“เดย์ไลท์เซฟวิ่ง ไทม์” ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

(AP Photo/Charles Krupa)

“เดย์ไลท์ เซฟวิ่ง ไทม์” ที่ภาษาไทยใช้ว่า “เวลาออมแสง” ใช้กันอยู่ในหลายประเทศ โดยการเลื่อนเวลามาตรฐานให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเมื่อเข้าหน้าหนาว แล้วค่อยไปลดลง 1 ชั่วโมง เข้าสู่เวลามาตรฐานของแต่ละประเทศ เมื่อเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ

ในเมืองไทยเรา รู้จัก “เวลาออมแสง” นี้กันเพราะการแข่งขันฟุตบอลในภาคพื้นยุโรปเป็นสำคัญ เนื่องจากเมื่อเทียบกับเวลาเดิมก่อนหน้าการใช้เดย์ไลท์ เซฟวิ่ง ไทม์ แล้ว เวลาแข่งขันในเมืองไทยของแต่ละแมตช์ แต่ละสัปดาห์จะดึกขึ้น 1 ชั่วโมง

ที่น่าสนใจก็คือ มีบรรดาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้ “เวลาออมแสง” นี้ได้แล้วเพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราในหลายๆ ด้าน

ตัวอย่างเช่นในงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำวิจัยในหลายประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ที่บอกว่า การเริ่มต้นใช้เวลาออมเเสงก็เป็นเหมือนสัญญาณเตือนถึงความหดหู่ ความมืดมนของหน้าหนาว จนเป็นเหตุให้มีจำนวนผู้คนเข้ารับการหารือเพราะเกิดอาการหดหู่ ซึมเศร้า มากกว่าปกติในช่วงระยะเวลาที่ใช้ เดย์ไลท์ เซฟวิง ไทม์ ดังกล่าว หรือในงานวิจัยอีกชิ้น ที่แสดงว่า เมื่อมีการปรับเวลาอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์

Advertisement

มากขึ้น เกิดอาการหัวใจวายกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเพิ่มมากขึ้นและจะคงอยู่ตลอดระยะเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเวลา

นายแพทย์ ฟิลลิส ซี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการนอนประจำสำนักการแพทย์ นอร์ธเวสเทิร์น เมดิซีน ในนครชิคาโก สหรัฐอเมริกา ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงเวลาเพิ่มขึ้นหรือ

ลดลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตารางการนอนหลับของคนทั่วไป แต่จะเป็นปัญหามากเป็นพิเศษสำหรับคนที่มีปัญหานอนหลับไม่เพียงพอเป็นทุนอยู่แล้ว ซึ่งตามสถิติในสหรัฐอเมริกานั้น ผู้ใหญ่ราว 1 ใน 3 จะนอนน้อยกว่าเกณฑ์แนะนำซึ่งอยู่ที่ 7 ชั่วโมงหรือกว่านั้น ในขณะที่ในกลุ่มวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกาสถิติดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นกว่าครึ่งหนึ่งที่นอนน้อยกว่าเกณฑ์แนะนำที่ 8 ชั่วโมง ในช่วงวันทำงานของสัปดาห์

Advertisement

งานวิจัยในสหรัฐ อเมริกาชิ้นหนึ่งพบว่า ในสัปดาห์ถัดมาหลังจากหน้าใบไม้ผลิ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเวลาออมแสง วัยรุ่นเหล่านี้จะนอนน้อยลงกว่าในสัปดาห์ก่อนหน้านั้นถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง และบางคนไม่เคยกลับมานอนในระดับปกติได้อีกเลยในช่วง 6 เดือนต่อมา

การนอนไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดระดับฮอร์โมนเครียดสูงขึ้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับสารเคมีอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการอักเสบภายในร่างกายได้

นายแบร์รี แฟลงกลิน ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการฟื้นฟูและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ของโรงพยาบาลโบมอนต์ เฮลธ์ ในเมืองรอยัลโอค รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในหน้าใบไม้ผลิ การปรับเวลาใหม่ทำให้คนทั่วไปตื่นเร็วขึ้นกว่าปกติ 1 ชั่วโมง ซึ่งอาจไม่ส่งผลต่อคนปกติแต่หากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมา มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มักเกิดอาการอุดตัน, เกิดหัวใจวายเฉียบพลัน ในอัตราสูงขึ้นในช่วงเช้าในสัปดาห์แรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงเวลาออมแสง โดยผู้ป่วยเหล่านี้จะกลับไปอยู่ในระดับเสี่ยงปกติที่เคยเป็นมาเมื่อการเปลี่ยนเวลาในหน้าหนาวผ่านไประยะหนึ่ง

นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งจากเยอรมนี ตีพิมพ์เผยแพร่ในปีนี้ที่แสดงให้เห็นว่า การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรในเยอรมนี เพิ่มสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของการเปลี่ยนแปลงเวลาออมแสงอีกด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image