒนามาเป็นดิจิทัลใหม่ Lumada (illuminate + Data) นำนวัตกรรมใหม่จากดิจิทัลให้ลูกค้า ช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น แก้ปัญหาต่างๆ ได้เร็วไวขึ้น ด้วยการนำข้อมูล Big Data วิเคราะห์เพื่อให้ได้นวัตกรรมดิจิทัลที่เร็ว ตอบโจทย์กับผู้ใช้งาน เช่น Omika Works เป็นโรงงานผลิตและออกแบบอุปกรณ์สำหรับนวัตกรรมเพื่อสังคม ได้นำเอา IoT มาใช้จัดระบบการทำงานในโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพราะมีตัวชี้วัดการทำงาน มีขั้นตอนให้ทำตามเวลาที่กำหนด การควบคุมเวลาว่าคนคนนั้นทำงานตามที่วางแผนไว้ได้ช้าหรือเร็ว จะมีค่าของการทำงานระบุ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้พัฒนาขึ้น โรงงานสามารถผลิตได้ไวมากขึ้น และมีคุณภาพ” ประธานบริหารฮิตาชิกล่าว

Advertisement

สำหรับบรรยากาศภายในงาน มีการแสดงระบบปฏิบัติการมากมาย พร้อมนำเทคโนโลยีใหม่มาแสดงให้ผู้ที่สนได้ศึกษา โดยหนึ่งในไฮไลต์คือ หุ่นยนต์ อีมิว (EMIEW) ที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมตอบโจทย์ของผู้ใช้ พัฒนาไปสู่การเป็นหุ่นยนต์ หรือเครื่องจักรที่สามารถติดต่อสื่อสารหรือฟังคำสั่งจากมนุษย์ได้ “ฮิตาชิ” ได้พัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะอีมิว รุ่นที่ 3 เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถสื่อสารกับมนุษย์ โดยเฉพาะการนำทาง ให้ข้อมูลต่างๆ ภายในอาคารเสมือนพนักงานต้อนรับ สามารถตอบโต้ได้ ขณะนี้มี 3 ภาษา คือญี่ปุ่น จีน อังกฤษ และในอนาคตจะพัฒนาให้ได้หลากหลายภาษามากยิ่งขึ้น รวมถึงภาษาไทย

อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ที่สามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้ 4 รุ่น คือ 1.MAGNUS (แม็กนัส) เป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะกลมๆ สำหรับดูแลผู้สูงอายุ เป็นเพื่อนพูดคุยในบ้าน แก้เหงา โดยหุ่นยนต์นี้สามารถจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ในระบบคลาวด์ (Cloud) เพื่อจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และประมวลผลในการดูแลผู้สูงอายุ สามารถเตือนให้กินยา หาเส้นทางกลับบ้าน หรือเบอร์โทรศัพท์ติดต่อญาติ อยู่ระหว่างพัฒนาระบบและจะผลิตออกมาจำหน่ายในเร็วๆ นี้ 2.EMIEW 3 ที่มีขนาดตัวสูง 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 15 กิโลกรัม เบื้องต้นมีการผลิตหุ่นยนต์รุ่นนี้ทั้งหมด 30 ตัว พร้อมทดลองตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบินฮาเนดะ โรงพยาบาล บ้านพักคนชรา และสำนักงานมิตซูบิชิ ที่ได้นำหุ่นยนต์มาเป็นพนักงานต้อนรับแทนมนุษย์ สามารถนำทางผู้มาติดต่อไปยังห้องประชุมได้

 

Advertisement

3.EMIEW-TT หุ่นยนต์ในรูปแบบแท็บเล็ต ที่พัฒนาต่อยอดจากหุ่นยนต์ EMIEW ซีรีส์ 3 เพราะบางจุดไม่จำเป็นต้องเป็นตัวหุ่นยนต์ ทำหน้าที่เสมือนเป็นพนักงานต้อนรับ ซึ่งได้ทดลองจริงในหลายสำนักงาน 4.EMIEW MINI (หุ่นยนต์ตัวจิ๋ว) อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาต่อยอด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นภาคของการให้บริการ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image