เหยี่ยวถลาลม : ‘อัยการ’ จงตั้งสติ

ในการกล่าวปาฐกถาเปิดสัมมนา วงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุดท่านทบทวนให้ฟังว่า ภารกิจอัยการ 3 ประการคือ 1.อำนวยความยุติธรรม 2.คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และ 3.รักษาผลประโยชน์ของรัฐนั้นยังคงมั่นคงแน่นอน

หลายทศวรรษแล้วที่องค์กรอัยการได้ถอยตัวออกมาจากการอยู่ใต้ชายคา ฝ่ายบริหารŽ พร้อมกับเรียกตัวเองว่าเป็น องค์กรกึ่งตุลาการŽ

เพื่อประโยชน์แก่ระบบยุติธรรมอัยการจำเป็นต้องมี ‘อิสระ’ !

การดำเนินคดีอาญาของ ‘พนักงานสอบสวน’ ใช้หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย’

Advertisement

เมื่อมีการแจ้งความร้องทุกข์ ตำรวจต้องดำเนินคดี จะเป็นอื่นไปไม่ได้ ต้อง ‘สอบสวน’ รวบรวมพยานหลักฐาน ติดตามจับตัวผู้ต้องหามาส่งให้อัยการ

ส่วนการดำเนินคดีอาญาของ ‘อัยการ’ นั้น ใช้หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ’

ความหมายก็คือ แม้ตำรวจจะสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน พร้อมนำตัวผู้ต้องหาส่งมาให้ครบถ้วน แต่ในบางกรณีอัยการก็
ไม่จำเป็นต้อง ‘สั่งฟ้อง’

Advertisement

หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ’ นี้จะมี ‘บทบาทสำคัญ’ สำหรับระบบยุติธรรมถ้าใช้ถูก ใช้เป็น !!

อัยการจะไม่ฟ้องก็ได้ ถ้าเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์กับสาธารณะ หรือถอนฟ้องคดี
ก็ได้

เพียงแต่ ‘ดุลพินิจ’ นั้นต้องไม่ใช่ ‘ช่อง’ ทำมาหากิน หรือถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่บุคคลจนก่อให้เกิดปัญหา ‘ความไม่เสมอภาค’ ในการบังคับใช้กฎหมาย

องค์กรอัยการเป็นอิสระมาหลายทศวรรษแล้ว ประชุมสัมมนากันมามากแล้ว ได้กำหนด ‘เงื่อนไข’ การใช้ ‘ดุลพินิจ’ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมกันเรียบร้อยแล้วหรือยัง

อย่าให้คำว่า ‘ประชาชนเป็นศูนย์กลาง’ เป็นแค่ยาหอม

ระบบความคิดของบุคลากรในองค์กรต้องมีความเป็น ‘เสรีนิยม’ ไม่ใช่เจ้าขุนมูลนาย

จะประชุมสัมมนากันอีกสักกี่ครั้ง หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ’ ของอัยการก็ไม่ก่อประโยชน์กับชาวบ้าน ถ้าอัยการพาตัวเองก้าวเดินออกมาจากร่มเงาของ ‘อำนาจรัฐ’

ยกตัวอย่างจากสถานการณ์เวลานี้ เมื่อตำรวจจับกุมผู้ชุมนุมที่ต่อต้านผู้นำและรัฐบาล ด้วยข้อหาต่างๆ จิปาถะจาก ป.อาญา พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ร.บ.รักษาความสะอาด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะนั้น ‘อัยการ’ พิเคราะห์ปรากฏการณ์นี้อย่างไร

‘ระบบความคิดแบบเสรีนิยม’
จะเข้าถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกด้วยสันติวิธี

ส่วน ‘ระบบความคิดแบบอำนาจนิยม’ จะเน้นที่ ‘ความสงบเงียบงัน’ ปราศจากเสียง หรือที่เรียกกันว่า ‘ก่อความวุ่นวาย’

ถ้า ‘อัยการ’ ใช้หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ’ ถูกทางจริงๆ คดีจำพวกนี้จะไม่ถูกส่งขึ้นไปให้รุงรังในชั้นศาล !?!! ‘อัยการ’จงตั้งสติ

