‘ติ๊ก เจษฎาภรณ์’ ถามปัญหา ‘ฝุ่นพิษ’ แก้ตรงไหน แจกหน้ากากอนามัย อยู่แต่ในบ้าน ใช่หรือ?

เมื่อวันที่ 15 มกราคม ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ ผลดี โพสต์เฟซบุ๊ก Tik Jesdaporn Pholdee

มีใครประสบเหมือนผมบ้างครับ หน้าแล้งทีไร ตากผ้าผ้าก็ดำ เขม่าและขี้เถ้าปลิวตกเต็มบ้าน อยู่บ้านเหมือนถูกรมควัน …อันนี้มันบ่งบอกเลยว่าบ้านอยู่ชานเมืองใช่ไหมครับ???
.
มีอะไรบางอย่างในช่วงนี้ทำให้ผมสนใจ แต่จะว่าไปผมก็สนใจมานานแล้วด้วยซ้ำ โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อม…..

“พอจะได้ติดตามข่าวสารด้านมลพิษทางอากาศในกทม.มาบ้างในช่วงนี้ครับ ผมก็เลยจะลองพยายามเรียบเรียงคำพูดในสิ่งที่อยากสื่อสารออกไปบ้างในฐานะ #เจ้าป่าเข้าเมือง โดยภาพรวมแล้วข้อมูลส่วนใหญ่ที่เราได้รับก็คือ ค่าฝุ่นละอองในอากาศมีตัวเลขแบบนี้ วัดค่าได้เท่านี้ (ซึ่งเป็นประโยชน์นะครับ) ตรงนั้นมากเกินค่ามาตรฐานตรงนี้น้อยกว่าตรงโน้น ขอให้ประชาชนป้องกันกันด้วยนะด้วยวิธีต่างๆ เช่น สวมใส่หน้ากาก หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงกันด้วยนะ ค่าฝุ่นแบบนี้จะส่งผลทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บอะไรบ้างและอื่นๆนานาสาระน่ารู้ แต่เอาจริง ๆ แล้วเราน่าจะอยากได้ข้อมูลอันเป็นสาเหตุที่แท้จริงกันมากกว่าว่ามันคืออะไร มาจากไหน? จะแก้ไขอย่างไร?”
.
ถ้าให้ผมพูดในฐานะ #เนวิเกเตอร์ ที่ไม่ต้องเข้าป่า เอาในแบบแค่กทม.และปริมณฑลนะครับ แน่นอนครับว่าหลัก ๆ ก็มาจากการเผา เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ฤดูแล้งอย่างเต็มฤดูแล้ว ไม่มีฝนตกแล้ว พื้นที่เกษตรกรรมต่าง ๆ ก็จะปรับพื้นที่ดิน กำจัดวัชพืช กำจัดเศษใบไม้ใบหญ้า กำจัดฟาง กำจัดซังพืชเชิงเดี่ยวที่ผ่านการเก็บเกี่ยวไปแล้ว
.


การกำจัดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ วิธีที่ยอดฮิตเลยก็คือการเผา และดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและประหยัดที่สุด (อันนี้พูดถึงโดยรวม ถ้าบางพื้นที่หรือในป่าก็เผาเพื่อล่าสัตว์ เพื่อบุกเบิกทางในประโยชน์ด้านอื่นๆ บุกรุกป่า หาของป่า ผักหวาน เป็นต้น)
.
เขม่าควัน เศษซากจากการเผาต่าง ๆ เหล่านี้ครับที่มันมากมายมหาศาลมากเมื่อรวม ๆ กันแล้ว รวมทั้งฝุ่นจากการก่อสร้างอีกมากมายที่ป้องกันได้ไม่ดีพอ ควันดำจากท่อไอเสียยานยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยไม่ได้รับการบำบัดดีพอก่อนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ
.
เราเห็นเรื่องแบบนี้กันมาก็นานและผมเองก็มักจะมีคำถามถามอยู่ตลอดเวลาว่าจะแก้ไขกันยังไง ที่ต้นเหตุหรือปลายเหตุ … 
.
ถ้าคำตอบคือ…ก็แก้ที่ปลายเหตุสิ เพราะควบคุมอะไรไม่ได้แล้ว จนปัญญาจริง ๆ สิ่งที่ทำได้ก็คือให้ใส่หน้ากากป้องกันกันเถอะ หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง หมกตัวอยู่ในห้องกระจก ให้เด็ก ๆ อยู่แต่ในบ้านหรือในห้องเรียนงดกิจกรรมกลางแจ้ง ใช่ไหม? 
.
แต่ถ้าคำตอบคือ…ก็ไปแก้ที่ต้นเหตุสิ นั่นคือการควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ หรือการกระทำของมนุษย์ที่จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม….

Advertisement


นั่นสิครับแปลว่าเราทุกคนต้องช่วยกันใช่ไหม? แล้วทำยังไง? หน่วยไหนจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้? ใครจะมาหาทางออกของการกำจัดโดยการเผาให้อยู่ในระบบมลพิษน้อย? และใครจะเป็นผู้คุมกฎ? แล้วเราจะรออีกนานขนาดไหน?
.
เรื่องแบบนี้ครับเป็นแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เรายังคงต้องต่อสู้ผจญภัยต่อไปในระบบการจัดการที่ไม่ได้จัดการอีกมากมาย ? ถ้าใครเจออะไรก็มาเล่าสู่กันฟังนะครับ แล้วถ้ามีโอกาสไว้คราวหน้ามาว่ากันด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมกันต่อครับ…เป็นห่วงนะ ดูแลสุขภาพตัวเองดี ๆ นะครับ??
.
เจษฎาภรณ์ ผลดี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image