ผลสำรวจภาคธุรกิจในไทย พบนิยมไฮบริดคลาวด์

ผลสำรวจภาคธุรกิจในไทย พบนิยมไฮบริดคลาวด์

เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่นูทานิคซ์ได้มอบหมายให้แวนสัน บอร์น ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยในสหราชอาณาจักร ทำการสำรวจการใช้เทคโนโลยีคลาวด์และแผนการใช้คลาวด์ขององค์กรต่างๆ ทั่วโลก

โดยกลางปี พ.ศ.2563 ได้สำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 3,400 คนทั่วโลกว่า องค์กรเหล่านั้นใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนระบบใดในปัจจุบัน วางแผนจะใช้บนระบบใดในอนาคต มีความท้าทายในการใช้คลาวด์อย่างไรบ้าง และองค์กรเหล่านี้จัดให้แผนการใช้คลาวด์มีความสำคัญในระดับใด เมื่อเทียบกับแผนงานด้านไอที และการลำดับความสำคัญด้านอื่นๆ

ในการสำรวจความคิดเห็นในปีนี้ มีคำถามเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีในปัจจุบันด้วย

Advertisement

โดยรายงานฉบับประเทศไทยนี้เน้นให้เห็นข้อมูลในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่รวบรวมได้จากผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่ทำงานในประเทศไทย และเปรียบเทียบประสบการณ์ การใช้คลาวด์และแผนงานด้านคลาวด์ของบริษัทในไทยกับผลสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น และผลสำรวจจากทั่วโลก

สำหรับข้อมูลสำคัญจากการสำรวจ มีดังนี้

1.ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยส่วนใหญ่ระบุว่าไฮบริดคลาวด์เป็นรูปแบบการใช้งานด้านไอทีที่เหมาะสม ผลสำรวจทั่วโลกพบว่า 87% ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเห็นตรงกันว่าการใช้ พับลิคและไพรเวทคลาวด์/ดาต้าเซ็นเตอร์ผสมผสานกัน (ไฮบริด) เป็นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย 92% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นด้วยกับความคิดนี้ และ 76% เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าไฮบริดคลาวด์เป็นระบบที่เหมาะสม

Advertisement

2.ผลสำรวจพบว่าบริษัทในไทยมีความพยายามอย่างมากในการวางแผนทั้งที่จะยกเลิก ปรับปรุง และบูรณาการ

ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ไม่ได้ใช้ระบบคลาวด์ ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยส่วนใหญ่ (67%) กล่าวว่า พวกเขามีแผนที่จะใช้สภาพแวดล้อมที่เป็นไฮบริดภายใน 5 ปี ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น 63 เปอร์เซ็นเทจพอยต์จากระดับการใช้ไฮบริดในปัจจุบัน และมีเพียง 3% เท่านั้นที่วางแผนจะใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมที่ไม่ใช่ระบบคลาวด์ในอีก 5 ปีข้างหน้า

3.ประเทศไทยนำหน้าในการใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI)

ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยเกือบ 70% รายงานว่าพวกเขาใช้งาน HCI อยู่แล้ว หรืออยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำไปใช้ ในขณะที่ผลสำรวจทั่วโลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50% เท่านั้น

4.การประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ใช่เหตุผลหลักในการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอทีในไทย แรงจูงใจสามอันดับแรกในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยของบริษัทในไทยที่ตอบแบบสำรวจ ได้แก่ ต้องการเพิ่มความเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ (79%) ควบคุมการใช้ทรัพยากรไอทีให้มีประสิทธิภาพขึ้น (67%) และให้สามารถให้การสนับสนุนลูกค้าได้ดีขึ้น (67%) ในทางกลับกันผู้ตอบแบบสำรวจในไทย จัดให้เหตุผลเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายมาเป็นอันดับที่สิบ (13%) เท่านั้น

5.การแพร่ระบาดทั่วโลกยกระดับความสำคัญของไอที และเร่งให้มีการนำระบบคลาวด์มาใช้เร็วขึ้น มากกว่าสี่ในห้า (82%) ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยกล่าวว่า โควิด-19 ทำให้องค์กรของตนมองเรื่องไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น เป็นผลให้ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจรายงานว่ามีการเพิ่มการลงทุนในพับลิคคลาวด์ (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 47%) ในขณะเดียวกันมีการลงทุนในไพรเวทคลาวด์

เพิ่มขึ้น 56% (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 37%)

โดยบทสรุปของการสำรวจนี้ ทำให้พบว่าบริษัทในประเทศไทยที่ตอบแบบสำรวจในปีนี้ นิยมโครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์มากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น และจากทั่วโลก เช่นเดียวกับผู้ตอบแบบสำรวจทั่วๆ ไป ประเทศไทยใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งแบบดาต้าเซ็นเตอร์ ไพรเวทคลาวด์ และพับลิคคลาวด์ ที่ยังไม่ได้มีการผสานการทำงานร่วมกัน ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยได้ระบุถึงเส้นทางเดินสู่การใช้ไฮบริดคลาวด์ของตน ด้วยการขยายการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานแบบมัลติพับลิคคลาวด์ในปีแรก หลังจากนั้นภายในปีที่สามจะใช้รูปแบบคลาวด์แบบผสมแต่ยังไม่ผสานการทำงานเข้าด้วยกัน

ในที่สุดสภาพแวดล้อมเหล่านี้ก็จะมารวมกันเป็นไฮบริดคลาวด์ ซึ่งเป็นระบบที่แอพพลิเคชั่นและเวิร์กโหลดสามารถเคลื่อนย้ายการทำงานได้อย่างคล่องตัว มีการบริหารจัดการและการรักษาความปลอดภัยที่มีแบบแผนเป็นหนึ่งเดียว ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยรายงานว่ามีการใช้ HCI ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีในการเปลี่ยนผ่าน หรือแทนที่ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมด้วยเทคโนโลยีไพรเวทคลาวด์ 67% ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทย กล่าวว่าจะใช้ไฮบริดคลาวด์เพียงอย่างเดียวภายในห้าปีต่อจากนี้ (เพิ่มขึ้น 63 เปอร์เซ็นเทจพอยต์จากปัจจุบันที่ 4%)

ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากใช้โครงสร้างพื้นฐานพับลิคคลาวด์ เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานของพนักงานจำนวนมากจากที่บ้านได้อย่างรวดเร็ว และขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ ในโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และเครื่องมือต่างๆ มากขึ้น และในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงด้านนี้มากกว่าที่อื่นๆ

นั่นหมายถึงสถานการณ์โควิด-19 มีส่วนทางอ้อมในการใช้ไฮบริดคลาวด์และการริเริ่มด้านดิจิทัลต่างๆ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image