ถอดรหัส ร่างพ.ร.บ.ตำรวจฯ ยุคปฏิรูป เปิดช่องร้อง’นาย’

หมายเหตุ – สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ…. เกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ การพิจารณาบำเหน็จความชอบเลื่อนเงินเดือนและค่าตอบแทน ที่นำเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ให้เป็นองค์กรกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ตำรวจ และยกเลิกอำนาจการคัดเลือกแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ให้เป็นองค์กรกำหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชา รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดังนี้

มาตรา 17 ให้ ก.ต.ช.ประกอบด้วย (1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ (2) รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ (3) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน ซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม (1) (2) และ (3) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้บัญชาการหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานแผนยุทธศาสตร์และผู้บัญชาการหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคล เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา 18 ให้ ก.ต.ช.มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ออกระเบียบ ประกาศ หรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ วิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ และการพัฒนาระบบงานตำรวจให้เป็นไปตามแบบแผน นโยบายและยุทธศาสตร์ที่ ก.ต.ช.กำหนด (2) เสนอแนะให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 6 วรรคสอง (3) ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตรวจสอบการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ (4) กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกองบัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดและราชการส่วนท้องถิ่น

(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.ต.ช.มอบหมาย (6) ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ การป้องกันอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อยและการรักษาความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน ในการนี้ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการตำรวจในระดับพื้นที่ (7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช. มาตรา 21 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 17(4) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

Advertisement

มาตรา 30 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.ตร.Ž ประกอบด้วย (1) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ (2) เลขาธิการ ก.พ. จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง (3) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการเลือกตามมาตรา 35 จำนวน 6 คน เว้นแต่ในกรณีที่มีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการข้าราชการตำรวจตาม (2) เพิ่มขึ้น ก็ให้มีกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีกตามจำนวนของรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่เพิ่มขึ้นนั้น

(4) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นและไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจจำนวน 2 คน ซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม (3) ให้ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นเลขานุการ ก.ตร. และรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ตร.

มาตรา10 (11) พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ มาตรา 32 การแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจต้องเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม โดยให้ ก.ตร.ออกกฎ ก.ตร.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจเพื่อประโยชน์ของทางราชการไว้ให้ชัดเจนแน่นอน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ผู้ใดใช้อำนาจ หรือกระทำการโดยมิชอบที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือกระบวนการแต่งตั้ง โดยคำนึงถึงความอาวุโส ประวัติการรับราชการ ผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติและความรู้ความสามารถประกอบกัน เพื่อให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของบุคคลใด มีประสิทธิภาพและภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน รวมทั้งสามารถเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในหน่วยงานที่สังกัด

Advertisement

มาตรา 33 กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา 30(3) และ (4) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 20 สำหรับกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30(3) ต้องเป็นผู้ซึ่งเคยรับราชการตำรวจในตำแหน่งตั้งแต่

ผู้บัญชาการหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป แต่ต้องเป็นผู้ซึ่งพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกิน 1 ปี และต้องไม่กลับเข้ารับราชการตำรวจ มาตรา 34 กรรมการข้าราชการตำรวจจะเป็นกรรมการใน ก.ต.ช.ในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาตรา 35 การเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา 30(3) ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้เลือก

มาตรา 36 การเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30(3) ให้ประธาน ก.ตร.รับสมัครบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วจัดส่งบัญชีรายชื่อบุคคลดังกล่าว โดยเรียงลำดับตามตัวอักษรไปยังผู้มีสิทธิเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 35 ก่อนวันเลือกตั้งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน มาตรา 37 ในการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา 30(3) ให้ผู้ซึ่งได้รับคะแนนมากตามลำดับลงมา ตามจำนวนที่กำหนดไว้เป็นผู้ได้รับเลือก ในกรณีที่มีผู้ได้รับเลือกหลายคน ได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้รับเลือกตามจำนวนที่จะพึงมีได้ ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจทำการจับสลากเพื่อให้ได้รับเลือกจนครบจำนวนและจัดลำดับไว้

ในกรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกหรือมีผู้ได้รับเลือกไม่ครบตามจำนวนที่จะพึงมีได้ ให้ถือว่า ก.ตร.ประกอบด้วย ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิเท่าที่ได้รับเลือก และปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน ทั้งนี้ให้ประธาน ก.ตร.ดำเนินการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมตามมาตรา 36 จนกว่าจะครบตามจำนวนที่จะพึงมีได้ และให้กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเลือกเพิ่มเติม มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่าที่เหลืออยู่ของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเลือกในครั้งแรก มาตรา 38 กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30(3) และ (4) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

มาตรา 53 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44(1) (2) (3) (4) (5) และ (6) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44(1) (การแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)

ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ หรือ

รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่เกิน 3 คน

แต่ไม่น้อยกว่า 2 คน พร้อมจัดเรียงลำดับเสนอ ก.ตร.เพื่อพิจารณาคัดเลือกเพียง 1 คนแล้วให้นายกรัฐมนตรีพิจารณานำความกราบบังคมทูล หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง หากนายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับรายชื่อตามวรรคหนึ่งให้ส่งกลับพร้อมเหตุผลไปยัง ก.ตร.ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รับเรื่อง เมื่อ ก.ตร.ได้รับเรื่องแล้วให้พิจารณาใหม่จากรายชื่อที่เหลือตามวรรคหนึ่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รับเรื่องเพื่อพิจารณาคัดเลือกเพียง 1 คน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติหรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพียง 1 คน ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร.พิจารณาคัดเลือกไปตามนั้น แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

(2) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44(2) (3) (4) (5) (6) (การแต่งตั้งจเรตำรวจแห่งชาติ-ผบก.) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจเสนอคณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตามมาตรา 57 วรรคสอง (1) เพื่อพิจารณาก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคับทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ทั้งนี้ในการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจตามมาตรา 44(5) และ (6)( การแต่งตั้งรอง ผบช.-ผบก.) ให้นำข้อเสนอแนะของผู้บัญชาการหน่วยงานที่มีตำแหน่งว่างมาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.

มาตรา 54 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่มาตรา 44(7) (การแต่งตั้งรอง ผบก.) ลงมาในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ในส่วนกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งจากส่วนราชการหนึ่งไปอีกส่วนราชการหนึ่ง ตามมาตรา 10(1) และ (2) ให้หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำความตกลงกันแล้วให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้บัญชาการที่ประสงค์จะแต่งตั้งเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง

การคัดเลือกและการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเพื่อทำหน้าที่พิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจดำรงตำแหน่งต่างๆ ก่อนที่ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้ง ดังนี้ (1) คณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจดำรงตำแหน่งระดับผู้บังคับการหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป และข้าราชการตำรวจดำรงตำแหน่งระดับรองผู้บังคับการหรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมาในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธาน จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทุกคน

เป็นกรรมการ ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.จำนวน 1 คนเป็นกรรมการ ให้ผู้บัญชาการหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคลเป็นเลขานุการและ

ผู้บังคับการหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบกำลังพลเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

(2) คณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับกองบัญชาการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจดำรงตำแหน่งระดับรองผู้บังคับการหรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมาในสังกัดกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการ เป็นประธาน รองผู้บัญชาการหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เป็นรองหัวหน้าส่วนราชการ เป็นกรรมการ ให้ผู้บังคับการที่รับผิดชอบงานกำลังพลเป็นเลขานุการ และผู้กำกับการที่รับผิดชอบงานกำลังพลเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา 64 การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้ดำเนินการด้วยระบบคุณธรรมในรูปคณะกรรมการ โดยพิจารณาจากคุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา ความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนรักษาวินัยและการปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการตำรวจตามรายงานของผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. การเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกิน 2 ขั้น ต้องได้รับอนุมัติจาก ก.ตร.เป็นพิเศษเฉพาะราย

มาตรา 71/1 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและ ก.ตร.จัดทำรายงานการพิจารณาปรับปรุงอัตราเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว เงินเพิ่มพิเศษรายเดือน เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศหรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ และเงินเพิ่มอื่นหรือเงินช่วยเหลือตามมาตรา 69 มาตรา 70 และมาตรา 71 เป็นประจำทุก 5 ปี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ การเพิ่มอัตราเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว เงินเพิ่มพิเศษรายเดือน เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศหรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษและเงินเพิ่มอื่นหรือเงินช่วยเหลือ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและการดำรงชีพที่เปลี่ยนแปลง

