โรช ไดแอกโนสติกส์ ผนึก สภาเทคนิคการแพทย์ ยกระดับห้องแล็บไทยสู่มาตรฐานสากลตั้งเป้าเพิ่มห้องแล็บรับรอง 20% ภายในปี 68 หนุนไทยสู่ Medical ดันท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ สภาเทคนิคการแพทย์ ประกาศความร่วมมือในโครงการ “Lab Benchmarking 2025” เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (แล็บ) ทั่วประเทศให้ได้มาตรฐานสากล สนับสนุนวิสัยทัศน์ Medical Hub ของไทย และตอบสนองการเติบโตของ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป้าหมายหลักของโครงการ 150 ห้องแล็บ ทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการภายในปี 2568 ช่วยเพิ่มจำนวนห้องแล็บที่ได้มาตรฐานสากล 20 ยกระดับความแม่นยำของผลตรวจวินิจฉัยโรค สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและต่างชาติ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ดันไทยสู่ศูนย์กลางการแพทย์ หนุนศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์ และ นายมิไฮ อิริเมสซู (Mihai Irimessu) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ ประเทศไทย ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อส่งเสริมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของห้องแล็บในประเทศไทย
ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีห้องแล็บที่ผ่านการรับรองมาตรฐานรวมกว่า 1,300 แห่ง แบ่งเป็น 814 แห่ง ได้รับการรับรองจากสภาเทคนิคการแพทย์ อีก 300 แห่ง ได้รับมาตรฐาน ISO จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และประมาณ 200 แห่ง ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ โครงการ Lab Benchmarking 2025 จะช่วยให้ห้องแล็บทั่วประเทศสามารถประเมินศักยภาพของตนเอง เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล และนำข้อมูลไปพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพบริการทางการแพทย์ของไทยให้ทัดเทียมระดับนานาชาติ
นายมิไฮ อิริเมสซู กรรมการผู้จัดการ โรช ไดแอกโนสติกส์ ประเทศไทย กล่าวว่า ความท้าทายหลักของห้องแล็บไทยในปัจจุบันคือ การปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ โครงการนี้จะช่วยเสริมศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ และส่งเสริมการใช้ นวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยโรค ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มความแม่นยำของผลตรวจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์หลัก ของโครงการLab Benchmarking 2025 ได้แก่ 1.รวบรวมข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับการดำเนินงานของห้องแล็บในประเทศไทย 2.เปรียบเทียบมาตรฐาน กับห้องแล็บในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 3.พัฒนากระบวนการตรวจวินิจฉัยโรค ให้มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือมากขึ้น 4.เตรียมความพร้อม สำหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ทั้งนี้มีขั้นตอนการดำเนินงาน การสำรวจข้อมูล ห้องแล็บที่สนใจเข้าร่วมโครงการจะกรอก แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Lab Insights แบบสอบถามครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น ระบบคุณภาพ, การบริหารจัดการ, ต้นทุนการดำเนินงาน, และการใช้เทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล ห้องแล็บที่เข้าร่วมจะได้รับ รายงานผลการประเมินแบบเรียลไทม์ เพื่อดูจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนา และการเผยแพร่ผลลัพธ์ ผลวิเคราะห์จะถูกนำเสนอในงาน Thailand LA Forum 2025 เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาสำหรับห้องแล็บทั่วประเทศ
โดยระยะเวลาดำเนินโครงการ จะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 31 กรกฎาคม 2568ประกาศผลประมาณ ไตรมาส 3 ของปี 2568 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ คือ รู้จุดยืนของตนเองเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล ช่วยให้นำข้อมูลไปปรับปรุงระบบการทำงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตัวเองและประเทศ ในด้านประโยคต่อสาธารณสุขไทย จะช่วยยกระดับมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยโรค สนับสนุนนโยบาย Medical Hub ของรัฐบาล และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้บริการทางการแพทย์ของไทย รวมถึงในด้านการเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น สร้างรายได้จากการแพทย์ครบวงจร ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยถูกจัดให้เป็น หนึ่งในจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่สำคัญของโลก ด้วยบริการที่ได้มาตรฐานและราคาแข่งขันได้ โครงการนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทย
อย่างไรก็ดี การกระจายความรู้และเทคโนโลยีไปยังห้องแล็บทั่วประเทศ จะช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลได้รับบริการตรวจวินิจฉัยที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพ โครงการ Lab Benchmarking 2025 ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับมาตรฐานห้องแล็บไทยสู่ระดับสากล สอดคล้องกับนโยบาย Medical Hub และเตรียมความพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพในอนาคต