ม.รามฯ วุ่น สภาฯออกแถลงการณ์แจง 3 ข้อยัน ‘สืบพงษ์’ พ้นอธิการบดี

ม.รามฯ วุ่น สภาฯออกแถลงการณ์แจง 3 ข้อยัน ‘สืบพงษ์’ พ้นอธิการบดี เตือนแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงาน ผิดอาญา

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวีระพล ตั้งสุวรรณ นายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง(ม.ร.) ลงนามในออกประกาศสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง เรื่อง ให้ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างมหาวิทยาลัยทุกระดับปฏิบัติตามมติของสภาม.ร. เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ใจความสำคัญดังนี้ ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติและคำสั่งของสภาม.ร เมื่อวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2566 และต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งยกคำขอของ ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ เกี่ยวกับคำร้องขอให้บังคับตามคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์2566 แล้ว นั้น
ในการประชุมสภาม.ร. ครั้งที่ 4/2566 วาระที่5.1 เมื่อวันที่27 กุมภาพันธ์2566 สภาม.ร.พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากขณะนี้ได้เกิดเหตุความสับสนวุ่นวายและความไม่เข้าใจในอำนาจการบริหารงานของม.ร. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ม.ร.อย่างมาก อาศัยอำนาจตามความในพ.ร.บ.ม.ร. พ.ศ. 2451 มาตรา18 สภาม.ร.จึงมีมติให้ออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้บุคลากรทุกฝ่ายของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเข้าใจข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและยึดถือปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติและคำสั่งของสภาม.ร. เมื่อวันที่13 กุมภาพันธ์2566 เนื่องมาจากผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ เป็นผู้ขาดจริยธรรมต้องห้ามเป็นผู้บริหารด้วยสาเหตุสามประการ กล่าวคือ ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ช่วยเหลือนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ซึ่งถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหาว่าเป็นผู้ร่ำรวยผิดปกติ ช่วยปกปิดทรัพย์สินและเมื่อถูกดำเนินคดี จนกระทั่งศาลฎีกาพิพากษาให้ยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน แต่ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ก็ไม่แจ้งให้ม.ร.ซึ่งเป็นต้นสังกัดทราบ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรี(ครม.) และเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาพ.ศ. 2547 มาตรา39 วรรคสี่ และมาตรา 40

ประการที่สอง ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ นำวุฒิการศึกษาปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ)มาสมัครเป็นพนักงานม.ร. ตำแหน่งอาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์

และประการที่สามผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ได้ยื่นหนังสือทูลเกล้าถวายฎีกาโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง นั้น ในขณะที่สภาม.ร.มีมติถอดถอน ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ให้พ้นจากตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน2565 นั้น ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ยังคงมีสถานะเป็นพนักงานของม.ร. แต่เนื่องจากม.ร.ได้บอกเลิกสัญญาจ้างผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ตั้งแต่ เมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ก่อนที่ศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งทุเการบังคับตามมติของสภาม.ร.ดังกล่าว ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ จึงไม่มีสถานะเป็นพนักงานหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ รวมถึงไม่มีคุณสมบัติและสถานะใด ๆรองรับให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้อีกต่อไป

ADVERTISMENT

แม้ต่อมา เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ศาลปกครองกลางจะได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาให้ทุเลาการบังคับตามมติและคำสั่งที่ให้ถอดถอนผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ จากอธิการบดีม.ร. และทุเลาการบังคับตามมติและคำสั่งที่ให้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี แต่คำสั่งของศาลปกครองกลางดังกล่าวก็มีได้วินิจฉัยและคุ้มครองเกี่ยวกับการเป็นพนักงานม.ร. ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ รวมถึงการบอกเลิกสัญญาจ้างของม.ร.แต่อย่างใด ดังนั้น การให้ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ กลับมาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอธิการบดีต่อไป ทั้ง ๆ ที่ม.ร.ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างไปแล้วย่อมทำให้เกิดความลักลั่นในทางปฏิบัติ และขัดต่อพ.ร.บ.ม.ร.พ.ศ. 2541 มาตรา23 และพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 4.18และ 65/2 อีกด้วย เนื่องจากพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่สอง) พ.ศ. 2551มาตรา 4 ,18และ65/2 กำหนดให้อธิการบดีเป็นตำแหน่งประเภทผู้บริหารและผู้ที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้จะต้องเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือต้องเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยเท่านั้น กรณีดังกล่าวจึงเป็นการพันวิสัยที่จะให้ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ กลับมาดำรงตำแหน่งอธิการบดีม.ร.ในขณะนี้ได้ ทั้งนี้ หากผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ไม่เห็นด้วยกับสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ จะต้องไปดำเนินการใช้สิทธิตามกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ แยกต่างหากเป็นอีกกรณีไป ดังที่ศาลปกครองกลางได้ระบุไว้ในคำสั่งยกคำขอของผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่เกี่ยวกับคำร้องขอให้บังคับตามคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา เมื่อวันที่20 กุมภาพันธ์2566

ADVERTISMENT

2. คำสั่งทุเลาการบังคับตามมติและคำสั่งของสภาม.ร. มีผลบังคับนับแต่วันที่สภาม.ร.ได้รับแจ้งคำสั่ง คือ วันที่ 13 กุมภาพันธ์2566 ซึ่งเป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ข้อ72 วรรคท้าย และมีผลคุ้มครองเฉพาะตำแหน่งอธิการบดีเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองตำแหน่งรองอธิการบดีด้วย ดังนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีในขณะที่ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ต้องพ้นจากตำแหน่งไป ตั้งแต่วันที่ 8 พฤตจิกายน2565 ซึ่งเป็นวันที่สภาม.ร.มีมติถอดถอนผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ให้พ้นจากตำแหน่งอธิการบดีแล้ว

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ มิได้เป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของม.ร.ในขณะนี้ และผู้ที่ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีในขณะที่ผศ. สืบพงษ์ ปราบใหญ่เป็นอธิการบดีนั้น ได้พ้นจากตำแหน่งรองอธิการบดีไปแล้วทั้งหมด ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่และรองอธิการบดีดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นผู้บริหารของม.ร.ตามกฎหมาย การที่ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ กระทำการใด ๆ ในฐานะอธิการบดีของม.ร.และรองอธิการบดีดังกล่าวกระทำการใด ๆ ในฐานะรองอธิการบดี ย่อมเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ซึ่งถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 และกรณีที่ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ กับ อดีตรองอธิการบดีบางคน บุกรุกเข้าไปใช้ห้องทำงานและห้องประชุมของม.ร. ซึ่งถือเป็นสถานที่ราชการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจนทำให้เกิดความสับสนต่อการปฏิบัติราชการย่อมเข้าข่ายมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362และเป็นความผิดทางวินัยอีกด้วย
ทั้งนี้ การกระทำใด ๆ ของผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ที่อ้างว่ากระทำในฐานะอธิการบดีและการกระทำใด ๆ ของอดีตรองอธิการบดีที่อ้างว่ากระทำในฐานะรองอธิการบดีนั้น ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายเพราะเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ

เพื่อให้การบริหารงานของม.ร.เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและความเสียหายแก่ม.ร. จึงขอให้บุคลากรทุกฝ่ายยึดถือและปฏิบัติตามผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี ภายใต้คำสั่งสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่13 /2566 และ ที่31 /2566 และรองอธิการบดีภายใต้คำสั่งสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ 15/2566 ตลอดจนบุคลากร ภายใต้คำสั่งสภาม.ร. ที่ 420/2566 และ 422/2566

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image