มาตรา 106 ข้าราชการตำรวจผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย หรือเกิดจากการปฏิบัติโดยมิชอบของผู้บังคับบัญชาต่อตน ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือคณะกรรมการพิจารณาร้องทุกข์ ตามมาตรา 106/1 แล้วแต่กรณี เพื่อขอให้แก้ไขได้

เว้นแต่เป็นกรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามหมวด 8 ให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในหมวดนั้น

มาตรา 106/1 ให้มีคณะกรรมการพิจารณาร้องทุกข์ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ก.ตร.คณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า ก.รท.Ž มีอำนาจหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการตำรวจ ตามมาตรา 106 ประกอบด้วย กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30(3) คนหนึ่ง

เป็นประธานกรรมการและคณะกรรมการจำนวน 8 คน ประกอบด้วย (1) รองเลขาธิการ ก.พ. ซึ่งเลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย (2) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมเป็นที่ประจักษ์และ

ไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน จำนวน 3 คน (3) ผู้เคยเป็นข้าราชการตำรวจ

ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปจำนวน 4 คน ให้ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ

ตำรวจเป็นเลขานุการ และผู้บังคับการหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของข้าราชการตำรวจเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

 

มติเรื่องร้องทุกข์ของคณะกรรมการพิจารณาร้องทุกข์ให้ถือเป็นที่สุด และให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจ ก.ตร.หรือ ก.ต.ช. แล้วแต่กรณีในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควร

มาตรา 20 ให้ดำเนินการสรรหาคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 17(4) ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างดำเนินการตามวรรหนึ่ง ให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติมีองค์ประกอบตามมาตรา 17(1) (2) (3) และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนและให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิชั่วคราวเพื่อใช้บังคับในการสรรหานั้น ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้เป็นอันยกเลิกเมื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 17(4) รับหน้าที่

มาตรา 21 ให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติออกระเบียบ ก.ต.ช.กำหนดองค์ประกอบการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการตำรวจ ตามมาตรา 18(6) และดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการตำรวจตามมาตรา 18(6) ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 14(4) เข้ารับหน้าที่ ในระหว่างดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจและตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการตำรวจตามมาตรา 18(6) ไปพลางก่อน

มาตรา 22 ให้ดำเนินการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30(3) ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับ

แต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจมีองค์ประกอบตามมาตรา 30(1) และ (2) และปฏิบัติหน้าที่ไปพลาง

ก่อน และให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30(3) ชั่วคราว เพื่อใช้บังคับในการเลือกนั้น ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้เป็นอันยกเลิกเมื่อกรรมการข้าราชการตำรวจตามมาตรา 30(3) เข้ารับหน้าที่

มาตรา 23 ให้ดำเนินการสรรหากรรมการข้าราชการตำรวจตามมาตรา 30(4) ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กรรมการข้าราชการตำรวจตามมาตรา 30(3) เข้ารับหน้าที่ ในระหว่างดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจมีองค์ประกอบตามมาตรา 30(1) (2) และ (3) และปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน และให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการข้าราชการตำรวจตามมาตรา 30(4) ชั่วคราว เพื่อใช้บังคับในการสรรหานั้น ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้เป็นอันยกเลิกเมื่อกรรมการข้าราชการตำรวจตามมาตรา 30(4) เข้ารับหน้าที่

มาตรา 24 ให้ ก.ตร.ออกกฎ ก.ตร.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร้องทุกข์ ข้อบังคับการประชุมและการลงมติของคณะกรรมการพิจารณาร้องทุกข์ตามมาตรา 106/1 และแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่กรรมการข้าราชการตำรวจตามมาตรา 30(3) เข้ารับหน้าที่ ในระหว่างดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะอนุกรรมการที่ ก.ตร.แต่งตั้งและมอบหมายในการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการตำรวจปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการพิจารณาร้องทุกข์ตามมาตรา 106/1 ไปพลางก่อน

มาตรา 25 ในระหว่างที่ยังมิได้มีการออกกฎ ก.ตร.ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือยังมิได้มีมติเพื่อปฏิบัติตาม

พระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎ ก.ตร.ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ มติ หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image