67 ปีสถาปนาศาลเยาวชนฯ พัฒนาการกฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็ก ดูเเลเหยื่อ คุ้มครองสังคม

ครบ 67 ปีสถาปนาศาลเยาวชนฯ อธิบดีศาลเยาวชน เผยพัฒนาการกฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็ก ดูเเลผู้เสียหาย เเละคุ้มครองสังคม

เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่อาคารศาลเยาวชนเเละครอบครัวกลาง ถนนกำเเพงเพชร2 น.ส.บุญมี ฐิตะศิริ รองประธานศาลฎีกาเดินทางมาเป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันสถาปนาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ครบ 67 ปี พร้อมด้วยประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา โดยมี นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง รวมถึงคณะผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ประนีประนอมคดีครอบครัว ข้าราชการศาลยุติธรรม พนักงานราชการและลูกจ้าง ร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุจำนวน 68 รูป เพื่อร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพตุลาการ และผู้พิพากษาสมทบที่ล่วงลับไปแล้ว

ต่อมาเวลา 11.40 น. นางสาวบุญมี ฐิตะศิริ รองประธานศาลฎีกาได้เป็นประธานเปิดงานวันคล้ายวันสถาปนาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ครบรอบ 67 ปี

นายสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง เปิดทำการเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2495 นับเป็นเวลาครบ 67 ปี มีวิวัฒนาการเริ่มจากบทบาทหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีโดยแยกปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดออกจากผู้ใหญ่ เน้นแก้ไขบำบัดฟื้นฟูและช่วยเหลือสงเคราะห์ มุ่งเน้นการคุ้มครองสถาบันครอบครัว ประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชน รวมถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวและเด็ก ในปี 2562 ศาลเยาวชนฯ จะมุ่งเน้นทำโครงการต่างๆเพื่อประโยชน์แก่เด็กผู้เสียหาย เช่น การช่วยเหลือคุ้มครองเหยื่อในคดีอาชญากรรม ผู้เสียหายในคดี การให้ความเป็นธรรม การเรียกสินไหมทดแทน เพื่อให้เกิดการสำนึกและการเปลี่ยนแปลงทั้งตั้วจำเลยและผู้เสียหาย โดยจะจัดทำแผนการเยียวยาร่วมกับตัวแทนสังคม ชุมชน, การคุ้มครองสิทธิเด็กที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ไม่เอาเงินประกันในการทำสัญญา แต่หากมีการทำผิดสัญญาก็จะเป็นการปรับแทน เพื่อที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง รวมถึงจะอนุญาตสามารถประกันตัวเด็กได้ในวันหยุด เสาร์อาทิตย์ เพื่อสิทธิเสรีภาพแก่เด็ก และทางศาลเยาวชนฯได้ร่วม MOU กับสถาบันปัญญาภิวัฒน์ ในการสนับสนุนรับเด็กที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่อยู่ในการดูแลของศาลไปศึกษาต่อจนจบปริญญา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับเด็ก ทั้งนี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มุ่งพัฒนาระบบการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม โดยยึดเด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลาง แก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้ตรงกับสภาพปัญหา ให้กลับไปอยู่ร่วมกับครอบครัว สังคมอย่างปกติสุข ตลอดจนเยียวยาคุ้มครองผู้เสียหายให้ได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม ผ่านกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

Advertisement

หลังจากนั้น น.ส.บุญมี ประธานในพิธีได้เปิดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติและผลงานของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง พร้อมทั้งเยี่ยมชมผลงานของเด็กและเยาวชนที่นำมาจัดแสดงและชมการสาธิตงานฝีมือต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ,การทำเครื่องจักรสาน ,ทอผ้า , แปรรูปสมุนไพร ,การประคบทองลงบนเสื้อยืด,การจัดสวนในแก้ว ,สาธิตการทำอาหาร,สาธิตการติดลายในแก้วใส ,การทำวัสดุเหลือใช้จากขวดพลาสติก
,สาธิตการทำดอกไม้จันทน์และพวงหรีดจากดอกไม้จันทน์

ต่อมาในเวลา 13.00 น. มีกิจกรรมเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “เหลียวหลัง แลหน้าศาลเยาวชนฯ : ย่างก้าวบนความเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” โดยมีวิทยากร นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศ.พิเศษดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผ.อ.สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) และนายวันชัย รุจนวงศ์ อัยการอาวุโส

นายสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องพัฒนาการของ กฎหมาย ภายหลังจากที่ มี พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2553ออกมาบังคับใช้มีจุดเเข็งไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเปลงเชิงโครงสร้างกฎหมายในเรื่องของการกระทำผิดของเด็ก ฉนั้นจะเห็นว่าเด็กต้องได้รับการดูเเลมากขึ้น ที่ผ่านมาเราก็ได้อาศัยข้อมูลในเชิงสถิติของกระบวนการยุติธรรมเด็กเพื่อสอดคล้องกับหลักการสากล เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กดูเเลผู้เสียหาย เเละคุ้มครองสังคมนี่คือหลักการสำคัญ โดยจุดเเข็งอันเเรกคือให้มีการตรวจสอบการจับกุมเด็ก ซึ่งเเต่เดิมตำรวจจับเด็กได้จะต้องส่งสถานพินิจเท่านั้น ก่อนที่จะนำตัวฟ้องต่อศาล เเต่กฎหมายใหม่กำหนดว่าหากจับกุมเเล้วภายใน 24 ชั่วโมงจะต้องนำตัวมามาตรวจสอบการจับกุมที่ศาล ว่าเป็นเยาวชนเเละการจับกุมตัวนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พร้อมทั้งต้องตั้งที่ปรึกษากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในทันที พร้อมทั้งให้ผู้พิพากษาในศาลเด็กเยาวชนที่เข้าตรวจสอบการจับกุมพิจารณาเอาว่าเด็กหรือเยาวชนจะต้องถูกส่งไปที่ไหน โดยอาจจะมีการส่งไปยังศูนย์ให้คำเเนะนำปรึกษาเเละประสานการประชุมเพื่อเเก้ไขเเละปรับฟื้นฟูเด็กเเละเยาวชนครอบครัวซึ่งออกเเบบมาเพื่อตรวจสอบดูว่าเด็กควรส่งต่อไปอยู่ที่ไหน อาจจะส่งไปอยู่กับบิดาร มารดา ที่อาจจะเเค่พลั้งเผลอเเต่ยังดูเเลได้อยู่หรือองค์กรที่ดูเเลเด็ก ไม่ต้องส่งสถานพินิจ ดีกรีความเข้มข้นของกฎหมายออกเเบบให้ศาลเยาวชนคุ้มครองเด็ก สังคมเเละผู้เสียหายไม่ใช่ว่าไม่มีทางเลือกเหมือนที่ผ่านมา ส่วนที่ถามว่าจำเป็นจะค้องปล่อยเด็กที่จับกุมมาเพื่อหายใจไปวันๆหรือสุ่มเสี่ยงกับกลุ่มเดิม กฎหมายก็ให้อำนาจศาลในการส่งเด็กไปยังโครงการต่างๆเพื่อบำบัดฟื้นฟูได้ ศาลจะพิจารณาว่าเด็กอยู่ในเงื่อนไขที่จะส่งไปบำบัดก่อนตัดสินหรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันศาลเยาวชนฯก็จะมีโครงการวัดวุฒิภาวะความฉลาดทางภาวะทางอารมย์ โครงการรู้ไอทีมีอาชีพ เอาเด็กมาฝึกทางไอที ส่งไปค่ายครอบครัวจริยธรรมคุณธรรม ฯลฯเพื่อหล่อหลอมกล่อมเกลาให้เด็กเปลี่ยใจจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองเเละพิสูจน์ตลอดระยะเวลาในโครงการว่าเปลี่ยนพฤติกรรมมีสำนึกในการกระทำหรือไม่ เเละการโอกาสเด็กเป็นยังไงบ้าง เเละเมื่อมีการบำบัดก่อนตัดสินเเล้ว กระบวนการกลางทางศาลก็จะดูว่าควรตัดสินโดยคำพิพากษา หรือมาตรการพิเศษเเทนการดำเนินคดีอาญา หรือจะใช้มาตรการเเทนคำพิพากษาคดี เเละถ้าเด็กมีโอกาสสำนึกในการกระทำกลับตัวเป็นคนดี โดยที่โทษไม่ถึง 20 ปี เราก็จะใช้หลักคิดในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันต์อธิบาย เเต่ถ้าคดีมีผู้เสียหายเเละผู้เสียหายไม่ยินยอมให้เข้าสู่กระบวนการทำเเผนเเก้ไขบำบัดฟื้นฟู เราก็ยังสามารถส่งไปยังมาตรการเเทนคำพิพากษาคดีตามมาตรา 132 ของ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ เรียกว่าไม่ว่าตะเป็นมาตราการที่กล่าวมาสุดท้ายปลายทางคือเด็กจะต้องทำตามเเผน เงื่อนไขที่กำหนด โดยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ปกครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในวิชาชีพกำหนดให้เเผนให้เด็กพิสูจน์ตัวเองใช้ระยะเวลาไม่เกิน1ปี ถ้าเด็กทำได้ เเล้วได้ใช้มาตรการพิเศษเเทนดำเนินคดีอาญาก็จะกลายเป็นว่าคดีอาญายุติเลิกกัน หรือถ้าเป็นมาตรการเเทนคำพิพากษาคดีก็จะถือว่าคดีอาญาระงับสิ่นไปเช่นกันถือเป็นข้อดีของทั้ง 2 มาตรการที่เด็กจะต้องไม่มีมลทินติดตัว ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่จะเป็นจุดเปลี่ยนอดีตกับปัจจุบันของศาลเยาวชนฯในเชิงกฎหมายซึ่งยังไม่รวมถึงโครงการในศาลเยาวชนอีกจำนวนมาก