ในการกล่าวปาฐกถาเปิดสัมมนา วงศ์สกุล
กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุดท่านทบทวนให้ฟังว่า ภารกิจอัยการ 3 ประการคือ 1.อำนวยความยุติธรรม 2.คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และ 3.รักษาผลประโยชน์ของรัฐนั้นยังคงมั่นคงแน่นอน

หลายทศวรรษแล้วที่องค์กรอัยการได้ถอยตัวออกมาจากการอยู่ใต้ชายคา ฝ่ายบริหารŽ พร้อมกับเรียกตัวเองว่าเป็น ‘องค์กรกึ่งตุลาการ’

เพื่อประโยชน์แก่ระบบยุติธรรมอัยการจำเป็นต้องมี ‘อิสระ’ !

การดำเนินคดีอาญาของ ‘พนักงานสอบสวน’ ใช้หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย’

เมื่อมีการแจ้งความร้องทุกข์ ตำรวจต้องดำเนินคดี จะเป็นอื่นไปไม่ได้ ต้อง ‘สอบสวน’ รวบรวมพยานหลักฐาน ติดตามจับตัวผู้ต้องหามาส่งให้อัยการ

ส่วนการดำเนินคดีอาญาของ ‘อัยการ’ นั้น ใช้หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ’

ความหมายก็คือ แม้ตำรวจจะสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน พร้อมนำตัวผู้ต้องหาส่งมาให้ครบถ้วน แต่ในบางกรณีอัยการก็
ไม่จำเป็นต้อง ‘สั่งฟ้อง’

หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ’ นี้จะมี ‘บทบาทสำคัญ’ สำหรับระบบยุติธรรมถ้าใช้ถูก ใช้เป็น !!

อัยการจะไม่ฟ้องก็ได้ ถ้าเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์กับสาธารณะ หรือถอนฟ้องคดี
ก็ได้

เพียงแต่ ‘ดุลพินิจ’ นั้นต้องไม่ใช่ ‘ช่อง’ ทำมาหากิน หรือถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่บุคคลจนก่อให้เกิดปัญหา ‘ความไม่เสมอภาค’ ในการบังคับใช้กฎหมาย

องค์กรอัยการเป็นอิสระมาหลายทศวรรษแล้ว ประชุมสัมมนากันมามากแล้ว ได้กำหนด ‘เงื่อนไข’ การใช้ ‘ดุลพินิจ’ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมกันเรียบร้อยแล้วหรือยัง

อย่าให้คำว่า’ประชาชนเป็นศูนย์กลาง’ เป็นแค่ยาหอม

ระบบความคิดของบุคลากรในองค์กรต้องมีความเป็น ‘เสรีนิยม’ ไม่ใช่เจ้าขุนมูลนาย

จะประชุมสัมมนากันอีกสักกี่ครั้ง หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ’ ของอัยการก็ไม่ก่อประโยชน์กับชาวบ้าน ถ้าอัยการพาตัวเองก้าวเดินออกมาจากร่มเงาของ ‘อำนาจรัฐ’

ยกตัวอย่างจากสถานการณ์เวลานี้ เมื่อตำรวจจับกุมผู้ชุมนุมที่ต่อต้านผู้นำและรัฐบาล ด้วยข้อหาต่างๆ จิปาถะจาก ป.อาญา พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ร.บ.รักษาความสะอาด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะนั้น ‘อัยการ’ พิเคราะห์ปรากฏการณ์นี้อย่างไร

‘ระบบความคิดแบบเสรีนิยม’
จะเข้าถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกด้วยสันติวิธี

ส่วน ‘ระบบความคิดแบบอำนาจนิยม’ จะเน้นที่ ‘ความสงบเงียบงัน’ ปราศจากเสียง หรือที่เรียกกันว่า ‘ก่อความวุ่นวาย’

ถ้า’อัยการ’ ใช้หลัก ‘ดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ’ ถูกทางจริงๆ คดีจำพวกนี้จะไม่ถูกส่งขึ้นไปให้รุงรังในชั้นศาล !?!!

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image