“บิ๊กจิน”เปิดประชุมเวิร์คช็อป นักกฎหมายกลุ่มประเทศอาเซียน ถกปมกม.โอนตัวนักโทษ

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 29 เมษายน ที่โรงแรมเรอเนสซองซ์ กรุงเทพ ราชประสงค์ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมด้านกฎหมายอาเซียน : การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการโอนตัวนักโทษในอาเซียน โดยมีนายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวิทยา สุริยะวงค์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานด้านกฎหมายจากประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกอาเซียนประจ้าประเทศไทย หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม นักวิชาการและผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 เม.ย.

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวเป็นเวทีสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการหารือและวางแผนเกี่ยวกับแนวทางและสถานการณ์ในปัจจุบันของการโอนตัวนักโทษ ทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคจากมุมมองที่หลากหลายทั้งเชิงวิชาการและในการปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้การโอนตัวนักโทษจะส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระท้าผิดอันเป็นการยกระดับความร่วมมือในมิติทางอาญาของภูมิภาคและน้าไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยของสังคมอาเซียนตาม แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2025

ด้านนายวิศิษฏ์ กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวจะทำให้เห็นถึงรูปแบบความร่วมมือทางกฎหมายด้านการโอนตัวนักโทษในภูมิภาคที่เป็นไปได้ทั้งสนธิสัญญาแม่แบบในลักษณะเดียวกันกับสนธิสัญญาแม่แบบอาเซียนว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรืออนุสัญญาระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกที่เห็นชอบและมีความพร้อมในการดำเนินงาน ทั้งนี้บางประเทศยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโอนตัวนักโทษ จึงต้องมีการร่างกฎหมายภายใน บางประเทศอาจจะมีความแตกต่างดังนั้นการประชุมหารือร่วมกันอาจจะทำให้เกิดทางลัด การยอมรับข้อตกลงในอนุสัญญาฯ โดนคำนึงในการพิจารณาโอนตัวนักโทษได้จริง สำหรับนักโทษคดีใดบ้างที่ไม่สามารถโอนตัวได้นั้น ก็อาจจะมีอยู่บ้างในคดีทางการเมือง บ้างประเด็นแต่โดยหลักการแล้วจะต้องตกลงว่าเป็นประเด็นใดบ้าง ซึ่งตอนนี้ยังไม่ชี้ชัด

Advertisement

นายวิทยา กล่าวว่า สำหรับการประชุมครังนี้ เป็นการประชุมที่มีความสำคัญ ในกรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านกฎหมายและที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย ซึ่งกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้ประสานงานหลักในกรอบดังกล่าว ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในประเด็นนี้ ด้วยเห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมและผลักดันให้เกิดความร่วมมือในด้านการโอนตัวนักโทษในภูมิภาคอาเซียน ขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทยให้ห้วงที่เป็นประธานอาเซียนอีกด้วย

ทั้งนี้กิจกรรมหลักในการประชุมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน การเสวนาในหัวข้อ“International Experiences on Developing Legal Framework on TSP” ซึ่งเป็นการน้าเสนอประเด็นการพัฒนา กรอบกฎหมายด้านการโอนตัวนักโทษโดยมีผู้ร่วมเสวนาจากส้านักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่ง สหประชาชาติ (UNODC) กระทรวงการต่างประเทศ และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (2) การอภิปรายโต๊ะกลมในหัวข้อ “Advancing Partnership on TSP in ASEAN” ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมแบ่งปัน ประสบการณ์ บทเรียน ข้อท้าทาย และแนวปฏิบัติที่ดี รวมถึงแนวทางการดำเนินงานในอนาคตในเรื่องการโอนตัวนักโทษโดยมีผู้แทนร่วมนำเสนอจากสาธารรัฐฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และประเทศไทย และ (3) การศึกษาดูงาน ณ เรือนจำพิเศษธนบุรี ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับฟังการบรรยายจากกรมราชทัณฑ์และเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังต่างชาติในเรือนจำประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมจะได้นำเสนอผลการประชุมในครั้งนี้ต่อที่ประชุมครั้งต่อไป

Advertisement

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมราชทัณฑ์ประเทศไทยต้องดูแลนักโทษต่างชาติในเรือนจำประมาณ 15,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศอาเซียนต้องโทษคดีอาญา ไม่ร่วมกลุ่มผู้ต้องหาหลบหนีเข้าเมืองที่มีการผลักดันตามกฎหมาย

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image