ตอบคำถาม ‘พืชกระท่อม’ ทำอาหาร ยากกว่าที่คิด

ตอบคำถาม ‘พืชกระท่อม’ ทำอาหาร ยากกว่าที่คิด

หลังจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พืชกระท่อม พ.ศ. … ในวาระที่ 3 ซึ่งสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว คือ การปลด ‘พืชกระท่อม’ ออกจากยาเสพติดประเภท 5 ประชาชนสามารถครอบครอง บริโภค และใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้ แต่ห้ามโฆษณาหรือนำมาทำน้ำต้มที่ผสมกับยาเสพติด (สูตร 4×100) คุ้มครองผู้บริโภค โดยแนะนำเรื่องการบริโภคใบกระท่อมมากเกินควรอาจจะเกิดอันตราย โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร อีกทั้งยังกำหนดมาตรการในการนำเข้าและส่งออกต้องขอรับใบอนุญาตก่อน แต่การเพาะ การปลูก และการขายใบพืชกระท่อม ให้ทำได้

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธาน กมธ. มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ใบกระท่อมมีประโยชน์หลายอย่างที่สามารถนำเป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอางได้ แต่มีข้อจำกัดด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอาง ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้เต็มที่ กมธ.เสนอแนะให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แก้กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า เป็นนโยบายที่ดี ที่ปลดล็อกพืชกระท่อม เพื่อให้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะบางพื้นที่นำพืชกระท่อมมาใช้ในชีวิตประจำวัน ถือเป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้องบอกว่ากระท่อมตอนนี้ นำมาใช้ด้วยตัวเอง ดูแลในครัวเรือนได้แล้ว เพราะปลดออกจากยาเสพติดแล้ว แต่การจะนำมาใช้เป็นอาหาร ยาสมุนไพร เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมาย เดิมกระท่อมเป็นสมุนไพรบำรุงร่างกาย ทำให้มีความอดทน ทำงานได้ยาวนานขึ้น แต่พอจะเอามาทำเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ก็จะมี พ.ร.บ.ยาสมุนไพร ควบคุมอยู่

Advertisement

อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดโอกาสให้สามารถนำมาขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ เพราะมีการใช้กันมานานดั้งเดิม เช่น รักษาอาการท้องเสีย

รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า การนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางนั้น เท่าที่มีข้อมูล ยังไม่มีการนำมาใช้ อีกทั้งโดยผลข้างเคียงของกระท่อม หากกินไปนานๆ จะทำให้ผิวดำคล้ำ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่ประชาชนต้องรู้ ส่วนเรื่องยา ในต่างประเทศยังไม่มีการนำมาสกัดเป็นสารสำคัญ หรือทำเป็นยา ถ้าจะทำเป็นยา ต้องทำวิจัย ทดลองด้านความปลอดภัย ก่อนนำมาขึ้นทะเบียน ซึ่งต้องใช้กระบวนการนานพอสมควร

“ส่วนที่สนใจกัน คือ การนำมาทำเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ต้องบอกว่า เดิมกระท่อมถูกใช้เป็นยา ไม่ได้ถูกใช้เป็นอาหาร หากจะนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารหรือเครื่องดื่ม ต้องมั่นใจว่าปลอดภัยที่จะนำมาบริโภค ต้องมีการทำวิจัย ขนาดที่กินเท่าไร กินบ่อยๆ จะมีพิษต่อร่างกายหรือไม่ แต่วันนี้ กระท่อมยังถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มอาหารที่ไม่ควรกิน ยังคงถูกห้ามนําไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากอยู่ในบัญชีที่เป็นเนกาทีฟ ลิสต์ (Nagative list) หรือเรียกว่า ยังเป็นของที่กินแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น มีอาการเมา ท้องเสียรุนแรง อาการเป็นพิษ ซึ่งกระท่อม ก็เป็น 1 ในตัวนั้น และขณะนี้ก็ยังอยู่ในบัญชีดังกล่าว หากจะนำมาใช้เป็นอาหาร จะต้องปลดออกจากบัญชีนี้ก่อน ซึ่งต้องมีการถกเถียงอภิปรายกันอย่างมากว่า ถ้าเอามากินจะเป็นคุณหรือเป็นพิษต่อร่างกาย” นพ.วิทิตกล่าว นพ.วิทิตบอกว่า

