‘บ้านกะรุบี’ชุมชนอนุรักษ์ป่า-นกเงือก แห่งเทือกเขาบูโด

IMG_6155

บูโด เป็นเทือกเขาใหญ่และสำคัญของทิวเขาสันกาลาคีรีที่แบ่งเขตแดนไทย-มาเลเซีย กรมป่าไม้จึงจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ และกลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี มีพื้นที่ประมาณ 294 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ที่คั่นอยู่กลางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่านานาพันธุ์ เป็นป่าเขาดิบชื้น แบบ อินโดนีเซีย มาลายันที่ มีความสมบูรณ์มากที่สุดบริเวณรอบๆที่ราบเชิงเขาที่ยาวไกลครอบคลุมเนื้อที่หลายอำเภอ เป็นที่ทำมาหากินหล่อเลี้ยงชีวิต ของวิถีชีวิตชาวเกษตรกรอีกหลายแสนคนเป็นป่าต้นน้ำ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์

อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ที่ติดพื้นที่เทือกเขาบูโด และที่อำเภอกะพ้อ ที่หมู่ 7 บ้านกะรุบี ชุมชนหน้าที่พิทักษ์ป่าสายตา อาศัยป่า ทำหน้าที่เชิงอนุรักษ์ และมีการจัดการได้อย่างดีเยี่ยม กิจกรรมที่โดดเด่นของพวกเขาก็คือกิจกรรม อนุรักษ์นกเงือก พบในป่าของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย มีสายพันธุ์ที่พบแล้ว 6 สายพันธุ์ ใน 13 สายพันธ์ที่พบในประเทศ มีนกเงือก หัวโขน เป็นพันธุ์ที่หายาก

อำเภอกะพ้อ ไม่ได้มีเขตเขตของอุทยานแห่งชาติ กำหนดเขตหลักฐานอยู่ได้ชัดเจนนักทำให้การจัดการป่า ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแล ชาวบ้านจากชุมชน บ้านกะรุบี อาศัยกันในแบบพึ่งพาป่าป่าพึ่งพาชุมชน จากที่เคย เป็นผู้อยู่กับป่าหาของป่า เป็นผู้ล่าสัตว์ป่า แล้วพบสัตว์ป่าอยู่มากมาย แต่ช่วงเวลา12 ปีที่ผ่านมา สุดท้ายพวกเขากลับคิดได้ว่า

Advertisement

IMG_6143

ผลพวงการทำลายป่า บุกรุกทำลายชีวิตของสัตว์ป่า บุกรุกบ้านของมัน และทำลายป่าอุดมสมบูรณ์ จะเกิดผลกระทบต่อชีวิตตัวเองอย่างแน่นอน ทำให้เริ่ม หยุด และเลือกหาหนทางด้วยการรวมตัวกันระดมความคิด คิดหาหนทางที่จะอนุรักษ์ป่าที่เป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่าของพวกเขา

จนในที่สุด ได้ระดมความคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้นกเงือกได้มาอาศัยที่นี่เป็นแหล่งหากินและเพาะพันธ์ สืบพันธ์ต่อไป ดูแลวงจรชีวิตของนกเงือกเริ่มต้นที่รัง โพรงของมัน ด้วยการ รักษาต้นไม้ลูกไม้ป่าที่เป็นแหล่งอาหารของพวกนกเงือก เพราะเห็นว่าการอนุรักษ์นกเงือกคือการบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า

Advertisement

ชาวชุมชนกะรุบีเริ่มจับกลุ่ม และได้ทำการอนุรักษ์อย่างจริงจัง กว่า 12 ปีที่ได้รักษาชีวิตนกเงือกไว้ได้เป็นหลายร้อยตัว กรรมวิธีที่ได้ใช้คือวิถีแบบชาวบ้าน การใช้กำลังชาวบ้านและการร่วมงานร่วมใจของหน่วยงานที่มีอยู่ในชุมชนทุกภาคส่วน

