องค์กรต่างชาติส่งจม.ถึงรัฐบาลไทยค้านรื้อชุมชน ‘ป้อมมหากาฬ’ ชี้ ขัดกม.ระหว่างประเทศ ‘ชาตรี’เชื่อ ‘ยูเอ็น’ส่งความเห็นอีกต.ค.-พ.ย.นี้

สืบเนื่องกรณีแผนการรื้อชุมชนป้อมมหากาฬ เพื่อสร้างสวนสาธารณะโดยกรุงเทพมหานคร ตามแผนแม่บทเมื่อ 50 ปีก่อน โดยเป็นปัญหายืดเยื้อมานาน 24 ปี เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาพันธ์ผู้อยู่อาศัยระหว่างประเทศ (ไอเอไอ) ส่งจดหมายเปิดผนึกลงันที่ 25 ก.ค. ถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรัฐบาลไทยแสดงความห่วงกังวลถึงแผนการรื้อชุมชนซึ่งขัดต่อกฎหมายระหว่าง ประเทศ พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดการไล่ที่และหาแนวทางแก้ปัญหาที่เคารพ ต่อสิทธิมนุษยชน
จดหมายเปิดผนึกระบุว่า ไอเอไอ แสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับชุมชนป้อมมหากาฬ โดยชุมชนที่มีประชากร 300 คนนั้นถูกคุกคามด้วยการบังคับไล่ที่ตลอดช่วงเวลา 25 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดข้อห่วงกังวลดังต่อไปนี้

1.ชมชนไม่ได้รับการให้คำปรึกษาอย่างจากรัฐบาลและหน่วยงานของกรุงเทพมหานครอย่างเพียงพอ

2.ชุมชน และผู้อยู่อาศัยในชุมชนถูกกล่าวหาให้เสื่อมเสียชื่อเสียงจากเจ้าหน้าที่ กรุงเทพมหานคร เช่นการระบุว่าชุมชนเป็นแหล่งรวมของผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติด อาชญากร และกลุ่มคนผู้ใช้ความรุนแรงในครอบครัว

3.ข้อเสนอในการย้ายที่ อยู่ใหม่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะสถานที่ที่เสนอให้ย้ายไปนั้นอยู่ห่างไกลและไม่มีข้อเสนอสำหรับการ จ้างงาน เช่นการอนุญาติให้ชาวบ้านสามารถดำเนินชีวิตในแบบชุมชนต่อไปได้

Advertisement

4.ไม่มีข้อเสนอเงินชดเชยเพิ่มเติมที่เหมาะสมจากหน่วยงานกทม. แม้ว่าเงินชดเชิยเดิมที่เสนอมาจะน้อยเกินกว่าที่จะสามารถใช้จ่ายสำหรับความ ต้องการพื้นฐานได้อย่างเพียงพอ
ปัจจัยดังกล่าวขัดต่อ บทบัญญัติข้อ 11 ของ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (อีเอสซีอาร์)ลงนามโดยรัฐบาลไทยเมื่อปี 2542 และแม้ว่าจะมีข้อแนะนำจากคณะกรรมาธิการอีเอสซีอาร์ ในการประชุมครั้งที่ 50 ในปี 2558 เรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐ เคารพสิทธิในการมีที่พักอาศัยและ ดำเนินการในส่วนที่จำเป็นที่รวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายและกรอบนโยบายใหม่แล้วก็ ยังคงมีการละเมิดเกิดขึ้น

การละเมิดเหล่านั้น ยังได้รับรู้ในที่ประชุมของศาลระหว่างประเทศว่าด้วยการฟ้องร้องขับไล่ แห่งเอเชียตะวันออก ที่กรุงไทเป ไต้หวัน ระหว่างวันที่ 2-4 กรกฎาคมที่ผ่านมา และได้มีการแนะนำมาตรการสำคัญบางอย่าง เพื่อสถานการณ์ที่ดีขึ้นในทางสร้างสรรค์ ดังนั้น จึงขอเสนอข้อแนะนำอย่างเร่งด่วน

ข้อแรกคือ กรุงเทพมหานครควรจะยุติและเลิกความพยายามที่จะขับไล่ผู้คนออกจากชุมชนป้อม มหากาฬ

