แอมเนสตี้พบปลัดยธ. ถก 5 ประเด็นสิทธิมนุษยชน-โทษประหาร จี้ถามพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานคนหาย

นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า นางสาวแชมพา พาเทล รักษาการผู้อำนวยการ องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกพร้อมด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคมเดินทางมาเข้าพบตนเพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน
นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า นางสาวแชมพา พาเทล รักษาการผู้อำนวยการ องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกพร้อมด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคมเดินทางมาเข้าพบตนเพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน

ผอ.แอมเนสตี้พบปลัด ยธ. ถก 5 ประเด็นป้องกันสิทธิมนุษยชน-โทษประหาร จี้ถาม พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและให้บุคคลสูญหาย ด้านชาญเชาวน์แจงเตรียม ชง ครม.เดือน เม.ย.นี้

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า นางสาวแชมพา พาเทล รักษาการผู้อำนวยการ องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก พร้อมด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคมเดินทางมาเข้าพบตนเพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน 5 ประเด็น คือ 1.ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … 2.การยกเลิกโทษประหารชีวิต 3.การปฏิรูประบบงานราชทัณฑ์ 4.การเดินทางไปตอบคำถามการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รอบที่ 2 ของประเทศไทยปี พ.ศ.2559 หรือ UPR และ 5.การริเริ่มของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศ

นายชาญเชาวน์กล่าวต่อว่า ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … ได้ชี้แจงให้แอมเนสตี้ฯและภาคประชาสังคมทราบว่ากระทรวงยุติธรรมจะเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้งภายในเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งที่ผ่านมากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ถือเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลไทยที่เร่งรัดให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยเร็ว เพื่อเป็นการยืนยันและแสดงจุดยืนของประเทศไทยก่อนเดินทางไปร่วมประชุม UPR ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 พ.ค.นี้แน่นอน ซึ่งการประชุมดังกล่าว ตนจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินทางไปร่วมประชุมดังกล่าวด้วยตัวเอง

12884379_1068490219879175_1447427540_n

Advertisement

นายชาญเชาวน์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับข้อดีของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว คือ 1.เป็นการคุ้มครองเหยื่อที่ถูกอุ้มหายและถูกซ้อมทรมาน 2.ทำให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีความโปร่งใสมากขึ้น และ 3.ถือว่าประเทศไทยมีความทัดเทียมกับนานาประเทศที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีเงื่อนไขที่สำคัญเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ การที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความตระหนักและเข้าใจมากพอหรือไม่ และถึงแม้จะมีความตระหนักมากพอ แต่ก็ยังมีเรื่องที่จะต้องพัฒนาต่อไปคือ ประสิทธิภาพและศักยภาพการสืบสวนสอบสวนให้มากกว่าปัจจุบัน และจะใช้กฎหมายที่ดีแบบนี้อย่างไรให้ได้ผลในทางปฏิบัติ

12914833_1068490139879183_854860821_o

ปลัดกระทรวงยุติธรรมกล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้น ในการพบกันครั้งนี้ ทางแอมเนสตี้ฯเข้าใจดีถึงสถานการณ์โลกในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในสถานการณ์เผชิญหน้ากับการก่อการร้าย ดังนั้น ตนจึงชี้แจงให้ทราบว่าการยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้น จะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ส่วนการปฏิรูประบบงานราชทัณฑ์ ในเรื่องนี้มีมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลักดันมาตรฐานขั้นต่ำนี้ โดยเมื่อปี 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เดินทางไปที่สหประชาชาติ นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ประกาศย้ำในเรื่องนี้ด้วย เมื่อทางแอมเนสตี้ฯทราบก็รู้สึกพอใจและสนับสนุนสิ่งที่กรมราชทัณฑ์ของไทยพยายามทำให้เป็นรูปธรรม

Advertisement

นายชาญเชาวน์กล่าวด้วยว่า และเรื่องสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องการริเริ่มของกรมคุ้มครองสิทธิฯ ในการคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศนั้น ประกอบกับการที่สหประชาชาติได้มีมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนมาใหม่ด้วย เราจึงได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและจะทำให้เรื่องนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การพบกันครั้งนี้ ทางแอมเนสตี้ฯได้ระบุว่าจะมีการนำเสนอสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในช่วงเดือน มิ.ย.นี้ ตนจึงได้บอกว่าทางประเทศไทยพร้อมรับฟังการรายงานดังกล่าว และจากนี้เราจะทำงานร่วมกับแอมเนสตี้ฯและภาคประชาสังคม โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ให้มากขึ้น ทั้งนี้ ถือเป็นการริเริ่มที่ดีและคงจะมีความร่วมมือที่จะทำให้เรื่องต่างๆ เป็นรูปธรรมและทันสมัยมากขึ้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image