“โอบกอดเจ้าพระยา” สะดุด เหตุฝนกระหน่ำ ยกเลิกเสวนา-คนร่วมไม่ถอย แถลงค้านทางเลียบกลางสายฝน

เมื่อวันที 9 ต.ค. เวลา 13.30 น. ที่สวนสันติชัยปราการ ถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร มีการจัดงาน “โอบกอดเจ้าพระยาด้วยความรัก Hug The River” โดยกลุ่มสมัชชาแม่น้ำ บรรยากาศคึกคัก มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็น ชาวบ้านจากลุ่มน้ำต่างๆ เช่น บางปะกง ท่าจีน แม่กลอง ประชาคมหลายแห่ง เช่น บางลำพู และกลุ่มอนุรักษ์ เช่น กลุ่มรักษ์บางประทุน รวมถึงนักวิชาการ นักอนุรักษ์ และประชาชนทั่วไป

นายยศพล บุญสม ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มสมัชชาแม่น้ำ กล่าวว่า แม่น้ำมีพลังผูกพันกับสังคมไทยมายาวนาน ขณะนี้กำลังมีความเปลี่ยนแปลง คือ ทางเลียบเจ้พาระยา อาจเป็นแม่น้ำสายใหม่ที่เราอาจไม่ต้องการ ขอให้การรวมพลังวันนี้เป็นสัญญาณส่งถึงรัฐบาล ว่าเราต้องการพัฒนาที่เป็นธรรม ฟังเสียงชาวบ้านทุกลุ่มน้ำ มีทางเลือกของการพัฒนาที่ยั่งยืน ขอให้ยุติโครงการที่ทำลายสิทธิขั้นพื้นฐาน

เป๊ก บลูสกาย ร่วมงานในนามกลุ่มรักษ์บางประทุนและประชาคมบางลำภู
เป๊ก บลูสกาย ร่วมงานในนามกลุ่มรักษ์บางประทุนและประชาคมบางลำภู
ณัฎฐกฤษฎิ์ อกนิษฐ์ธาดา และอรศรี ศิลปี ประธานประชาคมบางลำภู
ณัฎฐกฤษฎิ์ อกนิษฐ์ธาดา และอรศรี ศิลปี ประธานประชาคมบางลำภู

ต่อมา มีการขับเสภาโดย นายณัฎฐกฤษฎิ์  อกนิษฐ์ธาดา เนื้อหาเกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเป็นรวมน้ำตาของคนไทย หากโครงการนี้เกิดขึ้นจริง รวมถึงมีการขับร้องบทเพลงโดย เป๊ก บลูสกาย นักร้องชื่อดัง ซึ่งมาในนามกลุ่มรักษ์บางประทุน และประชาคมบางลำพู

ทั้งนี้ ขณะที่การขับเสภาจบลง ได้มีฝนตกลงมา ผู้ร่วมงานจึงเข้าไปหลบฝนเป็นเวลาราวครึ่งชัวโมง ทำให้กำหนดการในส่วนของการเสวนาต้องยกเลิก

Advertisement

หลังจากฝนหยุดตก ได้มีการรวมตัวกันที่ลานริมแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วอ่านแถลงการณ์ มีเนื้อหาดังนี้

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้าง”ความเท่าเทียม”กันของทุกคนในสังคมให้สามารถเข้าถึงแม่น้ำได้ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมี”ทางเลียบแม่น้ำ” เป็น”คำตอบเดียว”ให้กับสังคม

แนวนโยบายของการมุ่งเน้นสร้าง”ความเท่าเทียม”ทางกายภาพต่อการเข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยาดังกล่าวกำลังทำลายการพัฒนาแม่น้ำที่”เป็นธรรม”กับทุกฝ่ายในสังคมที่เป็นเจ้าของแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นกัน เพราะแม่น้ำเจ้าพระยาคือ “สายน้ำแห่งชีวิต” ที่คนไทยผูกพัน พึ่งพิงใช้ประโยชน์ เชื่อมโยงวิถีคน วิถีธรรมชาติ และวิถีวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน ดังนั้นการการพัฒนาใดก็ตามของแม่น้ำย่อมส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้างทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในหลากหลายมิติ

Advertisement

แม่น้ำเจ้าพระยาเองกำลังเผชิญปัญหาและความท้าทายมากมายจากการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อแม่นำ้มาโดยตลอด ซึ่งโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยการสร้างทางเลียบแม่นำ้นี้ จะเป็น”ฟางเส้นสุดท้าย”ที่จะทำลายแม่น้ำให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ

ทำลายวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ และจะเป็นการเพิ่มปัญหาสังคมในพื้นที่ให้มีมากขึ้น

