กทม. ค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เกินมาตรฐาน 11 พื้นที่

กทม. ค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เกินมาตรฐาน 11 พื้นที่

ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร

ประจำวันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

ตรวจวัดได้ 35-57 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 11 พื้นที่ คือ

1.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

Advertisement

2.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

3.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

4.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

Advertisement

5.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

6.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

7.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

8.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

9.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

10.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

11.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร = ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลาง

คำแนะนำ
คุณภาพอากาศดี = สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ
คุณภาพอากาศปานกลาง = ประชาชนทั่วไปสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง
คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ = ให้ประชาชนทั่วไปในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานให้เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร = อากาศเย็น

ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 เวลา05.00-07.00น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)
ตรวจวัดได้ 33-57 มคก./ลบ.ม.
ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร = 45.5 มคก./ลบ.ม.
ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีค่าเกินมาตรฐาน อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 12 พื้นที่ คือเขตลาดพร้าว เขตคลองสามวา เขตสายไหม เขตคันนายาว เขตปทุมวัน เขตบางกะปิ เขตบางเขน เขตบึงกุ่ม เขตมีนบุรี เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตหนองจอก

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image