เปิดเบื้องลึกดีเอสไอ งานออกรัวๆ หมายจับน้องรมต.- แจ้งข้อหาอดีตรมต.-นักการเมือง

เปิดเบื้องหลังดีเอสไอ งานออกรัวๆ ออกหมายจับน้องรมต.- แจ้งข้อหานักการเมือง

กำลังมาร้อนแรงอีกครั้ง สำหรับกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) หลังจากม่ีการปรับย้าย อธิบดีดีเอสไอ คดีใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลดัง นักการเมือง และอดีตรัฐมนตรี

เริ่มต้นปี วันที่ 4 ม.ค. 2567 กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ออกหมายเรียก นายสุนทร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปราจีนบุรี  กับพวก รวม 11 คน มารับทราบข้อกล่าวหา ฐานร่วมกันบุกรุกเข้ายึดถือ ครอบครอง ก่อสร้าง แผ้วถาง ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ต่อมาวันที่ 11 มกราคม 2564  พ.ต.ต. ณฐพล ดิษยธรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคดีจับกุมขบวนการนำเข้าหมูเถื่อน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)

Advertisement

นำกำลังเจ้าหน้าที่ ดีเอสไอ เข้าตรวจค้น บริษัท โกลเด้น ชาวเวอร์ เทรดดิ้ง จำกัด เเขวงเเสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นของ เฮียเก้า หรือ นายหลี่ เซิ่งเจียว น้องชายต่างมารดานักการเมืองชื่อดัง และ ในฐานะนายกสมาคมการค้าแลกเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยเอเชีย

และในการปฏิบัติการตรวจค้นภายในบ้านพักของนายหลี่ พบภาพถ่ายที่เจ้าตัวร่วมบันทึกกับข้าราชการตำรจระดับสูง อดีตนายกรัฐมนตรี อีกหลายคน

Advertisement

อีกทั้งวันเดียวกันคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ มีมติร่วมกันให้กล่าวหากับอดีตข้าราชการฝ่ายการเมืองระดับรัฐมนตรี 2 คน และผู้บริหารระดับสูง กระทรวงแรงงาน 2 คน คดีนี้ดีเอสไอได้รับหนังสือจากกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องแรงงานไทย เป็นเหยื่อค้ามนุษย์ในสาธารณรัฐฟินแลนด์

โดยกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ ได้ให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยในสาธารณรัฐฟินแลนด์ที่เดินทางไปทำงานเก็บผลไม้ป่าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในการเดินทางกลับประเทศไทย

 

ต่อมาทางการสาธารณรัฐฟินแลนด์ได้ส่งพยานหลักฐานสำคัญตามที่ทางการไทยร้องขอให้ดีเอสไอ โดยจากการสอบสวนของคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมกับพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด และพยานหลักฐานที่ได้จากความร่วมมือระหว่างประเทศกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสาธารณรัฐฟินแลนด์

ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีขบวนการสมคบระหว่างนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และบุคคลธรรมดา ร่วมกันเรียกรับผลประโยชน์จากบริษัทผู้ประสานงานฝั่งไทยที่ทำหน้าที่ประสานงานกับบริษัทที่จะนำเข้าแรงงานของสาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นค่า “หัวคิว” หรือค่าดำเนินการเฉลี่ยรายละ 3,000 บาท โดยไม่มีสิทธิเรียกเก็บตามกฎหมาย ซึ่งบริษัทประสานงานฝั่งไทยได้นำมาเรียกเก็บจากคนงานที่ไปทำงานอีกชั้นหนึ่ง นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายตามจริง

เรียกได้ว่าช่วงนี้ม่ีคดีสำคัญออกมาให้เห็นความเคลื่อนไหว ของดีเอสไอที่เข้าไป มีบทบาทในคดีที่นักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง เหมือนเมื่อครั้งก่อนที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เคยดำเรงตำแหน่ง อธิิบดีในช่วงเวลาขณะนั้น ที่ต้องยอมรับว่า บทบาทของดีเอสไอ ในยุคนั้นเป็นที่กล่าวถึง

ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายของ พ.ต.อ.ทวี ที่ต้องการให้ดีเอสไอกลับมา สร้างความเชื่อมั่น ในการทำงานให้กับองค์กร อีกทั้งยังมีรายงานว่า ช่วงนี้ดีเอสไอ กำลังพิจารณา หาบุคคล มาดำรงตำแหน่ง อธิบดีดีเอสไอคนใหม่

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image