‘กำไลอีเอ็ม’พันธนาการ(กึ่งอิสระ) นอกเรือนจำ ลดคนล้นคุก ลดความแออัด

‘กำไลอีเอ็ม’ พันธนาการ(กึ่งอิสระ) นอกเรือนจำ

ลดคนล้นคุก ลดความแออัด

เปิดตัวกันไปแล้วสำหรับ ศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (Electronic Monitoring Control Center หรือ EMCC)” ภายใต้แนวคิด “ให้โอกาส คืนอิสรภาพ เพิ่มความมั่นใจ สู่สังคมปลอดภัย” โดยใช้ระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้อธิบายถึงคอปเซ็ปแล้วแนวคิด การใช้เครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ กับการควบคุม ในยุคนี้เพื่อแก้ปัญหา นักโทษ ล้นคุก อย่างน่าสนใจ ว่า

นโยบายสำคัญของกระทรวงยุติธรรมอีกประการหนึ่ง มุ่งเน้นการลดความแออัดในเรือนจำ และลดการใช้การคุมขังในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการยุติธรรม  กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่กลายเป็น ตัวขับเคลื่อน นโยบาย ที่นำมาสู่การปฏิบัติใช้งานได้จริง รวมทั้งต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมไปควบคู่กัน

สำหรับผู้ที่จะเข้าข่าย ใช้กำไลอีเอ็ม นั้นกระทรวงยุติธรรม จะมีคณะอนุกรรมกรรมการขึ้นมาพิจารณา การพักการลงโทษ กระทรวงยุติธรรม ได้กำหนดแนวทางไว้เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในความปลอดภัยให้กับสังคม โดยคำนึงถึงความรุนแรงของการกระทำผิดและโทษที่ควรได้รับ การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวนักโทษ ต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้ที่จะได้รับการพักโทษ โดยดูจากการพัฒนาพฤตินิสัยที่ต้องเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี

จึงจะได้รับการพักโทษ ซึ่งในกรณีที่ไม่มีผู้อุปการะดูแลก็จะเป็นปัญหา รวมถึงความคิดเห็นของคู่กรณี ที่หากพักโทษออกมาแล้ว คู่กรณีที่อยู่ด้านนอกไม่เห็นด้วย ก็ยังต้องพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการก่อน หรือแม้แต่ออกมาแล้วอยู่ไม่ได้เพราะไม่มีใครดูแลเลี้ยงดู ดังนั้นต้องคำนึงถึงความเรียบร้อยและไม่เป็นภัยกับสังคม ซึ่งนักโทษที่ใช้กำไล EM จะอยู่ในระดับปานกลาง คดีลักทรัพย์ ฉ้อโกงบุกรุก ทำร้ายร่างกาย หรือคดีที่ไม่ได้ร้ายแรง ก็จะได้รับโอกาสพักการลงโทษ ติกำไล EM เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการจำคุก

Advertisement

เงื่อนไขของการพักโทษ ต้องจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 สำหรับชั้นเยี่ยม ชั้นกลาง 1 ใน 2 และชั้นโทษหนัก 2 ใน 3 ซึ่งทุกขึ้นทุกตอนมีคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณา และบางรายโทษหนัก แต่ จำมาแล้ว 2 ใน 3 สุดท้ายก็ไม่สามารถ พักโทษ ก้ได้เนื่องจากเป็นคดีที่สังคมยังรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย หรือเคยต้องโทษ มาแล้ว หลายครั้งกระทำความผิดซ้้ำ กลุ่มพวกนี้ก็ไม่ควรได้รับการพักโทษ

