ล่าสุด! เปิดระเบียบราชทัณฑ์ 16 ก.ค.63 ปรับคุณสมบัติ นักโทษเด็ดขาด ลากิจเผาศพ

ระเบียบราชทัณฑ์ล่าสุด! นช.ลากิจ ไปเผาศพ ปรับคุณสมบัติ ให้นักโทษชั้นกลาง ส่วนใหญ่ได้สิทธิ

จากกรณีปรากฏภาพนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้ต้องขังคดีบุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งถูกศาลฎีกา พิพากษาจำคุก 2 ปี 8 เดือน และเพิ่งถูกส่งตัวเข้าควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา เดินทางไปร่วมงานศพบิดา  ‘กรมราชทัณฑ์’ ปล่อยตัวชั่วคราว ‘เต้น’ ร่วมงานศพ ‘พ่อสำเนา’ เจ้าหน้าที่คุมเข้ม  และต่อทาง พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกกรมราชทัณท์ ออกมาระบุว่า เป็นไปตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ เรื่องการการลาของผู้ต้องขัง  ราชทัณฑ์เผย ‘ณัฐวุฒิ’ ออกจากคุก ร่วมงานศพพ่อ เป็นสิทธินักโทษตามระเบียบ ตามที่เสอนข่าวไปแล้วนั้น

สำหรับ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ 2560 หมวด 5 เรื่อง สิทธิ หน้าที่ ประโยชน์ และกิจการอื่นๆ เกี่ยวกับผู้ต้องขัง ในส่วนที่ 3 ได้ระบุถึง ประโยชน์ของผู้ต้องขัง มาตรา 52 นักโทษเด็ดขาดคนใดแสดงให้เห็นว่ามีความประพฤติดี มีความอุตสาหะ ความก้าวหน้าในการศึกษา และทาการงานเกิดผลดี หรือ ทาความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ อาจได้รับประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด  (4) ระบุว่า ลาไม่เกินเจ็ดวันในคราวหนึ่ง โดยไม่นับรวมเวลาที่ต้องใช้ในการ เดินทางเข้าด้วย

เมื่อมีความจำเป็นเห็นประจักษ์เกี่ยวด้วยกิจธุระสำคัญหรือ กิจการในครอบครัว แต่ห้ามมิให้ออกไปนอกราชอาณาจักรและต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมราชทัณฑ์ ระยะเวลาที่อนุญาตให้ลานี้มิให้หักออกจากการคำนวณกำหนดโทษ

ถ้านักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับอนุญาต ให้ลาออกไปไม่กลับเข้าเรือนจำภายในเวลาที่กำหนดเกินกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง ให้ถือว่านักโทษเด็ดขาดผู้นั้นหลบหนีที่คุมขังตามประมวลกฎหมายอาญา

Advertisement

อย่างไรก็ตาม กรมราชทัณฑ์ได้ออกระเบียบเรื่องแนวทางการปฏิบัติในการพิจารณาอนุญาตให้นักโทษเด็ดขาดลากิจ เฉพาะการลาไปประกอบพิธีเกี่ยวกับงานศพ โดยมีหลักเกณฑ์ในการลากิจของนักโทษเด็ดขาด

 

Advertisement

สำหรับระเบียบว่าด้วยการลาของนักโทษเด็ดขาดนั้น เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนลงนามล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2563 ที่ผ่านมา ลงนามโดย พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ โดยระเบียบฉบับดังกล่าวนั้นมีการปรับคุณสมบัตินักโทษเด็ดขาด ที่จะขออนุญาตลากิจ เข้าเงื่อนไขที่จะสามารถขอลาไปร่วมพิธีฌาปนกิจศพ

 

จากเดิมต้องเป็นนักโทษ ชั้นดีขึ้นไป ปรับเป็น นักโทษชั้นกลางขึ้นไป และไม่กำหนดโทษว่าเหลือโทษจำต่อไปควรอยู่ในข่ายการพักการลงโทษ และอีกข้อคือตัดคำว่า ไม่มีคดีอายัด.

ทั้งนี้ เนื่องจากกรมราชทัณฑ์เห็นว่าปัจจุบันนักโทษเด็ดขาดชั้นกลางจำนวนมากที่ไม่ได้รับประโยชน์การลา ตามระเบียบดังกล่าว ดังนั้นเพื่อให้เป็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างมีมนุษยธรรม จึงมีการแก้ไขระเบียบกรมราชทัณฑ์​

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image