รู้ยัง! ลูกจ้างแอบงีบเวลางาน มีสิทธิโดนเลิกจ้างได้ แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย

แอบงีบเวลางาน

รู้ยัง! ลูกจ้างแอบงีบเวลางาน มีสิทธิโดนเลิกจ้างได้ แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย

แอบงีบเวลางาน – เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 ได้เผยแพร่เนื้อหา ของกฎหมายแรงงานว่า หากลูกจ้าง ละทิ้งหน้าที่ไปนอนระหว่างเวลาทำงาน แต่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เป็นความผิดร้ายแรง เลิกจ้างได้ แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย โดยมีเนื้อหาดังนี้

“กรณีไม่เป็นความผิดร้ายแรง
หากนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง
นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

ดังนั้นใจเย็นๆ อย่าเพิ่งเลิกจ้าง
ออกเป็นใบเตือนดีกว่า ให้โอกาสลูกจ้างอีกสักครั้ง
หากทำผิดซ้ำเรื่องเดิมอีกภายใน 1 ปี ก็ค่อยเลิกจ้าง
(คราวนี้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว)

คำพิพากษาฎีกาที่ 3933/2557

Advertisement

1. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด
2. จำเลยให้การว่าโจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่ออกไปแอบนอนหลับในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรหลายครั้ง
ทำให้เครื่องจักรเดินโดยไม่มีการควบคุมเครื่องจักรอาจทำ งานผิดพลาดและก่อความเสียหายต่อชิ้นงาน
3.ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
4. มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของ จ.เลย ว่าการกระทำ ของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงหรือไม่เห็นว่าแม้ข้อบังคับการทำงานเอกสารหมาย ล.7 ขอ้ 10.6.18 จะระบุว่าการละทิ้งงานของตนเองในหน้าที่อาจถูกพิจารณาให้ออกจากงานได้ก็เป็นเพียงข้อกำหนดมาตรการลงโทษพนักงานที่กระทำผิดเท่านั้น ส่วนจะเป็นความผิดกรณีร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์การกระทำผิด ตลอดจนความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดว่ามีมากน้อยเพียงใดประกอบด้วยการที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่หนีไปนอนระหว่างเวลาทำงาน แม้เป็นการกระทำที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้างแต่ก็เป็นช่วงเวลาส้ัน ๆ และไม่ได้ออกไปภายนอกบริษัททั้งไม่ปรากฏว่าการกระทำของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยเพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เมื่อโจทก์ไม่เคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือในการกระทำ ดังกล่าวมาก่อนการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์อย่างไรก็ตามการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีละทิ้งหน้าที่การงานไปเสียซึ่งจำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
ล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 และไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
5.พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกำขอของโจทก์เกี่ยวกับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Advertisement

รู้หรือไม่! ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน นายจ้างห้ามเรียกใบรับรองแพทย์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image