สมศักดิ์ ยังบอกว่า ไม่อยากให้ไปจำกัดหรือตั้งข้อแม้ว่าการใช้กำไล อีเอ็ม ต้องใช้กับกลุ่มนักโทษการเมือง หรือไม่ใช่คดีการเมือง แต่อยากให้มองว่ากลุ่มคดีแบบไหน หากพักโทษปล่ยอตัวออกจากเรือนจำมาแล้ว เป็นภัยต่อสังคม หรือไม่ สังคมรู้ปลอดภัยหรือไม่ อีกทั้งยังอยากย้ำว่า การพักโทษ ไม่ใช่การ พ้นโทษ เพราะกลุ่มคนเหล่าจะต้องถูกมอนิเตอร์ ตลอดเวลาที่ติดกำลไลอีเอ็ม

Advertisement

และยังต้องมารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ ตามเวลาที่กำหนด การใช้กำไลอีเอ็มกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะผู้ได้รับการพักการลงโทษนั้น ก่อนการปล่อยตัวผู้ต้องขัง ต้องผ่านโปรแกรมที่เข้มข้น เพื่อพัฒนาพฤตินิสัย จนกระทั่งมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ถึงเข้าสู่กระบวนการพิจารณาวินิจฉัยพักการลงโทษ ซึ่งจะพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ผู้อุปการะที่จะให้การดูแล ชุมชนที่จะกลับไปพักอาศัย ตลอดจนความเห็นของคู่กรณีหรือผู้เสียหาย ซึ่งหากเข้าเกณฑ์ จะมีโอกาสในการพักการลงโทษและติดอุปกรณ์กำไล EM

“การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะผู้ได้รับการพักการลงโทษนั้น ก่อนการปล่อยตัวผู้ต้องขัง ต้องผ่านโปรแกรมที่เข้มข้น เพื่อพัฒนาพฤตินิสัย จนกระทั่งมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ถึงเข้าสู่กระบวนการพิจารณาวินิจฉัยพักการลงโทษ ซึ่งจะพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ผู้อุปการะที่จะให้การดูแล ชุมชนที่จะกลับไปพักอาศัย ตลอดจนความเห็นของคู่กรณีหรือผู้เสียหาย ซึ่งหากเข้าเกณฑ์ จะมีโอกาสในการพักการลงโทษและติดอุปกรณ์กำไลอีเอ็ม ผมขอย้ำว่า เรื่องการพักโทษ จะไม่ใช่กับนักโทษอุกฉกรรจ์ ซึ่งการพักโทษเป็นหลักสากล ที่สามารถปล่อยตัวนักโทษไปได้ก่อน

“ผมอยากให้สังคมเชื่อมั่นการใช้กำไลอีเอ็ม ของกระทรวงยุติธรรม ควบคุมผู้ต้องขังนั้นจะก่อประโยชน์ให้กับชุมชน เนื่องจากสามารถควบคุม และติดตามผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษ ซึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขในหลายข้อท ทั้งการ ห้ามออกนอกเขตกำหนด ห้ามเข้าไปในเขตบ้านผู้เสียหาย ห้ามออกนอกบ้านเวลากลางคืน ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้

คณะอนุกรรมการพักโทษจะกำหนดให้คณะกรรมการควบคุมความประพฤติดูแลและรายงานตัว เพื่อยืนยันว่า จะมีอาชีพทำงานและอยู่ในสังคมอย่างปกติ แต่การดำเนินการต่างๆจะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ต้องอาศัยบุคคลไปเฝ้าดูแต่ปัจจุบันกำไล EM สามารถตรวจสอบดูได้ว่า บุคคลดังกล่าวอยู่ที่ใด โดยผู้ที่ปล่อยตัวในการพักโทษทุกคน ยกเว้นกรณีที่ป่วยเจ็บจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้”

‘ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับการพักโทษจะต้องติดอุปกรณ์อีเอ็มเป็นเวลา 1 ปี หลังจากการปล่อย ฉะนั้น 1 ปี เป็นระยะเวลาที่เสี่ยงที่สุดในการทำความผิดซ้ำ คนที่ปล่อยไปตั้งแต่อุปกรณ์นี้และมอนิเตอร์จากศูนย์ EM เพื่อควบคุมความประพฤติ หาก 1 ปี ไม่เพียงพอทางกรมควบคุมความประพฤติก็สามารถติดเพิ่มเติมได้ เชื่อว่า การติดกำไล EM จะลดโอกาสในการทำความผิดซ้ำคนที่ปล่อยจากการพักโทษลงได้อีก ปัจจุบันอัตราการกระทำความผิดซ้ำของผู้ที่ได้รับการพักโทษอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น ดังนั้น จึงจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กลุ่มนี้ได้ออกไปข้างนอก และสังคมก็มีความปลอดภัย’

