ส่วนผสมยาสีฟัน สู่ยารักษามาลาเรีย

(ภาพ -Reuters)

ผลวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร “ไซน์ทิฟิกรีพอร์ท” ผลงานของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ร่วมกับเอไอ ที่เรียกว่า “หุ่นยนต์นักวิทยาศาสตร์” พบว่าส่วนผสมที่มีในยาสีฟันทั่วไปอย่าง “ไตรโคลซาน” นั้นมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถพัฒนาไปเป็นยารักษาโรคมาลาเรียดื้อยาได้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ที่ใช้หุ่นยนต์ที่มีระบบเอไอในกระบวนการ “ไฮทรูพุตสกรีนนิ่ง” (เอชทีเอส) หรือกระบวนการทดสอบทางเคมีของส่วนผสมที่จะนำไปสู่การค้นพบยารักษาโรค พบว่าไตรโคลซาน มีความสามารถในการขัดขวางการติดเชื้อมาลาเรียในสองสถานะอันตรายคือ การติดเชื้อในตับและในกระแสเลือด

นักวิทยาศาสตร์รู้มาก่อนหน้านี้แล้วว่าบางครั้ง ไตรโคลซานสามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อมาลาเรียในเลือดได้ด้วยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อีเอ็นอาร์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตกรดไขมัน กระบวนการดังกล่าวของยาสีฟันจะเป็นการป้องกันการก่อตัวของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของหินปูน

อย่างไรก็ตามในงานวิจัยล่าสุดนั้น นักวิจัยพบว่าไตรโคลซานยังสามารถยับยั้งเอนไซม์อีกตัวที่เรียกว่า “ดีเอชเอฟอาร์” ได้ด้วย โดยดีเอชเอฟอาร์นั้นเป็นเป้าหมายของยารักษามาเลเรียชนิด “ไพริเมธามีน” ยาที่เชื่อมาลาเรีย เริ่มที่จะมีการดื้นยามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในพื้นที่แอฟริกา

Advertisement

ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แสดงให้เห็นว่าไตรโคลซานสามารถจัดการกับเอนไซม์ดีเอชเอฟอาร์ได้แม้ในเชื่อมาลาเรียที่ดื้อยาไพริเมธามีนแล้วก็ตาม

ทั้งนี้ทุกๆ ปีมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อมาลาเรียนับล้านคน ในจำนวนนี้ส่วนมากเป็นเด็กในพื้นที่ยากจนจากภูมิภาคแอฟริกา โดยแม้ว่าโรคมาลาเรียจะสามารถรักษาได้ด้วยยาหลายชนิดแต่การดื้อยาที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้การคิดค้นยาชนิดใหม่นั้นเป็นความจำเป็นเร่งด่วน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image