Advertisement

ในความเห็นส่วนตัว วันนี้กระท่อมนั้นกินเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มยังไม่ได้ แต่อาจกินเป็นยาได้ โดยเฉพาะเป็นยาสมุนไพร แต่หากจะกินเป็นอาหารต้องปลดออกจากเนกาทีฟ ลิสต์ ก่อน เมื่อปลดออกจากเนกาทีฟ ลิสต์ ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องมีผู้ที่สนใจที่จะนำมาผลิตเป็นอาหาร จะทำเป็นอาหารในครัวเรือน ปรุงสด ย่อมได้ แต่หากจะเอาไปขายในเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม ผู้ผลิตต้องไปขออนุญาตขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ โดยการทำวิจัย แสดงค่าความปลอดภัยที่จะใส่พืชกระท่อม หรือสารสำคัญในพืชกระท่อมเพื่อผลิตเป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม เพื่อจำหน่าย การวิจัยนี้ต้องบอกว่าปริมาณเท่านั้น เท่านี้ ต้องปลอดภัย และต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการวิชาการที่พิจารณางานวิจัยนั้นๆ ถ้าคณะกรรมการเห็นชอบ จะมีการกำหนดค่ามาตรฐานของอาหารหรือเครื่องดื่ม และกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้สามารถผสมพืชกระท่อม หรือสารสำคัญในพืชกระท่อมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มตามปริมาณที่กำหนด เพื่อให้สามารถนำไปจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ได้” นพ.วิทิตอธิบายขั้นตอน

นอกจากนี้ นพ.วิทิตกล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมกับกระทรวงสาธารณสุข หารือกันมาตลอด แต่ต้องเรียนว่าเรื่องนี้ในส่วนของนักวิชาการยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับการนำกระท่อมมาเป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปใช้ผิดประเภท จากการศึกษากระท่อมพบว่า ใบกระท่อมมีสารสำคัญเพียงตัวเดียว เรียกว่า “ไมทราไจนีน” (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) หากนำไปใช้ผิดประเภทแบบวัยรุ่นบางกลุ่มที่นำไปใช้กัน ก็เกิดปัญหาได้

ถามว่าในต่างประเทศ ไม่นำกระท่อมมาใช้กันบ้างหรือไม่ นพ.วิทิตกล่าวว่า ยังไม่มีนำมากินกันอย่างแพร่หลาย จะมีก็เฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ แต่ทางญี่ปุ่น หรือประเทศฝั่งตะวันตก ไม่ได้กำหนดให้กระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจเสียด้วยซ้ำ และไม่คิดจะนำมาบริโภคเป็นอาหารและเครื่องดื่ม แต่ที่ในประเทศไทย ปลดล็อก คือ ให้กินได้ เพราะถือเป็นวัฒนธรรมการใช้ยาสมุนไพรในบางท้องถิ่น ถือเป็นเรื่องปกติ แต่กังวลตรงที่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะใช้กระท่อมเป็นอาหารในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ต้องมีขั้นตอน ถ้าเราจะทำจริงๆ ต้องใช้เวลาหรือกระบวนการต่างๆ กว่าจะออกมาเป็นกฎหมาย คือ ต้องทำวิจัย ซึ่งเป็นเรื่องยาก ยิ่งเราจะเริ่มวิจัยเองก็ยิ่งยาก ไม่เหมือนกับการไปหางานวิจัยของต่างประเทศ แล้วมาวิจัยต่อยอด หรือปรับให้เป็นสัดส่วนที่คนไทยสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย เรื่องการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ ต้องมีกระบวนการ และต้องเป็นการวิจัยจากสถาบันวิจัยที่น่าเชื่อถือ ถึงจะได้รับการยอมรับ แต่ถ้าทำเป็นยาสมุนไพร แม้จะต้องขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร ก็ยังจะง่ายและใช้เวลาน้อยกว่า อาจทำเป็นยาน้ำสมุนไพร ก็ได้ ซึ่งใครต้องการผลิตเพื่อจำหน่ายก็ต้องไปขึ้นทะเบียนตำรับยาให้ถูกต้อง เป็นสูตรๆ ไป “แต่ถ้าทำเป็นอาหาร เครื่องดื่ม จะยากขึ้นไปอีก แถมกินมากก็ตัวดำ ส่วนเครื่องสำอางยังไม่ทราบว่ามีที่ไหนเคยผลิตหรือไม่” นพ.วิทิตกล่าวตอบคำถาม

