นักวิชาการ แจง ทำไมดาวตกตรวจสอบยาก และไม่สามารถตอบคำถามในทันที ทันใด

นักวิชาการ แจง ทำไมดาวตกตรวจสอบยาก และไม่สามารถตอบคำถามในทันที ทันใด

วันที่ 23 มิถุนายน นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) ได้โพสต์เฟชบุ๊ก อธิบายเพิ่มเติม กรณี สดร.ไม่สามารถตอบคำถามได้ทันทีภายหลังจากเกิดเหตุดาวตกชนิดระเบิด ที่ทำให้ชาวบ้าน ใน จ.เชียงใหม่หลายพื้นที่ ได้ยินเสียงดังสนั่น พร้อมกับเห็นแสงสีเขียวอมฟ้า บนท้องฟ้า โดยอธิบายไว้ว่า

จากข่าว “Meteor” ที่เชียงใหม่ ทำให้เกิดกระแสทัวร์ลง NARIT บ้างก็ว่าทำไม NARIT ต้องมาขอภาพ ทำไมไม่ตรวจจับได้เอง โพสต์นี้เราจะมาตอบแบบตรง ๆ กันว่าทำไม “Meteor” หรือดาวตก มันไม่ใช่สิ่งที่จะต้องมา Track กัน เพราะเอาจริง ๆ มัน Track ไม่ได้ด้วยซ้ำ

ก่อนอื่น หลายคนอาจจะคุ้นชินกับโครงการตรวจจับวัตถุต่าง ๆ หรือดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (Near-Earth Astroids) ที่ NASA จะคอยประกาศว่า มีดาวเคราะห์น้อยนู้นนี้เข้าใกล้โลก แล้วทีวีก็จะเอาไปลงข่าวกันให้คนตกใจกันเล่น ซึ่งวัตถุพวกนี้แน่นอนว่ามีขนาดใหญ่มาก และมันตรวจจับไม่ยากนัก ซึ่งนักดาราศาสตร์จะใช้ข้อมูลเช่น การตัดผ่านดาวพื้นหลัก, การเอาข้อมูลจาก Database มาหา Trajactory อะไรต่าง ๆ แล้วทำเป็น Database เก็บไว้ ซึ่งปกติวัตถุพวกนี้ที่อยู่ในฐานข้อมูล ขนาดเล็กที่สุดที่ตรวจจับกันก็จะอยู่ที่ประมาณ 15-20 เมตร

สามารถไปกดดู Database ได้ที่ – https://cneos.jpl.nasa.gov/ca/

Advertisement

ซึ่ง นั่นหมายความว่าวัตถุที่เล็กกว่านั้นตรวจจับยากใช่มั้ย คำตอบก็คือใช่ เพราะวัตถุพวกนี้ไม่มีแสงในตัวเอง หรือบางทีมันก็เล็กเกินกว่าจะไปตัดหน้าดาวฤกษ์จนเห็นได้ชัด ทำให้การตรวจจับวัตถุพวกนี้ยาก
แล้วทำไมตรวจจับขยะอวกาศหรือชิ้นส่วนจรวดได้? คำตอบก็คือ เพราะเรารู้วิถีโคจรของมันชัดเจน คือมนุษย์เป็นคนปล่อยไปเอง มนุษย์ก็ต้องรู้สิว่ามันจะไปตกแถวไหน บริเวณไหน ต่อให้จีนปล่อยแล้วจีนไม่บอกชาวบ้าน อย่างน้อยจีนเองก็ยัง Track ได้

ดังนั้นยิ่งเรามีข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุมาก ขนาด, ทิศทาง, วิถีโคจร, วัน เวลา เราก็จะยิ่งคำนวณได้ว่ามันจะไปอยู่ที่ไหน ตรงไหน เวลาเท่าไหร่ ซึ่งใน Database ของ CNEOS เขาก็ใช้วิธีแบบนี้แหละ เจอก็บันทึก ไม่เจอก็มี Trajactory มา Simulate ได้

แต่!! วัตถุขนาดเล็ก ๆ อย่างที่บอกว่าเล็กกว่า 15 เมตร มันตรวจจับยาก ซึ่งวัตถุพวกนี้ ด้วยขนาดของมันพอมันมาเจอโลกมันก็เผาไหม้ในบรรยากาศหมด เกิดเป็นแสงวาบ เป็น Sonic Boom อะไรก็ว่าไป
ทีนี้ ถามอีกว่า แล้วทำไมเราถึงบอกได้ว่า จะเกิด “ฝนดาวตก” ให้ไปรอดู รออธิฐาน ก็เพราะว่าเรารู้ เรารู้ว่าโลกกำลังจะโคจรเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นของดาวหางอยู่ ดังนั้นมันก็จะเห็นดาวตก ซึ่งก็ย้อนกลับไปอีกว่า เรามีข้อมูลเกี่ยวกับมัน เราเดินไปในสวนกล้วย เราก็รู้ว่าเราจะเจอกล้วย

Advertisement

แต่ถ้าเราเดินเข้าป่า แล้วเราเจอต้นกล้วยซักต้นนึง เราก็คงไม่ไปด่าเพื่อนว่าทำไมเพื่อนไม่บอกว่าจะเจอกล้วย (ก็มันไม่มี Data)

ซึ่งเอาจริง ๆ ขนาดของ Meteor (อย่างที่ตกที่เชียงใหม่) พวกนี้มันก็เล็กมากจริง ๆ แล้วเอาไปเทียบอะไรกับขนาดของวัตถุที่เจอใน Database CNEOS ไม่ได้เลย

ดังนั้นถามว่าต่อให้ยก Instrument NASA มา มันจะตรวจจับได้มั้ย คำตอบคือก็ไม่
ถ้าเรา Search YouTube เราจะเจอภาพจาก Dashcam รถที่ถ่าย Meteor ได้เต็มไปหมด
การที่หน่วยงานวิทยาศาสตร์บอกว่า ถ้าเจออะไรให้บอก มันก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะมันไม่ได้เป็นงานของเขา งานของเขาคือการให้ความรู้ และศึกษา และเอาความรู้กลับมาให้ประชาชนและวางรากฐาน ดังนั้นถ้ารากฐานดี Meteor มันก็จะไม่ใช่ปัญหา แค่นั้นเอง

ดังนั้น ดาวตกที่เชียงใหม่
ตรวจจับไม่ได้ใช่มั้ย: ใช่
ต้องกลัวมั้ย: ไม่
เรื่องปกติใช่มั้ย: ใช่
ต้องด่ามั้ย: ไม่
มีคนศึกษาเรื่องนี้อยู่มั้ย: มี

ทำไมไม่คอนเฟิร์มทันที: นักวิทยาศาสตร์เขาทำงานด้วยข้อมูล ไม่ใช่ความรู้สึก จะพูดอะไรต้องให้ชัวร์ก่อน
จะสังเกตว่า อ.แจ๊ค หรือ หัวหน้าแจ๊ค, หรือลูกพี่แจ๊ค ในแถลง จะใช้คำว่า “อาจเป็น” “คาดว่า” ตลอด
ภาพประกอบ: ดาวตกที่ JPL ถ่ายได้ “โดยบังเอิญ”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image