‘ศรีอัมพร’ย้ำ สนช.ผ่าน พ.ร.บ.ไซเบอร์ พาประเทศถดถอย ไม่มีใครกล้าลงทุนเสี่ยงข้อมูลการค้ารั่วไหล

“ศรีอัมพร” ย้ำ สนช. ผ่าน พ.ร.บ.ไซเบอร์ พาประเทศถดถอย ไม่มีใครกล้าลงทุนเสี่ยงข้อมูลการค้ารั่วไหล หากบังคับใช้ประเทศลำดับสิทธิมนุษย์ชนเเย่ลงเเน่ ตั้งความหวังกับรัฐบาลใหม่เเก้กฎหมาย เเต่เชื่อเเก้ยาก เผยที่ออกมาไม่ใช่คู่ขัดเเย้งทางการเมืองใคร เเต่เป็นอาชีพตุลาการต้องรักษาเสรีภาพประชาชน

เมื่อวันที่ 3 มี.ค.นายศรีอัมพร ศาลิคุปต์ ผู้พิพากษาอาวุโส ในศาลอุทธรณ์ ให้ความเห็นถึงกรณีที่ สนช.ได้มีการผ่านกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ว่า ร่างดังกล่าวที่ผ่านการพิจารณาของ สนช.ไม่ได้มีการเปลี่ยนเเปลงจากร่างเดิมที่ตนเคยให้ความเห็นถึงปัญหาไว้เเต่อย่างใด เพราะหลักการใหญ่ยังเหมือนเดิมที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ Cyber Security ในการเข้าตรวจค้น ยึด ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ได้หมด โดยเหตุเเค่เพียงต้องสงสัยโดยที่ไม่ได้เริ่มคดีหรือมีการตั้งข้อหา ประชาชนทุกคนจะมีสิทธิที่จะถูกล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานความเป็นส่วนตัวได้หมด โดยที่ความผิดยังไม่เกิดเพียงเเต่เขาถูกสงสัย เเละกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลการตรวจสอบถ่วงดุลขอหมายค้นจากศาล ซึ่งเป็นอำนาจการถ่วงดุลระหว่างศาลกับฝ่ายบริหารทำไม่ได้ ต้องอธิบายว่าอำนาจตุลาการของศาลถือเป็นองค์กรเดียวของประเทศที่จะคุ้มครองดูเเลสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาล เเต่ศาลยุติธรรมกลับถูกกีดกันไม่ให้ใช้อำนาจตรวจสอบการทำงานของรัฐในส่วนนี้ ส่วนที่มีการอ้างว่าเฉพาะเหตุที่เป็นวิกฤตร้ายเเรง จึงจะให้เจ้าหน้าที่เจ้าใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวโดยไม่ต้องขอศาลก่อนนั้น ตนขอถามว่ามาตราฐานตรงนี้คือตรงไหน ใช่อยู่ที่คณะกรรมการไซเบอร์ชุดเล็กหรือไม่ เพราะในทางปฏิบัติคณะกรรมการชุดใหญ่ระดับประเทศที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานก็จะให้กรอบการทำงานไว้เท่านั้น เเต่คณะกรรมการชุดเล็กซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีระดับอธิบดีควบคุมตามหน่วยงาน ซึ่งระดับไม่ได้สูงใช้อำนาจได้โดยอาศัยหลักการเพียงเชื่อว่าคณะกรรมการไซเบอร์ดังกล่าวมีหลักคุณธรรมสูง สามารถยังยั้งชั่งใจเเละใช้ดุลพินิจที่ดีได้

