การ์ทเนอร์เผย เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2565

การ์ทเนอร์เผย เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2565

การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยเทรนด์เทคโนโลยีมาแรงที่องค์กรธุรกิจต้องจับตาดูและศึกษาเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในปีหน้า

นายเดวิด กรูมบริดจ์ นักวิจัยอาวุโสของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ความมุ่งมั่นของซีอีโอและบอร์ดบริหารที่ต้องการสร้างการเติบโตแก่องค์กรผ่านการเชื่อมต่อเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ร่วมกับลูกค้าโดยตรงเป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารด้านไอทีที่ต้องวางแผนและดำเนินการให้ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสามารถพิจารณาและปรับใช้แต่ละแนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่มาแรงในปี 2565 ของการ์ทเนอร์ได้”

แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์มาแรงแห่งปี 2565 ได้แก่

๐กำเนิดใหม่ปัญญาประดิษฐ์ [Generative Artificial Intelligence (AI)]
หนึ่งในเทคนิคของการพัฒนา AI ที่เป็นที่รู้จักและมีประสิทธิภาพมากที่สุดและกำลังเข้าสู่ตลาดคือ Generative AI ซึ่งเป็นแมชชีนเลิร์นนิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับคอนเทนท์หรือ Data Object และใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมรวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เป็นต้นฉบับและมีความเสมือนจริง

Advertisement

๐โครงข่ายข้อมูล [Data Fabric]
Data Fabric ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการรวมข้อมูลที่ยืดหยุ่นและรองรับการทำงานระหว่างแพลตฟอร์มและระหว่างธุรกิจได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้โครงสร้างพื้นฐานในการรวมข้อมูลขององค์กรง่ายขึ้น และสร้างสถาปัตยกรรมที่พร้อมสำหรับการขยายขนาดซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาสะสมทางเทคนิคที่เกิดขึ้นหรือที่เราเรียกกันว่า “หนี้ทางเทคนิค” (Technical Debt) ซึ่งพบบ่อยในทีม D&A โดยปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความท้าทายในการรวมข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเข้าด้วยกัน

๐องค์กรแบบกระจาย [Distributed Enterprise]
ด้วยปัจจุบันรูปแบบการทำงานระยะไกลและไฮบริดที่เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับองค์กรที่เคยเน้นการทำงานในออฟฟิศเป็นศูนย์กลางก็ปรับตัวไปสู่องค์กรแบบกระจาย (Distributed Enterprise) ที่รองรับรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทั้งในออฟฟิศและนอกสถานที่

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2566 75% ขององค์กรที่ใช้ประโยชน์จากการสร้างประสบการณ์ทำงานในรูปแบบกระจายจะมีรายได้เร็วเติบโตไวกว่าคู่แข่ง 25%

Advertisement

๐แพลตฟอร์ม Cloud-Native (CNPs)
เพื่อนำเสนอความสามารถด้านดิจิทัลได้อย่างแท้จริงจากทุกที่ องค์กรจำเป็นต้องทิ้งกลยุทธ์การถ่ายโอนการทำงานแบบเดิม “ยกและเปลี่ยนใหม่” ไปสู่ CNP โดยการปรับใช้ CNP นั้นจะใช้ความสามารถหลักของคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้างบริการในรูปแบบ “As A Service” ซึ่งจะเพิ่มความสามารถแก่ระบบไอทีให้มีความยืดหยุ่นและรองรับการปรับขยายให้แก่บริษัทเทคโนโลยีที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเพิ่มมูลค่าจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการไปยังตลาดและผู้บริโภคได้รวดเร็วกว่า ขณะที่ลดต้นทุนไปพร้อมกัน

๐ระบบอัตโนมัติขั้นกว่า (Autonomic Systems)
เมื่อองค์กรเติบโตขึ้น การเขียนโปรแกรมแบบดั้งเดิมหรือใช้ระบบอัตโนมัติแบบเก่าอาจไม่ตอบโจทย์ Autonomic Systems เป็นระบบทางกายภาพหรือระบบซอฟต์แวร์ที่สามารถจัดการและเรียนรู้สภาพแวดล้อมของการใช้งานได้ด้วยตนเอง จะต่างจากระบบอัตโนมัติทั่ว ๆ ไป หรือระบบอัติโนมัติที่ไม่ต้องอาศัยมนุษย์ควบคุม (Autonomous System) โดย Autonomic Systems สามารถปรับเปลี่ยนอัลกอริธึมของตัวเองได้แบบไดนามิก ไม่ต้องอัปเดตซอฟต์แวร์ภายนอก ทำให้สามารถปรับให้เข้ากับเงื่อนไขหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในรูปแบบเดียวกับที่มนุษย์สามารถทำได้

