สกู๊ปพิเศษ : เปิดร่างพ.ร.บ.ตำรวจ ปฏิรูปตร.žฉบับ ‘มีชัย’

ครั้งนั้นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรัฐบาลของกลุ่ม กปปส.ที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ปัจจุบันผันตัวเป็นผู้ก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ชูประเด็นปฏิรูปประเทศ หนึ่งในหัวข้อใหญ่ คือ ”ปฏิรูปตำรวจ”Ž กะเทาะสารพัดปัญหาองค์กรสีกากี อาทิ ปัญหาการอำนวยความยุติธรรม คอร์รัปชั่น ปัญหาสวัสดิการความขาดแคลน รวมไปถึงปัญหาใหญ่การบริหารแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมและรวมศูนย์

กระทั่งรัฐประหารสำเร็จ มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการคณะทำงานปฏิรูปตำรวจขึ้นมาหลายคณะในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เสนอไอเดียปรับโฉมองค์กรตำรวจ แก้ไขพัฒนางานสอบสวนหัวใจของการอำนวยความยุติธรรมออกมามากมายแต่แล้วก็ยังไร้ข้อสรุป ในทางคู่ขนานสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่โดยรวมเห็นไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปโดยกรรมการคนนอก ทั้งนอกองค์กรและนอกราชการ ก็มีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจขึ้นภายในองค์กรเช่นกัน เสนอแนวคิดแนวทางต่างๆ ออกมามากมาย ขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง พัฒนาหลายด้านผ่านการบริหารองค์กรโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง จนถึง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา

การปฏิรูปตำรวจในนามรัฐบาลและ คสช.ที่คล้ายมีความพยายามมาตลอด เริ่มเป็นรูปเป็นร่างจริงจังเมื่อเดือนเมษายน 2560 ทันทีที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับ มาตรา 258 และ 260 กำหนดให้เดินหน้าปฏิรูปตำรวจแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งการอำนวยความยุติธรรมและการแต่งตั้งโยกย้าย ฯลฯ ขีดเส้นให้เวลา 1 ปี พล.อ.ประยุทธ์ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ขึ้นมา 1 ชุด ตามรัฐธรรมนูญ โดยมี พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการสัดส่วนตำรวจและคนนอกประมาณกัน ใช้เวลาตามกำหนดปรับแก้กฎหมายเดิมที่มี ออกร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. … ขึ้นมา 1 ฉบับ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเวลาต่อมา ที่ประชุม ครม.รับหลักการ พร้อมส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปทบทวน

ในทางปฏิบัติใช่เพียงทบทวน แต่มีการตั้งกรรมการชุดใหม่ในชั้นกฤษฎีกา แก้ไขทบทวนร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. … ที่ชุดพล.อ.บุญสร้างทำขึ้นมาทั้งฉบับ กรรมการชุดใหม่มี นายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธาน เชิญ พล.อ.บุญสร้างร่วมเป็นกรรมการด้วย ในกรรมการชุดนี้เรียกว่าตั้งต้น ปฏิรูปตำรวจŽ ใหม่อีกครั้งเป็นกรรมการชุดใหม่ ออกร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. … ขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งแยกกฎหมายอีกฉบับ ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. … เป็นกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อการปฏิรูปตำรวจเวอร์ชั่นใหม่ตามรัฐธรรมนูญ

Advertisement

ในกรรมการชุด มีชัยŽ มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นแก้ไขกฎหมายตามขั้นตอน ก่อนที่ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเผยแพร่กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปตำรวจออกมา 2 ฉบับ

โฟกัสที่ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. … ที่หลังเผยแพร่ออกมา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งเรื่องกลับไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จากนั้น สลค.ส่งย้อนให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานเจ้าของกฎหมายไปทบทวนในรายละเอียด เรื่องส่งไปยังสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจำแนกประเด็นต่างๆ ให้แต่ละกองบัญชาการที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาทบทวนเสนอแนะ กระบวนการในปัจจุบันอยู่ในชั้นนี้ ซึ่งตามขั้นตอนเมื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะแล้วจะส่งกลับ สลค.สู่กระบวนการต่อไป อาจนำเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเลยก็ได้

ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. … ซึ่งประกอบไปด้วย 173 มาตราโดยสังเขป ยกไฮไลต์มาตราสำคัญ

Advertisement

มาตรา 9 ข้าราชการตำรวจมี 2 ประเภท ได้แก่

(1) ข้าราชการตำรวจที่มียศ ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 55 (ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงรองผู้บังคับหมู่)