นายศรีอัมพรกล่าว ขอถามว่าการใช้คณะกรรมการลักษณะนี้เป็นการให้อำนาจตัวบุคคลที่เราไม่สามารถมีหลักประกันอะไรเลยว่า เขาจะไม่ใช้อำนาจที่จะเกินเลยหรือไปล่วงเกินสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นหลักใหญ่ที่ถูกเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้กลายเป็นข้อยกเว้นที่ไม่มีหลักประกันตรวจสอบว่าจะใช้อำนาจเกินเลยหรือไม่ เเละอะไรคือมาตรฐานกลางที่ถือว่าร้ายเเรงตรงนี้มันไม่มีคำจำกัดความที่เหมาะสมเป็นหลักประกันเลยตรงนี้เพียงเป็นการอ้างความไว้วางใจที่เป็นการเสี่ยง ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังมีจุดน่าห่วงคือโทษอาญาที่มีนัยยะสำคัญที่ทำให้คนเกรงกลัว เช่น ไม่ยอมให้ตรวจค้น ยึดจับกุม บอกรหัสผ่านก็จะมีการถูกดำเนินโทษทางอาญา เเละที่น่ากลัวคือ กฎหมายยังบังคับไปถึงกลุ่มนิติบุคคล ซึ่งเป็นหุ้นส่วนบริษัทต่างๆ ต้องมีมาตรการป้องกัน ตรงนี้มองว่าเป็นการไปสร้างระบบป้องกันก่อนที่จะมีการกระทำผิดมากจนเป็นภาระที่ประเทศอื่นมองว่าเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนเเละนิติบุคคล อย่างในต่างประเทศถ้ามีความผิดเกิดขึ้นเขาถึงจับกุม เเต่
ร่างกฎหมายอันนี้กลับระมัดระวังคือ กำหนดให้มีเเผนป้องกันจนที่ว่าจะให้เกิดความผิดไม่ได้เลย ถ้าไม่ทำเเผนขึ้นมาก็จะมีโทษ ตรงนี้มันขัดกับตรรกวิทยา ส่งผลให้บริษัทที่ประกอบการผลิตเเอพพลิเคชั่นต่างๆ

“อย่าง สตาร์ตอัพในสหรัฐอเมริกา หรือภาคพื้นยุโรปที่เจริญก้าวหน้า เพราะได้สิทธิเสรีภาพในการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ผ่านเเอพพลิเคชั่น ซึ่งก็มีโอกาสถูกอาชญกรรมทางไซเบอร์ได้ ซึ่งเเม้จะมีความเสี่ยง เเต่เขาก็จะพยายามมีโปรเเกรมป้องกันที่พัฒนาขึ้นมาต่อต้านเเฮกเกอร์ที่เขาต้องพัฒนาอยู่เเล้ว เเต่ประเทศไทยไปมองว่าถ้าเขากระทำผิดได้ก็ไปห้ามเขาหมด พอไปห้ามนวัตกรรมใหม่ๆ พวกนี้มันก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาก็ต้องมีความเสี่ยงก่อนถึงค่อยพัฒนา เเบบนี้เท่ากับเราห้ามคิดห้ามอะไร เหมือนเป็นโรงเรียนกินนอน มันเป็นการบังคับให้คนไทยอยู่ในกรอบไม่ได้คิดนอกกรอบที่ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศกลายเป็นว่าตัวกฎหมายมันทำให้ประเทศไทยเหมือนนักเรียนสมัยโบราญที่ต้องท่องจำเท่านั้น การคิดนอกกรอบเเปลว่าไม่ดีต้องถูกทำโทษ เเละเมื่อเป็นเเบบนี้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของเราจะถดถอยลง การที่ผู้นำออกมาบอกว่านักเรียนต้องเรียน ไม่ต้องมีความคิดนอกกรอบในเรื่องอื่นไม่ให้มีความคิดทางการเมือง หรือนอกตำรา มันก็คือการปกครองเเบบโบราญ ไปยิ่งกว่าอยู่สมัยก่อนปี 2475 ซะอีก ความคิดที่ว่าจะต้องหวาดกลัวภัยไซเบอร์เหมือนกุ้งที่กลัวตัวงอขี้ขึ้นสมอง มันไม่ได้หลอกมันเป็นตัวขัดขวางอนาคตประเทศ” นายศรีอัมพร กล่าว

