“ดีเอสไอ”ลุยนายทุนรุกป่าสงวน เข้าค้อ – เพชรบูรณ์ กว่า 700 ไร่ ดำเนินคดี 15 ราย 6 จนท.รัฐเอี่ยว

พ.ต.ท.ศักกพล สุขปาน รองผู้บัญชาการสำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และพ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.ศูนย์บริหารคดีพิเศษ ในฐานะรองโฆษก ดีเอสไอ ร่วมกันแถลงผลเกี่ยวกับการปราบปรามการกระทำความผิดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ กว่า 700 ไร่

“ดีเอสไอ”ลุยนายทุนรุกป่าสงวน เข้าค้อ – เพชรบูรณ์ กว่า 700 ไร่ ดำเนินคดี 15 ราย 6 จนท.รัฐเอี่ยว

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 มี.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.ศักกพล สุขปาน รองผู้บัญชาการสำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และพ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.ศูนย์บริหารคดีพิเศษ ในฐานะรองโฆษก ดีเอสไอ ร่วมกันแถลงผลเกี่ยวกับการปราบปรามการกระทำความผิดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลใ้นโยบายในการปราบปราบเรื่องนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งเป็นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และดีเอสไอด้วย

พ.ต.ต.วรณัน กล่าวว่า สำหรับเรื่องที่ 1 จากกรณีมีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ ในพื้นที่จ.เพชรบูรณ์ สืบเนื่องจากปี 2547-2548 มีกลุ่มนายทุนประมาณ 8 คน จากนอกพื้นที่มีความสนใจที่ดินในพื้นที่ภาคเหนือหรือพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมองว่าต้องการนำพื้นที่ตรงนี้มาปลูกยางพารา จึงได้มีการติดต่อกับอดีตกำนันในพื้นที่บริเวณ อ.เค้าค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งมีการนำที่ดินที่มีหลักฐานการเสียภาษีบำรุงพื้นที่ หรือ ภบท.5 จากราษฎรในพื้นที่ต.ศิลา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ และได้ติดต่อซื้อขายที่ดิน โดยทำเป็นหนังสือสัญญาและวางมัดจำเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2548 เมื่อซื้อที่ดินแล้วผู้ต้องหาทั้ง 8 คน จึงเข้าครอบครอง แผ้วถางพื้นที่และทำประโยชน์ในที่ดินด้วยการปลูกยางพารา

12884501_1063494837045380_1686850771_n

Advertisement

พ.ต.ต.วรณัน กล่าวต่อว่า ต่อมาปลายปี 2548 จ.เพชรบูรณ์ออกประกาศจ.เพชรบูรณ์ ลงวันที่ 19 พ.ย. 2548 เรื่องกำหนดท้องที่ที่จะทำการและวันที่เริ่มต้นเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ผู้ต้องหาที่ 1-5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐได้รับคำสั่งจากกรมที่ดินให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานเดินสำรวจในโครงการดังกล่าว และดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้กับผู้ที่ครอบครองที่ดินทั้ง 8 ราย จนสำเร็จ เป็นโฉนดที่ดิน 25 แปลง เนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ จากผลการสอบสวนของดีเอสไอพบว่า โฉนดที่ดินทั้ง 25 แปลง มีการออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คือ 1.อยู่ในพื้นที่เขตเขาหรือภูเขา หรือปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขา 40 เมตร ทุกแปลง และอยู่บนพื้นที่ที่มีความลาดชันเกินร้อยละ 35 เกือบทุกแปลง ยกเว้นโฉนดที่ดินเลขที่ 27430

รุกป่าสวงนเพชรบูรณ์

2.โฉนดที่ดินบางส่วนไปอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และ 3.จากผลการอ่าน แปล ตีความ และวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศในช่วงปี 2496, 2510, 2527, 2539 และ 2545 พบที่ดินแปลงเกิดเหตุ 14 แปลง ออกทับลำห้วยและทางสาธารณะปะโยชน์ และในปี 2497 มีสภาพเป็นป่าผลัดใบทั้งแปลง ไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์และบางแปลงมีร่องรอยการทำประโยชน์แต่ออกโฉนดเกินกว่าพื้นที่ทำประโยชน์ ทางดีเอสไอจึงมีการดำเนินคดีเป็นคดีพิเศษกับผู้ต้องหา 8 ราย และมีเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นผู้เดินสำรวจและนำไปสู่การออกโฉนดที่ดินมิชอบอีก 6 ราย อย่างไรก็ตาม สำหรับการสอบสวนในคดีนี้ถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว

Advertisement

12899836_1063494603712070_1513014212_n

พ.ต.ต.วรณัน กล่าวด้วยว่า สำหรับเรื่องที่ 2 จากกรณีมีผู้ร้องเรียนว่ามีการปลูกสร้างรีสอร์ทในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาปางก่อ และป่าวังชมภู อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ โดยพื้นที่ดังกล่าวเกิดขึ้นนื่องมาจากความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ทางการเมืองในช่วงปี 2508 ต่อมาเมื่อเหตุการณ์สงบลงรัฐบาลได้จัด เป็นกองอำนวยการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก ซึ่งมีงานหลักก่อสร้างนนลาดยาง และมีการกำหนดเปิดพื้นที่ป่าข้างทางข้างละ 1 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ของกลุ่มที่เห็นต่างและต่อมาก็ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่พื้นที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่จัดสรรดังกล่าว

พ.ต.ต.วรณัน กล่าวด้วยว่า แต่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ มีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ ซึ่งคำว่าใช้ประโยชน์ร่วมกันได้หมายความว่าต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ร่วมกัน แต่ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบของดีเอสไอพบว่า บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่นำมาสร้างเป็นรีสอร์ท ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ดังนั้น ดีเอสไอจึงได้สอบสวนดำเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง 7 ราย ท้ังนี้ ดีเอสไอได้รับเป็นคดีพิเศษ 7 คดี เนื้อที่รวมประมาณ 20 ไร่ ปัจจุบันได้ดำเนินการเสร็จแล้ว 5 คดี โดยมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทุกราย นอกจากนี้ สำหรับการดำเนินการกับผู้กระทำผิดที่มีการปลูกสร้างรีสอร์ทนั้น ดีเอสไอจส่งเรื่องให้กรมป่าไม้พิจารณารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่อไป ส่วนเนื้อที่อีก 130 ไร่ จะได้ร้องทุกข์กล่าวโทษกับ สภ.เขาค้อ ให้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

12721947_1063494850378712_1685938568_n

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image