Advertisement

นายสิทธิศักดิ์กล่าวถึงการรวบรวมสถิติคดีอาญาในช่วง 10ปีเปรียบเทียบระหว่างปี2550 เเละ2560 ว่าคดีอาญาเด็กเยาวชนที่กระทำผิดทั่วประเทศในปี2550 มีจำนวน 33,650คดี ส่วนในปี2560 มีคดีอาญาเด็ก20,204คดี เเละจะเห็นว่าเป็นตัวเลขที่คดีถดถอยลงเรื่อยๆ ซึ่งเวลาไปที่ไหนจะมีการระบุว่าเด็กทำผิดเยอะขึ้น เเต่ยืนยันว่าเด็กทำผิดน้อยลง เเละสถิติไม่ผิด ส่วนที่ระบุว่ามีการใช้มาตรฐานหันเหทางกระบวนยุติธรรมก่อนฟ้องซึ่งทำได้ในคดีเยาวชนไม่ต้องฟ้องศาล ตนก็ได้สอบถามข้อมูลเเละพบว่ามีเยาวชนที่ได้ใช้กระบวนการดังกล่าวที่ผ่านมาไม่เกิน500คดี เเละก็พบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากที่ประเทศไทยมีเด็กเกิดน้อยลง ซึ่งค่าพยากรณ์ต่อไปเด็กจะเกิดน้อยลงเพราะเหตุผลเรื่องครอบครัวเเละหลายปัจจัย เเต่เเม้สถิติคดีจะถดถอยน้อยลงเเต่ข้อมูลเชิงประจักษ์ก็จะเห็นว่าความผิดเรื่องความรุนเเรงจะซับซ้อนมากขึ้น เเละสาเหตุในการทำมีมากกว่า1สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดหรือครอบครัว ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาพบว่าเด็กผู้ชายมีการกระทำความผิดมากกว่าเด็กผู้หญิงโดยเด็กผู้หญิงมีอัตราทำผิดน้อยกว่าเด็กชายคิดเป็นประมาณ10%ของเด็กชาย เเละภูมิภาคที่มีการกระทำผิดจอวเยาวชนมากที่สุดกลับไม่ใช่กรุงเทพเเละปริมณฑล ส่วนภาคที่เยอะที่สุดจะเป็นภาคอีสาน เเละช่วงเกณฑ์อายุที่เด็กกระทำผิดมากที่สุดจะอยู่ในช่วงมัธยมศึกษาที่ 2-3 ส่วนคดีที่เด็กกระทำผิดมากที่สุดจะเป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติด รองลงมาเป็นพวก พ.ร.บ.จราจร เช่น จับรถเเข่ง เเละรองลงมาก็อาวุธปืน ตรงจุดนี้จะสังเกตเเละวิเคราะห์ได้ว่า เด็กซึ่งไม่มีลักษณะกายภาพที่เเข็งเเรงที่จะกล้าเผชิญหน้ากับเจ้าทรัพย์ที่ร่างกายใหญ่โต หรืออุกอาจไปกระทำโดยไม่ยำเกรง ส่วนยาเสพติดที่เป็นคดีส่วนมาก เด็กสามารถหามาเสพได้เอง กินเองได้ เป็นความผิดที่เกิดกับตัวเองไม่ต้องหาใครช่วย เเต่ในคดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดเหตุอุกอาจเข่นร่วมกันชิงทรัพย์หรือปล้นก็เพราะอาจจะถูกชังจูง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image