Advertisement

นายศรีอัมพรยังกล่าวต่อว่า ปัญหาเรื่องข้อมูลทางการค้ากฎหมายยังเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปยึดคอมพิวเตอร์ เเละข้อมูลทางความจำได้ ตนขอถามว่าข้อมูลทางการค้าของผู้ประกอบการที่ลงทุนในต่างประเทศหรือต่างประเทศ ใครจะมาไว้ใจได้อย่างไรว่า เจ้าหน้าที่จะไม่ทุจริต ตรงนี้เราต้องพูดกันตรงๆ เพราะข้อมูลทางการค้าที่เดิมมีเรื่องการล้วงโขมยกัน อย่างสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวหาว่าจีนมีการล้วงความลับทางการค้าเเละเทคโนโลยีโดยผ่านเครื่องมือสื่อสาร เช่น หัวเหว่ย ก็เลยมีการประกาศห้ามใช้เครื่องโทรคมนาคมสื่อสารของหัวเหว่ย ถามว่าขนาดเกิดปัญหาเเบบนั้นเเล้วเขาออกกฎหมายเเบบเราหรือไม่ ต้องตอบว่าไม่มีเขาเเค่ห้ามไมให้ใช้ เเต่ของเรากลับออกมาบังคับให้ทำระบบป้องกันไม่พอยังบังคับให้ต้องเปิดเผย เเละถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐมันเกิดทุจริตมันไปเอาความลับทางเทคโนโลยีเเล้วไปขายให้อีกบริษัทจะทำอย่างไร เเล้วที่บริษัทลงทุนไปหมื่นล้านเเสนล้านจะยอมหรือไม่ ก็จะกลายเป็นว่าประเทศไทยจะขาดโอกาสจากอุตสหกรรมไฮเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางการเเพทย์ หรือเทคโนโลยีชั้นสูงที่จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นในเมืองไทยเนื่องจากเขาไม่ไว้ใจว่าตัวกฎหมายของประเทศเเละเจ้าหน้ารัฐจะสามารถคุ้มครองหรือป้องกันความลับข้อมูลทางการค้าที่มีมูลค่าสูงมากได้เขาก็เลยไม่มาลงทุนเเละหันเหไปลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านที่เงื่อนไขดีเเละไม่มีความเสี่ยง

“ถ้าจะให้ผมประเมิณความคุ้มค่าของภัยไซเบอร์ที่เป็นห่วงกันกับความเสียหายทางการค้าที่คิดมูลค่าเป็นเงินมหาศาลเเละความเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่มีคุณค่าทางจิตใจเเละความเป็นมนุษย์ ถ้าเราไม่คุ้มครองที่ไม่อาจประเมินเป็นราคาได้ ประเทศไทยเราก็จะมีอันดับเรื่องการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพถูกจัดอยู่ในอันดับที่เเย่ลง ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ผมไม่เข้าใจว่าเราไปห่วงภัยไซเบอร์จนประเทศชาติถดถอย ไม่ใช่ถอยธรรมดาในขณะที่ประเทศอื่นไปข้างหน้ามีการพยายามส่งเสริมการค้า เเละยอมรับกติกาสากล สิทธิเสรีภาพของประชาชนมันต้องมาก่อน เเละความมั่นคงปลอดภัยของความลับของประชาชนเเละการค้าจะไม่ถูกล่วงละเมิดโดยง่าย” นายศรีอัมพรกล่าว

เมื่อถามว่าทางเเก้ไขหลัง สนช.ผ่านกฎหมายผู้พิพากษาอาวุโส ระบุว่า ขณะนี้เเทบจะไม่มีทางเเก้ไข เพราะมันเตรียมจะผ่านเป็นกฎหมายเเล้ว มันจะมีได้ก็หากว่ามีรัฐบาลใหม่ขึ้นมาเเล้วได้เห็นภัยของกฎหมาย ก็จะดำเนินการเเก้ไขกฎหมายด้วยการลดทอนอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ลดลงจึงจะทำได้ เเต่ก็ต้องอย่าลืมว่าการเเก้ไขกฎหมายเเต่ละฉบับนั้นทำได้ยาก ยิ่งเมื่อเราเข้าสู่การมีรัฐบาลปกติที่มาจากการเลือกตั้งที่ตะต้องมีฝ่ายค้านในรัฐบาลที่จะต้องมีการถกเถียงกัน การออกกฎหมายจะยากจะมีกฎหมายเข้าคิวกันบางเดือนอาจออกกฎหมายไม่ได้เลย อีกทั้งกฎหมายเเบบนี้มีความสำคัญการถกเถียงยังสูง

Advertisement

“เหตุที่ผมออกมาเพราะเราหวังดีต่อประเทศไทย ถ้าผมไม่ใส่ใจผมก็ไม่ต้องพูด ผมก็อยู่เฉยๆ ไม่เปลืองตัว ผมไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองเเละไม่ได้อยากออกสื่อ เเต่เราเป็นผู้พิพากษาที่ห่วงชาติ ถ้าเราเห็นข้อเสียเราก็ต้องบอก เพราะผมเป็นข้าราชการตุลาการที่ทำหน้าที่เป็นศาล ที่มีหน้าที่คุ้มครองดูเเลสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทุกประเทศในระบอบประชาธิปไตยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่คุ้มครองเสรีภาพประชาชนคือศาล ผมทำหน้าที่ของตุลาการที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นคือภารกิจที่สมบูรณ์ของศาล” ผู้พิพากษาอาวุโสย้ำ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image