หมึกยักษ์ เปลี่ยนตามระดับความลึก

งานวิจัยใหม่ของ เจเนท วอยท์ รองภัณฑารักษ์ด้านสัตววิทยาประจำพิพิธภัณฑ์ภาคสนามแห่งชิคาโก ที่เผยแพร่ผ่านวารสาร บุลเลติน ออฟ มารีน ไซนซ์ เมื่อ 11 ตุลาคม ซึ่งเป็นวัน “ปลาหมึกยักษ์โลก” แสดงให้เห็นว่า ปลาหมึกยักษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Graneledone pacifica) ปรับเปลี่ยนตัวเองให้ต่างออกไปจากเดิมโดยสิ้นเชิงได้ โดยมีทั้งปุ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ตามระดับความลึกของน้ำทะเลที่มันอาศัยอยู่

การวิจัยดังกล่าวใช้การทดลองด้วยการสังเกตการณ์ปลาหมึกยักษ์ 50 ตัวในพื้นที่อาศัยจริงโดยใช้ ยานใต้น้ำ “อัลวิน” ในระดับความลึกของน้ำทะเลตั้งแต่ 3,660 ฟุต ไปจนถึงระดับต่ำกว่า 9,000 ฟุต เจเนทบอกว่า ในตอนแรกๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับปลาหมึกยักษ์เหล่านี้สร้างความสับสนให้เธออย่างมาก เพราะเกิดความแตกต่างอย่างมากจนน่าเชื่อว่าเป็นคนละสายพันธุ์กันเลยทีเดียว แม้ว่าจะคล้ายคลึงกันอยู่เหมือนเดิมก็ตาม เป็นเหตุให้เธอต้องจัดทำแผนที่กำหนดจำนวนปุ่มบริเวณหนวดของปลาหมึกยักษ์เหล่านี้เพื่อเปรียบเทียบกับระดับความลึก จึงพบเห็นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

สุดท้ายเมื่อตรวจสอบด้วยการตรวจดีเอ็นเอ จึงได้ข้อเท็จจริงว่า ทั้งสองตัวที่เห็นเป็นสายพันธุ์เดียวกัน แต่ระดับความลึกไม่เพียงส่งผลต่อจำนวนปุ่มที่หนวด ยังส่งผลถึงขนาดที่ค่อยๆ เล็กลงอีกด้วย

เจนท วอยท์ ยังไม่มั่นใจนักว่าเพราะเหตุใดผิวและปุ่มของปลาหมึกยักษ์ถึงเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความลึกดังกล่าว แต่เชื่อว่าขนาดของมันเปลี่ยนไปเพราะยิ่งลงลึกไปใต้ทะเลมากขึ้น อาหารของปลาหมึกยักษ์ก็จะลดน้อยลง ทำให้มันต้องปรับขนาดตัวให้เล็กลงเพื่อการอยู่รอดนั่นเอง

Advertisement

เจเนทเชื่อว่าหากทำเช่นนี้อยู่ระยะหนึ่งขนาดที่เล็กลงก็จะส่งผ่านทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานปลาหมึกในที่สุด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image