Advertisement

ข้อ 2 นับตั้งแต่มีพระราชกฤษฎีกาในเรื่องดังกล่าวออกมาเมื่อปี พ.ศ.2535 มีการศึกษาวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าโครงการสร้างสวนสาธารณะบนพื้นที่ ชุมชนป้อมมหากาฬนั้น ไม่เหมาะสมกับความต้องการของสาธารณะ ทางกรุงเทพมหานครควรจะทบทวนพระราชกฤษฎีกาเสียใหม่ และนำเสนอเรื่องใหม่แก่คณะรัฐมนตรี ที่จะสามารถออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ที่จะแก้ปัญหาอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

ข้อ 3 ทางกรุงเทพมหานครควรจะยุติการโจมตีต่อชื่อเสียงของชุมชนที่ไม่จำเป็น ไม่เพียงแค่เรื่องการทำงานเพื่อเปิดการเจรจากับทางกรุงเทพมหานครเพื่อหาวิธี แก้ไขที่พึงพอใจร่วมกัน แต่ยังต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะของการบริหารจัดการด้วยตัวเอง โดยเฉพาะการบรรลุถึงเป้าหมายที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ปราศจากยาเสพติด โดยไม่ใช้ความรุนแรง และความร่วมมืออย่างเต็มที่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรุงเทพมหานครควรจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์มากกว่าการใส่ร้ายโจมตีผู้ คนที่ต้องการทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานคร

ข้อ 4 ดังนั้น ควรจะให้สิทธิแก่ชุมชนในการอยู่อาศัยและเดินหน้ายกระดับสภาพความเป็นอยู่รวม ถึงสิทธิในการทำงาน กรุงเทพมหานครควรจะให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับข้อเสนอในการแบ่งปันที่ดินขอ งุชมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่ชุมชนยอมรับในฐานะหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน

ข้อ 5.แสดงตัวอย่างและให้คำมั่นกับชุมชนในการคงไว้ซึ่งธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกและ วัฒธรรมในความเป็นอยู่ของชุมชน กรุงเทพมหานครต้องยอมรับฟังเสียงเรียกร้องของชาวป้อมมหากาฬ (รวมถึงเสียงเรียกร้องของชุมชนอื่นๆ) อย่างจริงจังและต้องปรับปรุงแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของชาติ

และ ข้อ 6.องค์การยูเนสโกและองค์กรนานาชาติอื่นๆที่เชี่ยวชาญในด้านมรดกทางวัฒนธรรม และการอนุรักษ์โบราณสถาน และสถาปัตยกรรมต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนและ สิทธิทางสังคมในโครงการฟื้นฟูในกรุงเทพมหานคร

รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร กล่าวว่า การที่มีองค์กรระหว่างประเทศส่งจดหมายเปิดผนึกมาถึงรัฐบาลไทย สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจและการติดตามประเด็นชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความเห็นอย่างเป็นทางการจากสหประชาชาติหรือยูเอ็นอีกครั้งในช่วงปลายเดือนตุลาคม หรือต้นพฤศจิกายนนี้ ส่วนข่าวที่ว่าจะมีการเริ่มรื้อชุมชนในเดือนกันยายน จึงอาจไม่ทันการนั้น เชื่อว่าถึงแม้บางส่วนจะถูกรื้อไป แต่กระบวนการพูดคุยในเวทียูเอ็นไม่ได้ยุติลง แต่จะยังคงดำเนินต่อไป สำหรับประเด็นที่ไอเอไอ หรือสมาพันธ์ผู้อยู่อาศัยระหว่างประเทศ ระบุว่าการรื้อชุมชนป้อมมหากาฬขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศนั้น เพราะรัฐบาลไทยได้ลงนามในพันธสัญญา 2-3 ฉบับ ซึ่งการไล่รื้อจะไปขัดต่ออนุสัญญานั้น
“ไทยลงนามในพันธสัญญาซึ่งการรื้อชุมชนป้อมมหากาฬไปขัดต่อกฎบัตรเหล่านั้น ส่วนตัวเชื่อว่า ในขณะที่ถูกท้วงติง รัฐบาลก็จะยืนยันว่ายังคงยึดตามสัญญาที่ลงนามไป โดยตอบกลับไปยังองค์กรต่างประเทศว่า กรณีนี้ไม่เข้าเกณฑ์ ที่ผ่านมาเป็นเช่นนี้เสมอ การละเมิดเกิดขึ้นอยู่ตลอด กรณีป้อมมหากาฬก็เช่นเดียวกัน” นายชาตรีกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image