ทีโอที เปิดยุทธศาสตร์ใหม่ ตั้งเป้าขึ้นแท่นผู้นำธุรกิจดิจิทัล-เติบโตอย่างยั่งยืน

ทีโอที เผยวิสัยทัศน์และพันธกิจใหม่ พลิกบทบาทสู่ผู้นำในธุรกิจดิจิทัลของประเทศ สร้างศักยภาพการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยคาดว่าผลประกอบการทั้งปีจะมีกำไรก่อนรายการพิเศษ ประมาณ 2,000 ล้านบาท มีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 54,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากบริการในส่วนของ ทีโอที ดำเนินงานเอง และรายได้จากการดำเนินงานของพันธมิตร นอกจากนี้ ทีโอที ได้ลงทุนเพื่อสร้างรายได้จากบริการใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มบริการ Digital Service รวมถึงรายได้ดำเนินงานตามโครงการภาครัฐ อย่างไรก็ตาม หากรวมรายการพิเศษที่โอที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิปี 2562 ประมาณ 300 ล้านบาท

นอ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดผยถึงนโยบายและทิศทางการดำเนินงานปี 2563 ว่า จากสภาพแวดล้อมของธุรกิจโทรคมนาคมที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) ทำให้ ทีโอที ต้องทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนการดำเนินงานใหม่โดยมีเป้าหมายหลัก คือพัฒนาองค์กรให้เป็นผู้นำการให้บริการโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลที่มุ่งตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีพันธกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่ยุคดิจิทัล ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัลอย่างมีคุณภาพเพื่อส่งเสริมความมั่นคงของรัฐ และนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย

สำหรับทิศทางธุรกิจของทีโอที่มุ่งเดินหน้าสู่องค์กรดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อยกระดับขีดความสามารถขององค์กรในทุกมิติ ทั้งกระบวนการทำงานและพัฒนารูปแบบธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ โดยจะพลิกบทบาทเป็น “ผู้ให้บริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ” ภายในระยะวลา 35 ปีข้างหน้า โดยตั้งป้ามีรายได้จากธุรกิจดิจิทัลไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของรายได้จากการดำเนินการเอง มีส้ส่วผนักงาติทัลประมาณร้อยละ 30 ของพนังานทั้งหมด เพื่อให้ โอที ก้าวขึ้นสู่การเป็น “ผู้นำในธุรกิจดิจิทัลของประเทศ”

น.อ. สมศักดิ์ กล่วเพิ่มเติมว่า แผนในอนาคต ทีโอที มุ่งนั้นให้องค์กรอยู่รอดจากการทำธุรกิจด้วยตนเอง โดยสร้างการเติบโตจากบริการดิจิทัล โดยใน 5 ปีข้างหน้าทีโอที จะมีรายได้จากการให้บริการเองร้อยละ 40 และรายได้จากพันธมิตรร้อยละ 60 รวมถึงขยายความร่วมือกับพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจด้านดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการพร้อมวางกลยุทธ์ทำธุรกิจที่มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลแก่ลูกค้าตามกลุ่ม ของลูกค้าตามกลุ่มบริการที่สำคัญ ทั้งบริการโครงสร้างพื้นฐาน บริการโทรศัพท์ประจำที่ บริการบรอดแบนด์ทั้งทางสายและไร้สาย และบริการดิจิทัล โดย ทีโอที ยังมีความพร้อมในการลงทุนเพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

Advertisement

สำหรับกลุ่มบริการในธุรกิจเดิม บริการบรอดแบนด์ บริการสื่อสารข้อมูล บริการสื่อสารทางเสียง และบริการโครงสร้างพื้นฐาน ยังคงเป็นรายได้หลักของทีโอที มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 9 ของรายได้จากการให้บริการ ทีโอทียังคงมุ่งเน้นพัฒนาการให้บริการบรอดแบนด์ทางสายด้วยเทคโนโลยี Fโห และไร้สายบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 2300 MHz ทั้งการขยายพื้นที่ครอบคลุมการบริการมากขึ้น และพัฒนาคุณภาพโครงข่ายหลัก ขณะที่บริการโทรศัพท์ประจำที่ (Fixed Line) ซึ่ง ทีโอที เป็นผู้ให้บริการหลักของประเทศที่มีฐานลูกด้จำนวนมาก โดยมีแผนเพิ่มประสิทธิภาพระบบชุมสายโทรศัพท์ ตามแผนงานการปรับเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่จาก 9 หลักเป็น 10 หลัก ซึ่งจะทำให้สามารถให้บริการได้ดีขึ้นและลดต้นทุนการดำเนินงานระยะยาวได้ ส่วนบริการโครงสร้างพื้นฐาน (Hard Infrastructure) มุ่งใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ และพัฒนาให้ทันสมัยรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในอนาคต อาทิ โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ท่อร้อยสาย และเสาโทรคมนาคมรวมถึงบริการสื่อสารข้อมูลภายในประเทศและระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ทีโอที ยังมีแผนที่จะเข้าร่วมประมูลคลื่น 5G ตามนโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ด้านกลุ่มบริการธุรกิจใหม่ ทีโอที ได้เร่งลงทุนเพื่อสร้างรายได้ ทั้งการสรรหาพันธมิตรร่วมดำเนินในธุรกิจดิจิทัล และการขยายฐานลูกค้าสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนพัฒนาสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เป็นแหล่งรายได้ใหม่ สำหรับบริการดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น บริการโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) และบริการดิจิทัลต่างๆ อาทิ บริการ Cloud Business Service, Cyber Security, Application & Sofware โดยกลุ่มบริการนี้จะมีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 26 ต่อปี ทั้งจากการให้บริการของ ทีโอที เอง และความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยฉพาะลูกค้าภาครัฐและภาคธุรกิจ ส่วนบริการ ICT Solution & Manage Service เน้นการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร ครอบคลุมงานออกแบบโซลูชั่น การจัดหาอุปกรณ์ตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการบริหารจัดการระบบหรือเครือข่ายภายในของลูกค้า รวมถึง ทีโอที ยังมีความพร้อมในการให้บริการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ปฏิบัติการค้นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มีการเฝ้าระวังรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของผู้ใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีที่หลากหลาย สามารถรองรับและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ในปี 2563 ทีโอที ได้เตรียมพร้อมเพื่อสนับสนุนและรองรับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะเป็นโครงการเน็ตประชารัฐ, โครงการขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (Big Rock), โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (EEC), โครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones : SEZs), โครงการพัฒนาโครงข่าย 5G

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image