สจล.โต้ไม่ได้ลอกฝรั่ง! โชว์ภาพร่าง”วิมานพระอินทร์” ริมเจ้าพระยามาจากเจดีย์ทรง”จอมแห-เกล็ดพญานาค”

สืบเนื่องกรณี เฟซบุ๊ก “FRIENDS OF RIVER” ซึ่งเป็นกลุ่มที่คัดค้านการก่อสร้างทางเลียบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เผยแพร่ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานครหรือ “วิมานพระอินทร์” ซึ่งเป็นจุดนำสายตาหรือแลนด์มาร์กของแม่น้ำเจ้าพระยา กับอาคารในกรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย ชื่อว่า “เดอะ คริสตัล ไอแลนด์” ออกแบบโดย นายนอร์แมน ฟอสเตอร์ สถาปนิกชาวอังกฤษ โดยมีข้อความว่าเป็นการลอกผลงานหรือไม่ นอกจากนี้ยังระบุว่าเป็นการยืนยันอย่างชัดเจนถึงการออกแบบที่”ทำลายราก”และความภาคภูมิใจของ ไทยจนหมดสิ้นด้วยการ”เลียนแบบฝรั่ง” (อ่านข่าว เทียบภาพ “แลนด์มาร์กเจ้าพระยา”-คริสตัล ไอแลนด์ รัสเซีย “เฟรนดส์ ออฟ ริเวอร์” ถามลอกฝรั่งมาทำลายรากความเป็นไทย?)

ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 ก.ย. เวลา 18.00 น. ตัวแทนของสถาบันสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการสำรวจ ออกแบบ และจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) ได้ชี้แจงกับ ‘มติชนออนไลน์’ ว่า อาคารดังกล่าวซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมเครื่องยอดทรงจอมแห ส่วนผนังได้รับแรงบันดาลใจจาดเกล็ดพญานาค โดยยังเป็นแนวความคิดเบื้องต้นเท่านั้น (คลิกชมอนิเมชั่นโครงการพัฒนาพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา)

สจล.ชี้แจง03

ตัวแทน สจล. ยังชี้แจงรายละเอียดด้วยว่า มีการทำแนวทางเลือกหลายแบบ ได้แก่

Advertisement

1.รูปทรงสถาปัตยกรรมไทย

2. รูปทรงสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย

3. รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โดยใช้แนวคิดของทรงและลวดลายแบบท้องถิ่น

Advertisement

โดย “พิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร” หรือวิมานพระอินทร์ เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาจุดหมายตาริมแม่น้ำเจ้าพระยา (River Landmarks) : การพัฒนาจุดหมายตาริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งแนวความคิดในการออกแบบจุดหมายตาของกรุงเทพฯ ประกอบด้วย

1. พิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร รูปแบบสถาปัตยกรรมเครื่องยอด “ทรงจอมแห” ผนังอาคารใด้แรงบันดาลใจจาก เกล็ดของ “พญานาค” ความสูง 234 เมตร พร้อมจุดชมวิว

2. เรือนไทยเก้าหมู่

3. พิธิภัณฑ์กลางแจ้ง การแสดงวิถีชีวิตริมน้ำ

4. ปฏิมากรรม โขลงช้าง สัญลักษณ์กรุงเทมหนคร

5. จุดชมวิวและปฎิมากรรม เศียรพญานาคพ่นน้ำ

ทั้งนี้ มีการจัดลำดับการดำเนินโครงการอยู่ในกรอบการดำเนินโครงการในแผนแม่บท 14 กม. ระยะที่ 1 ช่วงที่2 ของโครงการการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ชึ่งยังเป็นแนวความคิดเบื้องต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สจล. ยังเปิดเผยข้อมูลจากบทความเรื่อง “สถาปัตยกรรมเครื่องยอด ‘ทรงจอมแห’ ว่าด้วยหลักวิชาเส้น รูป และความรู้สึก : กรณีศึกษา ‘ยอดบุษบก-มณฑป’” โดย บุณยกร วชิระเธียรชัย (อาจารย์ ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) ใน วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ฉบับมกราคม-ธันวาคม 2558 ซึ่งเรียบเรียงวิธีการร่างแบบ “ยอดบุษบก-มณฑป” ไว้ 5 ส่วน โดยอธิบายถึงการ “กำหนดทรง” ร่างรูปทรงจอมแหให้ได้ลักษณะ เป็นขั้นตอนแรกส่วนสุดในการร่างแบบ “ยอดบุษบก-มณฑป”  ข้อมูลส่วนหนึ่ง มีดังนี้

 

1. ‘กำหนดทรง’ ร่างรูปทรงจอมแหให้ได้ลักษณะ
1.1 กำหนดให้รูปทรงจอมแหมีความกว้าง 1 ส่วน ความสูง 2 ส่วนถึง 2 ส่วนครึ่ง

1.2 ลากเส้นทรงจอมแหจากปลายยอดต่อเนื่องลงมาที่ฐานของทรงหรือความกว้างของปากแหทั้งซ้าย-ขวา กำหนดให้ปลายสุดของทรง คือปลายยอดเม็ดน้ำค้าง และฐานของทรง คือท้องเชิงกลอน ชั้นที่ 1 (โดยที่ปลายสุดของเส้นทรงหากมองในแบบร่างหรือแบบมาตราส่วนขนาดเล็กจะดูเสมือนมีจุดที่เส้นทรงรวบเข้าหากัน แต่ในความเป็นจริงแล้วปลายเส้นจะเปิดไว้เพื่อคุมทรงของปลียอดและเม็ดน้ำค้าง ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะปรากฏชัดในแบบมาตราส่วน 1 : 20 จนกระทั่งถึงแบบมาตราส่วน 1 : 1 ; สัมภาษณ์ ก่อเกียรติ ทองผุด, นายช่างศิลปกรรม สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร, 26 ธันวาคม 2557.”

 

สจล.

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image