‘พืชกระท่อม’ทำอาหาร ยากกว่าที่คิด หลังจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พืชกระท่อม พ.ศ. … ในวาระที่ 3 ซึ่งสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว คือ การปลด “พืชกระท่อม” ออกจากยาเสพติดประเภท 5 ประชาชนสามารถครอบครอง บริโภค และใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้ แต่ห้ามโฆษณาหรือนำมาทำน้ำต้มที่ผสมกับยาเสพติด (สูตร 4×100) คุ้มครองผู้บริโภคโดยแนะนำเรื่องการบริโภคใบกระท่อมมากเกินควรอาจจะเกิดอันตราย โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร อีกทั้งยังกำหนดมาตรการในการนำเข้าและส่งออกต้องขอรับใบอนุญาตก่อน แต่การเพาะ การปลูก และการขายใบพืชกระท่อม ให้ทำได้

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธาน กมธ. มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ใบกระท่อมมีประโยชน์หลายอย่างที่สามารถนำเป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอางได้ แต่มีข้อจำกัดด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอาง ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้เต็มที่ กมธ.เสนอแนะให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แก้กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า เป็นนโยบายที่ดี ที่ปลดล็อกพืชกระท่อม เพื่อให้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะบางพื้นที่นำพืชกระท่อมมาใช้ในชีวิตประจำวัน ถือเป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้องบอกว่ากระท่อมตอนนี้ นำมาใช้ด้วยตัวเอง ดูแลในครัวเรือนได้แล้ว เพราะปลดออกจากยาเสพติดแล้ว แต่การจะนำมาใช้เป็นอาหาร ยาสมุนไพร เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมาย เดิมกระท่อมเป็นสมุนไพรบำรุงร่างกาย ทำให้มีความอดทน ทำงานได้ยาวนานขึ้น แต่พอจะเอามาทำเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ก็จะมี พ.ร.บ.ยาสมุนไพร ควบคุมอยู่ อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดโอกาสให้สามารถนำมาขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ เพราะมีการใช้กันมานานดั้งเดิม เช่น รักษาอาการท้องเสีย

รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า การนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางนั้น เท่าที่มีข้อมูล ยังไม่มีการนำมาใช้ อีกทั้งโดยผลข้างเคียงของกระท่อม หากกินไปนานๆ จะทำให้ผิวดำคล้ำ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่ประชาชนต้องรู้ ส่วนเรื่องยา ในต่างประเทศยังไม่มีการนำมาสกัดเป็นสารสำคัญ หรือทำเป็นยา ถ้าจะทำเป็นยา ต้องทำวิจัย ทดลองด้านความปลอดภัย ก่อนนำมาขึ้นทะเบียน ซึ่งต้องใช้กระบวนการนานพอสมควร

