ข้อเท็จจริง! ทารกแรกเกิด ‘ศีรษะเล็ก’ เพราะไวรัส ‘ซิกา’ จริงหรือไม่

เมื่อวันที่ 12 กันยายน  นพ.อำนวย  กาจีนะ  อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค(EOC) ว่า ในช่วงนี้ยุงลายมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝนของปี ซึ่งก็เป็นช่วงที่พบผู้ป่วยสูงสุดของโรคที่มาจากยุงลายด้วย ทั้งโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โดยช่วงหน้าฝนปีนี้ ยังพบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพิ่มเกือบ 3 เท่า  กรมควบคุมโรค จึงขอให้ประชาชนร่วมกันดำเนินมาตรการดังกล่าวให้จริงจัง โดยต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอและต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทุกวันศุกร์ในที่ทำงาน หรือทุกวันเสาร์-อาทิตย์ที่บ้าน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนนี้หรือทำอย่างเข้มข้นจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2559 นี้ และมีพื้นที่สำคัญ 6 ร. ที่ควรร่วมกันดำเนินการอย่างเข้มข้น ดังนี้ 1.โรงเรือน(บ้าน/ชุมชน)  2.โรงเรียน(สถานศึกษา/สถานเลี้ยงเด็กเล็ก) 3.โรงพยาบาล  4.โรงแรม/รีสอร์ท 5.โรงงาน/กลุ่มอุตสาหกรรมและ 6.โรงธรรม (วัด/มัสยิด/โบสถ์)

นพ.อำนวย กล่าวต่อว่า ส่วนในเรื่องทารกแรกเกิด ที่มีโอกาสเกิดภาวะศีรษะเล็กนั้น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน จากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเกิดของเด็กมีชีวิตและมีอาการศีรษะเล็ก 4.36 ต่อประชากรแสนคน หรือเฉลี่ยพบได้ 200-300 รายต่อปี ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 1.การติดเชื้อในกลุ่ม STORCH (Syphilis, Toxoplasmosis, Rubella, Cytomegalovirus, Herpes) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียและปรสิตบางชนิด ที่สามารถติดเชื้อได้ในคนทั่วไปและมีความสำคัญที่ทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์หรือทารกแรกเกิด  2.ได้รับสารเคมีบางชนิดขณะตั้งครรภ์ เช่น สารโลหะหนัก เป็นต้น  3.มีความผิดปกติของยีนตั้งแต่กำเนิด  และ 4.ภาวะการขาดสารอาหารอย่างรุนแรงในขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่าภาวะศีรษะเล็กมีความเชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสซิกา แต่อาจจะไม่ได้เป็นเพียงสาเหตุเดียว อาจมีปัจจัยร่วมอย่างอื่นด้วยที่ทำให้เกิดศีรษะเล็ก ทั้งนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและวิจัย ต่อไป

DEET เผยแพร่

อธิบดี คร. กล่าวอีกว่า สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการลดจำนวนผู้ป่วยลง คือการลดจำนวนของยุงลายในธรรมชาติให้น้อยลง ประกอบการการป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด และมาตรการที่รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันดำเนินการในปัจจุบันคือ “ประชารัฐร่วมใจ พิชิตลูกน้ำยุงลาย 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา รวมทั้งการกำจัดและควบคุมยุงตัวแก่ เช่น การพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด เช่น ทายากันยุง นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด กำจัดยุงโดยใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า จุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง หรือใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

Advertisement

“ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่อาการของโรคไม่รุนแรง และส่วนใหญ่ป่วยแล้วหายได้เอง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ซึ่งจะมีปัญหาเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีหลักฐานทางระบาดวิทยาที่บ่งชี้ว่าอาจสัมพันธ์กับอาการศีรษะเล็กในทารกแรกเกิด อาการเหล่านี้ทุเลาลงได้เองภายในเวลา 2-7 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นขอให้ไปพบแพทย์” นพ.อำนวย กล่าว

DSC_0157

1462794411096

Advertisement

ขอบคุณภาพจากกรมควบคุมโรค

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image