เบื้องต้นนั้น กระทรวงยุติธรรม จึงได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ในการใช้อุปกรณ์ 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มผู้ถูกคุมความประพฤติ ซึ่งศาลให้รอการลงโทษจำคุก 2. กลุ่มนักโทษเด็ดขาด ที่ได้รับการพักการลงโทษ และลดวันต้องโทษจำคุก 3.กลุ่มผู้รอการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ตามพ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ปี 2545 ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว กับผู้กระทำผิดทั้ง 3 กลุ่ม ได้ปีละประมาณ 87,700 ราย

สำหรับศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว ดูแลโดยกรมคุมประพฤติ เป็นศูนย์กลาง เพื่อควบคุมติดตามกลุ่มเป้าหมาย ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข รวมถึงสามารถบริหารจัดการ หากมีผู้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือ จงใจฝ่าฝืนเงื่อนไข ที่กำหนดได้อย่างทันท่วงที โดยจะสามารถป้องกันและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ที่เป็นภัยต่อประชาชนและสังคม ซึ่งตน ขอให้การดำเนินการทุกระบบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยประสบความสำเร็จตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้

นายสมศักดิ์ ยังกล่าวถึง อีกแนวทางที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อความปลอดภัยของของ สังคม ก็คือ การติดตามกลุ่ม นักโทษคดีร้ายแรงอุจกรรจ์ กระทำผิดซ้ำ ที่กำลังจะพ้นโทษ โดยจะเสนอให้ทางสำนักงานอัยการสูงสูดช่วยแก้ปัญหา โดยกฎหมายกักกัน ซึ่งทางอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง ใช้กำไลอีเอ็ม นอกเหนือจากการกักกัน เพื่อติดตามคนกลุ่มนี้หลังจากพ้นกำหนดโทษ

ซึ่งกลุ่มนักโทษกลุ่มนี้ ตามข้อมูล 1 ปี จะมีประมาณ 30 กว่าราย เพื่อความปลอดภัยของสังคม สำนักอัยการจะช่วยเราดูแล เป็นการปกป้องสังคม ถ้าหากว่า สังคมรู้ว่า ผู้กระทำผิดหรือฆาตกรจิตทรามไปตรงไหนก็จะมีคนตาย ใช้มาตรการสังคมช่วยกันดูแล แต่การที่จะใช้มาตรการสังคมดูแลนั้น ต้องได้รับการอนุญาตให้กักกัน ซึ่งเราทำไม่ได้เลย แต่วันนี้ท่านสำนักงานอัยการแก้ปัญหาให้เราได้

นายสมศักดิ์ ยังย้ำว่า นักโทษคดีร้ายแรง ที่อัยการขอศาลให้มีการกักกัน หลังจากพ้นโทษแล้ว นอกจากจะนำไปกักกันในสถานที่กำหนดแล้วยังจะต้องใส่กำไล EM เพื่อความปลอดภัยของสังคม ส่วนข้อกังวลเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น คงไม่มีข้อกังวล เนื่องจากศาลได้อนุมัติแล้ว อย่างไรก็ตามนักโทษร้ายแรงมีอยู่ปีละประมาณ 30 คน โดยขณะนี้ยังไม่มีนักโทษกลุ่มร้ายแรงที่ติดกำไล EM แต่อัยการได้รับเรื่องนี้ไปดำเนินการ กระทรวงยุติธรรมพร้อมเดินหน้า เพื่อความปลออดภัยของสังคม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image