“ส่วนที่สนใจกัน คือ การนำมาทำเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ต้องบอกว่า เดิมกระท่อมถูกใช้เป็นยา ไม่ได้ถูกใช้เป็นอาหาร หากจะนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารหรือเครื่องดื่ม ต้องมั่นใจว่าปลอดภัยที่จะนำมาบริโภค ต้องมีการทำวิจัย ขนาดที่กินเท่าไร กินบ่อยๆ จะมีพิษต่อร่างกายหรือไม่ แต่วันนี้ กระท่อมยังถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มอาหารที่ไม่ควรกิน ยังคงถูกห้ามนําไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากอยู่ในบัญชีที่เป็นเนกาทีฟ ลิสต์ (Nagative list) หรือเรียกว่า ยังเป็นของที่กินแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น มีอาการเมา ท้องเสียรุนแรง อาการเป็นพิษ ซึ่งกระท่อม ก็เป็น 1 ในตัวนั้น และขณะนี้ก็ยังอยู่ในบัญชีดังกล่าว หากจะนำมาใช้เป็นอาหาร จะต้องปลดออกจากบัญชีนี้ก่อน ซึ่งต้องมีการถกเถียงอภิปรายกันอย่างมากว่า ถ้าเอามากินจะเป็นคุณหรือเป็นพิษต่อร่างกาย” นพ.วิทิตกล่าว นพ.วิทิตบอกว่า

ในความเห็นส่วนตัว วันนี้กระท่อมนั้นกินเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มยังไม่ได้ แต่อาจกินเป็นยาได้ โดยเฉพาะเป็นยาสมุนไพร แต่หากจะกินเป็นอาหารต้องปลดออกจากเนกาทีฟ ลิสต์ ก่อน เมื่อปลดออกจากเนกาทีฟ ลิสต์ ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องมีผู้ที่สนใจที่จะนำมาผลิตเป็นอาหาร จะทำเป็นอาหารในครัวเรือน ปรุงสด ย่อมได้ แต่หากจะเอาไปขายในเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม ผู้ผลิตต้องไปขออนุญาตขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ โดยการทำวิจัย แสดงค่าความปลอดภัยที่จะใส่พืชกระท่อม หรือสารสำคัญในพืชกระท่อมเพื่อผลิตเป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม เพื่อจำหน่าย การวิจัยนี้ต้องบอกว่าปริมาณเท่านั้น เท่านี้ ต้องปลอดภัย และต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการวิชาการที่พิจารณางานวิจัยนั้นๆ ถ้าคณะกรรมการเห็นชอบ จะมีการกำหนดค่ามาตรฐานของอาหารหรือเครื่องดื่ม และกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้สามารถผสมพืชกระท่อม หรือสารสำคัญในพืชกระท่อมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มตามปริมาณที่กำหนด เพื่อให้สามารถนำไปจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ได้” นพ.วิทิตอธิบายขั้นตอน

นอกจากนี้ นพ.วิทิตกล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมกับกระทรวงสาธารณสุข หารือกันมาตลอด แต่ต้องเรียนว่าเรื่องนี้ในส่วนของนักวิชาการยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับการนำกระท่อมมาเป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปใช้ผิดประเภท จากการศึกษากระท่อมพบว่า ใบกระท่อมมีสารสำคัญเพียงตัวเดียว เรียกว่า “ไมทราไจนีน” (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) หากนำไปใช้ผิดประเภทแบบวัยรุ่นบางกลุ่มที่นำไปใช้กัน ก็เกิดปัญหาได้ ถามว่าในต่างประเทศ ไม่นำกระท่อมมาใช้กันบ้างหรือไม่ นพ.วิทิตกล่าวว่า ยังไม่มีนำมากินกันอย่างแพร่หลาย จะมีก็เฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ แต่ทางญี่ปุ่น หรือประเทศฝั่งตะวันตก ไม่ได้กำหนดให้กระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจเสียด้วยซ้ำ และไม่คิดจะนำมาบริโภคเป็นอาหารและเครื่องดื่ม แต่ที่ในประเทศไทย ปลดล็อก คือ ให้กินได้ ย้ำ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image