‘นักวิชาการ’ ชี้เด็กเมินสอบโอเน็ตพุ่ง เหตุขาดแรงจูงใจ คะแนนไม่มีผลต่อการเข้ามหา‘ลัย

‘นักวิชาการ’ ชี้เด็กเมินสอบโอเน็ตพุ่ง เหตุขาดแรงจูงใจ คะแนนไม่มีผลต่อการเข้ามหา‘ลัย

นายณรินทร์ ชำนาญดู นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส. บ.ม.ท.) เปิดเผยว่า นักเรียนจำนวนมากที่ไม่ให้ความสำคัญกับการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของโอเน็ต นักเรียนหลายคนไม่ทราบว่าคะแนนโอเน็ต มีบทบาทอย่างไรในระบบการศึกษาและอนาคตทางการเรียน เพราะบางโรงเรียนหรือครูไม่ได้ให้ข้อมูลที่ชัดเจน หรือความเชื่อมโยงกับการศึกษาต่อและอาชีพ ส่งผลให้นักเรียนมองว่าเป็นเพียงการสอบทั่วไปที่ไม่มีผลอะไรกับพวกเขา ,ความรู้สึกว่าโอเน็ตไม่ส่งผลต่ออนาคต เนื่องจาก บางโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไม่ได้ใช้โอเน็ตเป็นองค์ประกอบในการเข้าศึกษาต่อ ไม่มีผลต่อการจบการศึกษาระดับมัธยม ไม่ได้ถูกนำไปใช้พิจารณาในการสมัครงาน

“การเรียนการสอนที่ไม่เน้นการเตรียมสอบโอเน็ต ทำให้นักเรียนไม่มีความคุ้นเคยกับข้อสอบ และขาดทักษะในการทำข้อสอบประเภทนี้ เมื่อไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอ พวกเขาจึงรู้สึกว่าโอเน็ต ,ขาดแรงจูงใจและแรงกดดันจากภายนอกโรงเรียนบางแห่งไม่ได้ใช้คะแนนโอเน็ต เป็นเกณฑ์ประเมินผลนักเรียน หรือไม่มีการให้รางวัลกับนักเรียนที่ทำคะแนนดี ผู้ปกครองอาจไม่ให้ความสำคัญกับโอเน็ต ที่สำคัญเด็กบางคนไม่มีเป้าหมายในการศึกษาต่อ ทำให้ไม่เห็นความสำคัญ หากไม่มีแรงจูงใจหรือแรงกดดันจากครู ผู้ปกครอง หรือระบบการศึกษา นักเรียนจะไม่รู้สึกว่าต้องเตรียมตัวอย่างจริงจัง”นายณรินทร์ กล่าว

นายณรินทร์ กล่าวต่อว่า อีกข้อคือ มองว่าข้อสอบโอเน็ต ยากเกินไปและไม่น่าสนใจ ทำให้ท้อแท้ ข้อสอบบางปีอาจมีคำถามที่ดูไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงของนักเรียน หรือไม่ตรงกับสิ่งที่เรียนในห้องเรียน ทำให้พวกเขารู้สึกว่าการสอบนี้ไม่จำเป็นและไม่มีประโยชน์ อีกทั้งยังมี ความเหนื่อยล้าจากการสอบหลายสนาม โดยเฉพาะ ม.6 ที่ต้องสอบทั้งการทดสอบความถนัดทั่วไปหรือGPAT การทดสอบความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือGPAT, วิชาสามัญ ฯลฯ ซึ่งมีผลต่อการเข้าศึกษาต่อโดยตรง ทำให้พวกเขาทุ่มเทเวลากับการสอบเหล่านี้มากกว่า

ADVERTISMENT

“สรุปสาเหตุที่นักเรียนไม่เห็นความสำคัญของการสอบโอเน็ต เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ขาดแรงจูงใจ ข้อสอบที่ดูยาก และระบบการศึกษาที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับโอเน็ตมากพอ หากต้องการให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการสอบนี้ จำเป็นต้องมีการให้ข้อมูลที่ชัดเจน ปลูกฝังทัศนคติที่ดี และสร้างแรงจูงใจในการเตรียมตัวสอบอย่างเหมาะสม แนวทางแก้ไข คือต้องเร่งสร้างความเข้าใจ ให้เห็นว่าโอเน็ต มีบทบาทสำคัญอย่างไรในอนาคต สร้างให้แรงจูงใจ เช่น การให้รางวัลกับนักเรียนที่มีคะแนนดี หรือเชื่อมโยงคะแนนโอเน็ต กับการได้รับโอกาสทางการศึกษา” นายณรินทร์ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image