ในที่สุดกลายเป็นกลุ่มใหญ่ ในการเป็นกลุ่มผู้อนุรักษ์นกเงือก อุ้มชูและช่วยเหลือนกเงือก เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สืบพันธุ์นกเงือก ด้วยความทุ่มเทร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านชุมชนเอง ลงทุนลงแรงและใช้ทรัพยากร ในกระเป๋าของตัวเอง ระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ว่าพวกเขาได้สำนึกบ้านเกิดและทรัพยากรให้คงอยู่ต่อไป

จากช่วงแรกๆเริ่มต้นด้วยการ ชุมชนดูแลกันเองชักชวนกันมาจากคนเพียง 1 คน และเป็น 2 3 4จนขยายเป็นกลุ่มได้ ดูแลพิทักษ์นก ต่อมา มีผู้ร่วมมากขึ้นพร้อมมีการตั้งกลุ่มเด็กๆและเยาวชน สร้างสามัญสำนึก ร่วมกันขึ้นไปสำรวจพื้นที่จริงบนภูเขา เรียนรู้ร่วมกัน สำรวจดูแล นิเวศวิทยาของภูเขาบูโด เก็บภาพลงมาทำข้อมูลประมวลกันแล้วทำเป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกัน เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น

IMG_6153

ปัจจุบันมีผู้สนใจจำนวนมากและหันมาเข้าร่วมกิจกรรม หันมาใส่ใจในระบบเชิงนิเวศวิทยา จัดการป่า อนุรักษ์ธรรมชาติ ในชุมชนที่เป็นอยู่ของพวกเขามีจุดเด่นอยู่หลายแห่ง เช่น นกเงือก 6 สายพันธ์
จุดชมทะเลหมอกที่สวยงาม ป่าไม้พืชพันธ์ที่หายาก แหล่งศึกษาเดินชมป่าธรรมชาติ แหล่งน้ำ ทำให้ชุมชนมีความพร้อมและแข็งแรง ในการจัดการที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอนาคตได้

ปราชญ์ชาวบ้าน แวอุเซ็ง แต กล่าวว่า การดูแลพิทักษ์ป่า ยังต้องดำเนินอย่างต่อเนื่องจะเน้นการดูแลป่า ไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ปลุกจิตสำนึกให้เขาเห็นว่า ป่าไม้ดีอย่างไร การอนุรักษ์ต้นไม้พันธุ์ที่หายากต่างๆ ทำอย่างไรให้ลูกไม้ต่างๆโดยเฉพาะต้นไม้ที่เป็นแหล่งอาหารของนกเงือกอุดมสมบูรณ์ต่อไปได้ให้ลูกหลาน พยายามปลุกจิตสำนึกชาวบ้านทุกคนได้เห็นคุณค่า และจะทำอย่างไรให้พัฒนาให้ยั่งยืนต่อไป พัฒนาแหล่งน้ำ และที่สำคัญคือจะทำอย่างไรให้นกเงือกกลับมาอาศัยและสืบพันธุ์ ได้อย่างถาวร ตลอดไป

นางสาว ซูรยานี ซีบะ นักประชาสัมพันธ์กลุ่มอนุรักษ์บูโด กล่าวว่า ความร่วมมือในกิจกรรมพิทักษ์ป่าเกิดจากการที่ พวกเราเริ่มต้นไปร่วมกิจกรรมแบบแนวร่วมรุ่นใหม่ และได้เก็บภาพต่างๆที่สวยงาม มาบอกเล่าทุกคน ว่าในการอนุรักษ์ หน้าที่ของเรามีอะไรบ้าง มีดีอย่างไร ประชาสัมพันธ์ว่าเรามีจุดที่ชมทะเลหมอกได้หลายจุดสวยงาม

อาจารย์ซัยฟุดดีน เจ๊ะฮะ ครูโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ(เพียรอนุสรณ์) รองประธานกลุ่มอนุรักษ์บูโด กล่าวว่า เราต้องการพัฒนาที่นี่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศๆที่ดี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image