เชิญร่วมแสดงความเห็น ‘รัฐควรผ่อนผันให้ชุมชนผลิตสุราภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือไม่’

จากกรณีเจ้าหน้าที่สรรพสามิตบุรีรัมย์ตรวจจับ นางเสน่ห์ ป่วงรัมย์ อายุ 60 ปี แม่ค้าขายข้าวหมาก ข้อหาจำหน่ายสาโทโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเจ้าหน้าที่ยืนยันว่า เป็นการจับการขายเหล้าสาโท ขณะที่ยายออกมายืนยันว่า เป็นน้ำข้าวหมากไม่ใช่สาโทนั้น

ล่าสุดรศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แนะนำว่า น้ำข้าวหมากและสาโท มีลักษณะเหมือนกัน เพราะมีวิธีในการผลิตออกมาเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกันที่สูตรของลูกข้าวแป้งที่จะเอามาใช้หมัก ที่ทำให้ได้ปริมาณแอลกอฮอล์หรือดีกรีที่ต่างกัน โดยสาโทปริมาณแอลกอฮอล์จะเข้มข้นแต่ไม่เกิน 15 ดีกรี จึงต้องถามว่า เจ้าหน้าที่สรรพสามิตตอนตรวจจับได้มีการตรวจระดับแอลกอฮอล์หรือไม่ว่าเป็นน้ำข้าวหมากหรือสาโทกันแน่ ซึ่งกรมสรรพสามิตก็มีชุดทดสอบในการวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ซึ่งการหมักนานๆ น้ำข้าวหมากก็จะมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น แต่เพิ่มอย่างช้าๆ เพราะยีสต์ยังคงทำงาน ซึ่งการตรวจจับมองว่าต้องตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ตรงนั้นเลยว่า เป็นน้ำข้าวหมากหรือสาโทกันแน่ ซึ่งปริมาณแอลกอฮอล์จะบอกได้ แต่หากมาตรวจตอนหลังแล้ว ปริมาณแอลกอฮอล์ของน้ำข้าวหมากย่อมเพิ่มแน่นอน ตรงนี้ก็จะไม่ยุติธรรม เหมือนเวลาไปตรวจผับ ตรวจปัสสาวะก็ต้องตรวจเดี๋ยวนั้นเลย

อ่านเพิ่มเติม อาจารย์เคมีแนะสรรพสามิตตรวจ ‘แอลกอฮอล์’ ณ จุดตรวจแก้ปัญหาแยกยาก ‘ข้าวหมาก-สาโท’ 

มติชนออนไลน์ชวนแสดงความคิดเห็น “ รัฐควรผ่อนผันให้ชุมชนผลิตสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกกฎหมายได้หรือไม่”

Advertisement

จากกรณีเจ้าหน้าที่สรรพสามิตบุรีรัมย์ตรวจจับ นางเสน่ห์ ป่วงรัมย์ อายุ 60 ปี แม่ค้าขายข้าวหมาก…

โพสต์โดย Matichon Online – มติชนออนไลน์ เมื่อ วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2018

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image