ทำลายทัศนียภาพอันเป็นเอกลักษณ์ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว

ทำลายระบบการสัญจรและการข่นส่งทางน้ำอันเนื่องมาจากแม่น้ำแคบลง

ส่งผลกระทบด้านชลศาสตร์ในลำน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เมืองมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางน้ำตามมาในอนาคต โดยผลกระทบด้านชลศาสตร์นี้ไม่เพียงแค่กรุงเทพมหานครที่ได้รับผลกระทบแต่รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำอื่นๆ ทั้งต้นน้ำ และปลายน้ำอีกด้วย

จากซ้าย ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกชื่อดัง, สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ และกฤษดา สุโกศล แคลปป์ หรือ "น้อยวงพรู" ผู้บริหารโรงแรม เดอะ สยาม ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
จากซ้าย ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกชื่อดัง, สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ และกฤษดา สุโกศล แคลปป์ หรือ “น้อยวงพรู” ผู้บริหารโรงแรม เดอะ สยาม ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ทำลายระบบนิเวศน์ในแม่น้ำ

ทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของแม่น้ำ จากการสร้างสิ่งแปลกปลอมลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นโบราณสถานและมรดกของชาติจนหมดสิ้น

ทำลายสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐานที่พลเมืองทุกคนพึงมีต่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาบ้านเมืองร่วมกัน เพราะการพัฒนาดังกล่าวที่มีธง ขาดทางเลือก

ทำลายโอกาสที่แแม่น้ำจะถูกฟื้นฟูและพัฒนาอย่างเหมาะสมเพื่อตอบรับกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การ”ทำลาย”จากคำกล่าวอ้างของการ”พัฒนา”ภายใต้โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของรัฐบาลที่กำลังดำเนินอยู่ ณ ขณะนี้สะท้อนให้เห็นว่าโครงการฯ กำลัง”ละเลย”ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแม่น้ำอย่างบูรณาการ ทั้งยังละเลยต่อเสียงสะท้อนของประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับแม่น้ำอย่างกว้างขวาง และละเลยการเสนอทางเลือกของการพัฒนาที่สอดคล้องกับแต่ละบริบท เพราะ”ทางเลียบแม่นำ้เพื่อการเข้าถึงแม่น้ำอย่างเท่าเทียม” ไม่ใช่คำตอบที่”เป็นธรรม”กับแม่น้ำ และประชาชนทุกฝ่ายในสังคมที่เป็นเจ้าของแม่น้ำเจ้าพระยาร่วมกัน

ก่อนที่แม่น้ำจะถูกทำลายด้วยคำกล่าวอ้างของการพัฒนามากไปกว่านี้ ทางเครือข่ายภาคประชาชนในนาม”สมัชชาแม่น้ำ”อันประกอบไปด้วยภาคีเครือข่ายกว่า 70 องค์กร จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล”ยุติโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา” เพื่อนำไปสู่การร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ต่อการฟื้นฟูและพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาร่วมกัน โดยมีประชาชนเป็น”หุ้นส่วน”ของการพัฒนาที่แท้จริง ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่”เป็นธรรมและยั่งยืน” เพื่อที่เราจะได้ส่งต่อแม่น้ำเจ้าพระยา “สายน้ำแห่งชีวิต” นี้ให้กับลูกหลานเราในอนาคตได้อย่างภาคภูมิ

(ชุดขาว) ดร. รัชดา ธนาดิเรก อดีตสส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์
(ชุดขาว) ดร. รัชดา ธนาดิเรก อดีตสส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์

ต่อจากนั้น มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการโดยบุคคลต่างๆ อาทิ นายดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกชื่อดัง, นายทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการนิตยสารอะเดย์, นาย กฤษดา สุโกศล แคลปป์ หรือ “น้อย วงพรู” ศิลปินชื่อดัง พร้อมด้วยนาย สุกี้ กมล สุโกศล แคลปป์ ซึ่งทั้งคู่เป็นผู้บริหารโรงแรมเดอะสยาม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

นอกจากนี้ ยังมีเรือศิลปิน ซึ่งล่องแม่น้ำเจ้าพระยาจากสะพานพระรามที่ 7 มาสมทบอีกด้วย

อนึ่ง ภายในงานยังมีการแจกเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงข้อความที่ระบุว่า “ทางเลียบเจ้าพระยา เลิกเสียเถอะ” ลงชื่อ นายขวัญสรวง อติโพธิ

Hug08
ขวาสุด ยศพล บุญสม ผู้ร่วมก่อตั้งสมัชชาแม่น้ำ และ FRIENDS OF THE RIVER

Hug10

เรือศิลปิน
เรือศิลปิน

Hug06

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image