‘กระทรวงการอุดมศึกษฯ’ อวดตัวเลข ‘ไทย’ ฉีดวัคซีนแล้ว 9.05 ล้านโดส 

‘กระทรวงการอุดมศึกษฯ’ อวดตัวเลข ‘ไทย’ ฉีดวัคซีนแล้ว 9.05 ล้านโดส

วันที่ 27 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก พบว่า มีการฉีดวัคซีนแล้วจำนวน 2,898 ล้านโดส ใน 201 ประเทศหรือเขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกอยู่ที่ 43.6 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณารายประเทศพบว่า อิสราเอล ได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมเกินครึ่งของจำนวนประชากรรวมแล้ว ขณะที่สหรัฐอเมริกา มีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุด อยู่ที่ 322 ล้านโดส โดยมีพลเมืองสหรัฐ กว่า 152 ล้านคน ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันประมาณ 85.375 ล้านโดส โดยพบว่า สิงคโปร์ ได้ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค อยู่ที่ 50.5% ของประชากรรวม ขณะที่อินโดนีเซีย ฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุด อยู่ที่ 40.224 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2564 พบว่า ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 9,055,141 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็นเข็มแรก 6,475,826 โดส (9.7% ของประชากร) เข็มสอง 2 2,579,315 โดส (3.9% ของประชากร) จากจำนวนการจัดสรรวัคซีนทั้งหมด 10,600,000 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนกว่า 46.7%

ทั้งนี้ การฉีดวัคซีน จำนวน 2,898 ล้านโดสนี้ รายงานสถิติที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.-27 มิ.ย. 2564 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 9,055,141 โดส ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ จำนวน 218,411 โดสต่อวัน ประกอบด้วย วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 1 จำนวน 2,988,2598 โดส เข็มที่ 2 จำนวน 57,132 โดส และวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 1 จำนวน 3,486,362 โดส เข็มที่ 2 จำนวน 2,522,183 โดส

รายงานผู้มีอาการข้างเคียงภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน พบว่า
– 93.54% ไม่มีผลข้างเคียง
– 6.46% มีผลข้างเคียงไม่รุนแรง ประกอบด้วย
– ปวดกล้ามเนื้อ 1.55%
– ปวดศีรษะ 1.15%
– ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด 0.83%
– เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 0.75%
– ไข้ 0.51%
– คลื่นไส้ 0.35%
– ท้องเสีย 0.23%
– ผื่น 0.19%
– ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.15%
– อาเจียน 0.09%
– อื่น ๆ 0.66%

Advertisement

การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย พบว่า
– บุคลากรการแพทย์หรือสาธารณสุข เข็มที่ 1 จำนวน 105.2% เข็มที่ 2 จำนวน 93.4%
– อสม. เข็มที่ 1 จำนวน 27.8% เข็มที่ 2 จำนวน 14.7%
– ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่ 1 จำนวน 9.7% เข็มที่ 2 จำนวน 0.5%
– ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่ 1 จำนวน 11.6% เข็มที่ 2 จำนวน 2.6%
– เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่ 1 จำนวน 31.3% เข็มที่ 2 จำนวน 19.1%
– ประชาชนทั่วไป เข็มที่ 1 จำนวน 10.6% เข็มที่ 2 จำนวน 4.2%
รวม เข็มที่ 1 จำนวน 13% เข็มที่ 2 จำนวน 5.2%

ภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 85,375,720โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 40,224,794 โดส (9.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า
2. ฟิลิปปินส์ จำนวน 9,542,612 โดส (6.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของซิโนแวค, ไฟเซอร์, สปุตนิก วี และแอสตร้าเซนเนก้า
3. ไทย จำนวน 9,055,141 โดส (9.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า
4. มาเลเซีย จำนวน 7,226,949 โดส (15.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของไฟเซอร์, ซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า
5. กัมพูชา จำนวน 6,729,736 โดส (23%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของซิโนฟาร์ม, ซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า
6. สิงคโปร์ จำนวน 5,029,006 โดส (50.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา
7. เวียดนาม จำนวน 3,087,580 โดส (3.0%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า
8. พม่า จำนวน 2,994,900 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า
9. ลาว จำนวน 1,408,531โดส (12,0%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของซิโนฟาร์ม, สปุตนิก วี
10. บรูไน จำนวน 76,471โดส (14.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า และซิโนฟาร์ม
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

แบ่งจำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค ได้แก่
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 62.1%
2. อเมริกาเหนือ 14.5%
3. ยุโรป 15.54%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 5.94%
5. แอฟริกา 1.62%
6. โอเชียเนีย 0.3%

ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 4 ประเทศ ลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก ได้แก่
1. จีน จำนวน 1,143.81 ล้านโดส (40.8% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. สหภาพยุโรป จำนวน 350.49 ล้านโดส (39.5%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 322.12 ล้านโดส (50.3%)
4. อินเดีย จำนวน 321.14 ล้านโดส (11.7%)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image