(2) ข้าราชการตำรวจที่ไม่มียศ ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล การพิสูจน์หลักฐานและการสอนในกองบัญชาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ หรือสถาบันการศึกษาอื่นในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เฉพาะที่เกี่ยวกับการสอนวิชาที่ ก.ตร.กำหนด หรือหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 15 ให้มีคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.ตร. ประกอบด้วย

(1) นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นประธานกรรมการ

(2) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการ

(3) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้านป้องกันและปราบปราม ด้านสอบสวน และด้านบริหาร ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งด้านละหนึ่งคน และจเรตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ

(4) ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม อัยการสูงสุดและเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นกรรมการ

(5) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา 19 ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าขึ้นไป จำนวน 5 คน แต่ต้องเป็นผู้ซึ่งพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกิน 1 ปี (ข) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจ จำนวน 3 คน โดยนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา หารือร่วมกันเสนอชื่อบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม จำนวน 6 คน แล้วให้ข้าราชการตำรวจเลือกให้เหลือ 3 คน

ให้ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นเลขานุการ และรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา 26 ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.พ.ค.ตร. ประกอบด้วย กรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ทำงานเต็มเวลา

มาตรา 36 ให้มีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.ร.ตร. มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความเดือดร้อนหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมของประชาชนจากการกระทำหรือไม่กระทำการของข้าราชการตำรวจอันมิชอบหรือการประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสมและเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำรวจ กระทำผิดวินัย หรือละเมิดประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ

มาตรา 54 ตำแหน่งข้าราชการตำรวจมี 5 สายงาน ดังต่อไปนี้

(1) สายงานบริหาร

(2) สายงานอำนวยการและสนับสนุน

(3) สายงานสอบสวน ได้แก่ งานเกี่ยวกับการสอบสวนและงานสืบสวนที่เกี่ยวเนื่องกับงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากฎหมายว่าด้วยการสอบสวนและกฎหมายอื่น

(4) สายงานป้องกันและปราบปราม ได้แก่ งานสืบสวน งานป้องกันและปราบปรามและงานอื่นที่ ก.ตร.กำหนด

(5) สายงานวิชาชีพเฉพาะ ได้แก่ งานเกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล การพิสูจน์หลักฐานและการสอนในกองบัญชาการศึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ หรือสถาบันการศึกษาอื่นในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

และงานอื่นที่มีลักษณะเป็นวิชาชีพตามที่ ก.ตร.กำหนด

มาตรา 70 ภายใต้บังคับมาตรา 75 (การประเมิน) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งให้แต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ อาทิ

(1) ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศ พล.ต.อ. ซึ่งดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ หรือรอง ผบ.ตร.

(2) ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติและรอง ผบ.ตร. จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศ พล.ต.ท. หรือ พล.ต.อ. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือรองจเรตำรวจแห่งชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี แต่ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดเคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาแล้วถึง 2 ปี ให้แต่งตั้งผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินานที่สุดเรียงตามลำดับ

(3) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองจเรตำรวจแห่งชาติ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศ พล.ต.ท. และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ ผู้บัญชาการสอบสวน หรือจเรตำารวจมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

(4) ตำแหน่งผู้บัญชาการและจเรตำรวจจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศ พล.ต.ต. หรือ พล.ต.ท. และเคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการสอบสวน หรือรองจเรตำรวจ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

(5) ตำแหน่งรองผู้บัญชาการ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศ พล.ต.ต. และเคยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ หรือผู้บังคับการสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

(6) ตำแหน่งผู้บังคับการ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศ พ.ต.อ. ซึ่งได้รับอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) หรือ พล.ต.ต. และเคยดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการ หรือรองผู้บังคับการสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี

(7) ตำแหน่งรองผู้บังคับการ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศ พ.ต.อ. หรือ พ.ต.อ. ซึ่งได้รับอัตราเงินเดือน พ.ต.อ. (พิเศษ) และเคยดำรงตำแหน่งผู้กำกับการ หรือผู้กำกับการสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี

(8) ตำแหน่งผู้กำกับการ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศ พ.ต.ท. หรือ พ.ต.อ. และเคยดำรงตำแหน่งรองผู้กำกับการ หรือรองผู้กำกับการสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี ฯลฯ

มีการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้งโยกย้ายทุกระดับตำแหน่งอย่างละเอียดในร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. … ฉบับนี้

ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฉบับล่าสุดของ มีชัยŽ คือผลงานการปฏิรูปตำรวจหนึ่งในหัวข้อปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้งที่ใช้เวลามากกว่า 4 ปี ที่จนวันนี้ยังไม่สะเด็ดน้ำ !!

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image