๐การตัดสินใจอัจฉริยะ [Decision Intelligence (DI)]
ความสามารถในการตัดสินใจขององค์กรมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นทรัพยากรเชิงกลยุทธ์สำคัญที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้องค์กรได้

โซลูชั่นที่เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจได้อัจฉริยะ (Decision Intelligence) เป็นแนวทางปฏิบัติที่นำไปใช้ได้จริงเพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจโดยการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมทั้งการออกแบบวิธีการตัดสินใจ และประเมินผลลัพธ์ จัดการ และปรับปรุงจากคำติชมได้ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า หนึ่งในสามขององค์กรขนาดใหญ่จะใช้การตัดสินใจอัจฉริยะเป็นโครงสร้างในการตัดสินใจเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน

๐แอพพลิเคชั่นแบบประกอบแยกส่วน (Composable Applications)
ในบริบทของทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ความต้องการในการปรับตัวทางธุรกิจจะนำองค์กรไปสู่สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เน้นความรวดเร็ว ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสถาปัตยกรรมแอพพลิเคชั่นแบบประกอบแยกส่วน (หรือ Composable application architecture) ได้ช่วยเสริมความสามารถให้กับการปรับตัวดังกล่าว และธุรกิจที่ใช้ปรับใช้แนวทางดังกล่าวจะนำหน้าคู่แข่งถึง 80% ในด้านความเร็วของการนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ ๆ แก่ผู้บริโภค

๐เครื่องมืออัตโนมัติแบบยิ่งยวด [Hyperautomation]
Hyperautomation ช่วยเร่งเครื่องให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและยืดหยุ่นด้วยความสามารถในการแปลผลลัพธ์ เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบอย่างรวดเร็ว และทำให้กระบวนการต่าง ๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติให้ได้มากที่สุด

๐เพิ่มประสิทธิภาพประมวลผลความเป็นส่วนตัว [Privacy-Enhancing Computation (PEC)]
PEC เป็นเทคนิคการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน ครอบคลุมการปกป้องตั้งแต่ระดับข้อมูลซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ การแบ่งปัน การรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างปลอดภัยขณะที่ยังคงปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัว ปัจจุบันมีการปรับใช้เทคนิคดังกล่าวแล้วในหลายองค์กรจากอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานพับบลิกคลาวด์ (อาทิ สภาพแวดล้อมการดำเนินการที่เชื่อถือได้)

๐ตาข่ายความปลอดภัยไซเบอร์ [Cybersecurity Mesh]
กรูมบริดจ์ กล่าวว่า “ในปีนี้นอกจากปริมาณดาต้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดาต้ายังเป็นเทรนด์ที่ถูกพูดถึงกันตลอดทั้งปี แต่ดาต้าจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อองค์กรต่าง ๆ สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำเท่านั้น วันนี้สินทรัพย์และผู้ใช้กระจายตัวอยู่ทุกหนแห่ง หมายความว่าเราไม่สามารถใช้การรักษาความปลอดภัยในรูปแบบเดิม ๆ ได้อีกต่อไป จึงต้องอาศัยสถาปัตยกรรมที่ป้องกันและจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบตาข่ายหรือ Cybersecurity Mesh Architecture (CSMA)”

๐ปัญญาประดิษฐ์ทางวิศวกรรม [AI Engineering]
ผู้นำด้านไอทีติดปัญหาในการผสานรวมระบบ AI เข้ากับแอปพลิเคชัน ทำให้เสียเวลาและเงินไปกับโครงการ AI ที่ไม่เคยนำไปสู่การผลิต หรือการพยายามรักษาคุณภาพของโซลูชัน AI เมื่อเปิดตัว ซึ่ง AI Engineering เป็นแนวทางแบบบูรณาการสำหรับการดำเนินงานโมเดล AI ในรูปแบบต่าง ๆ

๐ประสบการณ์เต็มรูปแบบ [Total Experience (TX)]
TX เป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่ผสมผสานประสบการณ์ลูกค้า (CX) ประสบการณ์พนักงาน (EX) ประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) และประสบการณ์หลากหลาย (Multiexperience – MX) เข้าด้วยกัน เป้าหมายของกลยุทธ์ TX คือการสร้างความมั่นใจ ความพึงพอใจ ความภักดี และการสนับสนุนมากขึ้นจากลูกค้าและพนักงานที่พึงพอใจกับประสบการณ์ที่ได้รับการยกระดับ ขณะเดียวกันองค์กรต่าง ๆ สามารถเพิ่มรายได้และสร้างผลกำไรจากการบรรลุประสิทธิผลทางธุรกิจของ TX ที่ปรับตัวและยืดหยุ่น

แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ชั้นนำของปีนี้ได้มุ่งเน้นไปที่แนวโน้มที่จะผลักดันให้เกิดการหยุดชะงักหรือโอกาสการเติบโตในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image