ที่มา | คอลัมน์ "รายงานการศึกษา" |
---|
รายงานการศึกษา : ว.เทคโนโลยีหมู่บ้านครู ชูนวัตกรรม-ปั้นอาชีพ ‘เด็กยุคใหม่’
มีคำกล่าวว่า “อาชีวศึกษา” เปรียบเหมือนฐานสำคัญในการผลิตบุคลากรสร้างชาติ มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า ทั้งในด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่เหมาะสมตามสถานประกอบการ สู่มาตรฐานสากล เหมือนกับที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู เขตหนองแขม ที่รายการ 1 ในพระราชดำริ ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 Mcot HD ร่วมกับมูลนิธิอานันทมหิดล ได้เดินทางมาเยี่ยมชม พบว่ามีการปรับตัวนำนักเรียนเข้าสู่โลกแห่งการทำงานที่ต้องแข่งขัน ได้อย่างน่าชื่นชม

ดร.บัญชา เกิดมณี ประธานกรรมการบริหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธนบุรี กล่าวว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู เป็นวิทยาลัยอาชีวะเอกชน ก่อตั้งมานาน 50 ปี ที่ผ่านมาผลิตนักศึกษาไปแล้วกว่า 70,000 คน ในช่วงปิดเทอมจะส่งครูแผนกช่างไปฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และสร้างความมั่นใจว่าความรู้ที่สอนเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศ ส่วนครูสามัญจะอบรมอยู่ตลอดเวลา ส่งเสริมการเรียนลูกเสือ ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องความสัมพันธ์กับนักเรียน ไม่มีการลงโทษเด็กด้วยการตี เพื่อทำให้เกิดความไว้วางใจ และไม่คดโกง รวมถึง ร่วมมือกับธนาคารออมสิน เพื่อฝึกให้มีนิสัยด้านการออม และวางแผนค่าใช้จ่าย ซึ่งทำให้เกิดความภาคภูมิใจตามมา
“ด้านการเรียนการสอน ได้วางแผนให้นักเรียนมีทักษะสูง ทั้งเรื่องการใช้เครื่องมือที่ปลอดภัย มีพื้นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง และสร้างความเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้น ด้วยการเรียนที่ต่อเนื่องไปยังมหาวิทยาลัยธนบุรีที่อยู่ในเครือเดียวกัน ซึ่งเด็กที่เรียนจบจะมีงานทำ 100% โดยมีบริษัท หรือโรงงานภายนอก รับทำงานตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา แสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนนักศึกษาอาชีวะจำนวนมาก ส่วนด้านคุณภาพ ได้ส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน ซึ่งได้รับรางวัลระดับโรงเรียน และเริ่มส่งแข่งในระดับชาติ รวมถึง ทดสอบมาตรฐานกับเกณฑ์ของกรมฝีมือแรงงาน หรือบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่า นักเรียน 80% ผ่านการทดสอบ ในอนาคตตั้งเป้าเปิดหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การขนส่งทางหุ่นยนต์ ยานยนต์และซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ กราฟิก ที่นำไปประกอบอาชีพอิสระได้” ดร.บัญชา กล่าว

ขณะที่ ดร.รัตนา แซ่เล้า ผู้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ ประจำปี 2549 เล่าว่า จากการศึกษาพบว่า ปัญหาการผลิตบุคลากรที่ไม่เพียงพอ กับความต้องการของตลาดแรงงานในไทย เกิดจากค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาสายสามัญมากกว่าสายอาชีวะ ส่งผลให้ไทยขาดแคลนแรงงานสายอาชีวะจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากผู้ปกครองห่วงความปลอดภัย และปัญหาเด็กตีกัน ดังนั้น วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องการอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว มีครูดูแลนักเรียนเหมือนเป็นพ่อแม่ มีความอบอุ่น และอ่อนโยน จึงตอบโจทย์ในเรื่องดังกล่าว
ดร.รัตนา ทิ้งท้ายอย่างมั่นใจว่า การมีมหาวิทยาลัยธนบุรี ทำให้การเรียนอาชีวะครบวงจร เด็กสามารถเรียนต่อระดับอุดมศึกษาตามความสนใจได้ โดยสิ่งสำคัญของอาชีวะคือเรื่องทักษะ ดังนั้น การร่วมมือกับภาครัฐ และเอกชน รวมถึง การลงทุนในอุปกรณ์เทคโนโลยี และเครื่องยนต์ เพื่อการเรียนการสอนของวิทยาลัย ทั้งด้านช่างกล, ไฟฟ้า, สำรวจ, ก่อสร้าง ฯลฯ ทำให้นักเรียนเกิดความ