กรมปศุสัตว์ จับมือ OIE เสริมแกร่งด้านเทคนิคและสุขภาพสัตว์

กรมปศุสัตว์ จับมือ OIE เสริมแกร่งด้านเทคนิคและสุขภาพสัตว์

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ห้องประชุมพระพิรุณ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะผู้แทนองค์การสุขภาพสัตว์โลกของประเทศไทย (the OIE delegate of Thailand) ได้เป็นหัวหน้าฝ่ายไทยในการประชุมร่วมคณะผู้แทนจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก หรือ OIE ทั้งนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง OIE และประเทศไทย ยกระดับความร่วมมือด้านสุขภาพสัตว์และด้านอื่นๆ ที่ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านสัตวแพทย์ต่อไป

ในการนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย น.สพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น.สพ.ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์   Dr.Monique Eloit, Director General of OIE Headquarters (Video conference) Dr.Hirofumi Kugita, OIE Regional representative for Asia and the Pacific, Dr.Ronello Abila ผู้แทนจาก OIE Sub-Regional representative for South-East Asia, OIE focal point ของประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย มกอช. กรมประมง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ กรป. อยส. สคบ สพส. สกม. สตส. กสก. และสสช.

น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยภายหลังการประชุมฯ ว่า ในการประชุมได้มีเน้นถึงประเด็นการดำเนินงานและความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่าย เช่น ความคืบหน้าการขอสถานะทางการทูตของ OIE และการจัดทำร่างข้อตกลงร่วมกัน  และการรับเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะกรรมาธิการระดับภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกไกลและโอเชียเนีย ครั้งที่ 32 ที่ประชุมเห็นชอบกำหนดจัดในสัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายน 2564 โดยจะมีการประชุมเตรียมการในวันที่ 25 มีนาคม 2564 นี้ รวมถึงการดำเนินการ PVS self-evaluation โครงการสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง (IHR/PVS National Bridging Workshop) และ PVS Laboratory ในด้าน animal disease ซึ่งประเทศไทยยินดีเข้าร่วม

“ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของมาตรการดำเนินการในการจัดการโรคระบาดสัตว์ต่างถิ่น (exotic diseases) ในการอนุญาตนำเข้าเพิ่มขึ้น จากมีหลายหน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์ โดย OIE จะรับไปเสนอและผลักดันให้เป็น National agenda ในที่ประชุมต่อไป อีกประเด็นที่มีความคืบหน้าอย่างหน้าพอใจ คือ ความร่วมมือด้านสุขภาพหนึ่งเดียว One Health ในเรื่องการทำ AMR aquatic ซึ่ง OIE จะพิจารณาพัฒนาทำมาตรฐานสากล รวมถึงแนวทางในการเฝ้าระวังและติดตามในสัตว์น้ำ ครอบคลุมในด้านเก็บตัวอย่าง วิธีการ การวิเคราะห์ข้อมูล และการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อไป  อีกประการที่ได้นำเสนอในการประชุมคือ การแนะนำ OIE National Focal Point of Thailand ด้านต่างๆ ในสถานะล่าสุด”

Advertisement

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอเพื่อความมั่นคงทางวัคซีน สามารถมีวัคซีนใช้เพียงพอในกรณีฉุกเฉิน ด้วยการจัดตั้ง rabies vaccine bank ขึ้นในภูมิภาค ซึ่งได้รับความเห็นชอบ โดยทาง OIE จะรับประสานผู้ผลิตและประเทศต้นทางเพื่อให้ได้ในราคากลาง นอกจากนี้ฝ่ายไทยยังเสนอให้มีการพัฒนามาตรฐานและแนวทางเกี่ยวกับ autogenous vaccine โดย OIE รับพิจารณาต่อไป และที่น่ายินดีอีกประการ ได้การการเกิดความร่วมมือด้านสัตว์ป่า เช่น โครงการ Twinning Program จากศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า ศูนย์สุขภาพสัตว์ป่า และแผนกิจกรรมความร่วมมือด้านสัตว์ป่า

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image