สธ.มอบโอกาส ‘คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน’ คนพิการขาขาดได้ขาเทียมทุกคน

เมื่อวันที่ 26 กันยายน  นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดงาน “คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน คนพิการขาขาดทุกคนได้รับขาเทียม 100%”   ว่า  จำนวนคนพิการในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ และสูงวัย โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2558 พบมีคนพิการร้อยละ 2.52 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 2 ล้านกว่าราย และขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการ 1,918,867 ราย พิการขาขาดประมาณ 50,000 ราย ซึ่งข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) พบว่า มีคนที่ต้องถูกตัดขาเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3,500 ราย และคาดว่ามีคนพิการจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการ จากข้อจำกัดเช่น ราคาอุปกรณ์ที่ค่อนข้างสูง หรือการเดินทางลำบาก

S__31490112

นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ มี “พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556” เพื่อให้ผู้พิการได้รับสิทธิ  โอกาส การคุ้มครองจากรัฐ  เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลือจากรัฐ  ในส่วนกระทรวงสาธารณสุข   โดยเฉพาะในเรื่องกายอุปกรณ์ที่ช่วยให้ดำเนินกิจวัตรประจำวันได้สะดวก  ได้มอบให้สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติให้บริการทั้งแบบตั้งรับในหน่วยบริการ และออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตาม “โครงการมอบแขนขาเทียมให้คนพิการทั่วประเทศ” และ “โครงการคนไทยไม่ทอดทิ้งกันคนพิการขาขาดทุกคนได้รับขาเทียม 100%” เพื่อให้คนพิการแขนขาขาดทั้งรายเก่าและรายใหม่สามารถเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

“ผลการดำเนินการระหว่างปี 2557-2559  สามารถให้บริการคนพิการทางการเคลื่อนไหว 7,795 ราย  เป็นบริการทำแขนขาเทียม 3,078 ราย ซ่อมแซมแขนขาเทียม 1,176 ราย บริการด้านอื่นๆ เช่น  รถนั่งคนพิการ  รถสามล้อโยก  อุปกรณ์ช่วยเดิน 3,541 ราย  นอกจากนี้ได้มอบรถผลิตแขน-ขาเทียม1 คัน  ให้โรงพยาบาลพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก   โดยมีรถผลิตแขน-ขาเทียม 2 คัน   ออกหน่วยเคลื่อนที่ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวทั่วประเทศ  63 ครั้ง โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชนกว่า 200  แห่ง” นพ.ปิยะสกล กล่าว

Advertisement

93997

93999

สำหรับโครงการคนไทยไม่ทอดทิ้งกันฯ ให้บริการระหว่างวันที่ 11-26 เดือนกันยายน 2559 มีกิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย การตรวจประเมินและออกเอกสารรับรองความพิการสำหรับคนพิการขาขาด การผลิตและซ่อมแซมขาเทียม การฝึกสอนการใช้ขาเทียมพร้อมแนะนำการดูแลรักษาขาเทียมให้แก่คนพิการและญาติ การมอบอุปกรณ์เครื่องช่วยการเดินแก่คนพิการขาขาดในรายที่เหมาะสม เช่น รถเข็น ไม้ค้ำยัน เป็นต้น มีผู้พิการลงทะเบียนเข้ารับบริการเกือบ 200 ราย

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image