‘บิ๊กปั๊ด-รอย’สั่งการ’บิ๊กหลวง’จับมือกรมอาชีวศึกษาทำ MOU คิดเครื่องมิอระงับเหตุ

‘บิ๊กปั๊ด-รอย’สั่งการ’บิ๊กหลวง’จับมือกรมอาชีวศึกษาทำ MOU สร้างนวัตกรรมใหม่ คิดเครื่องมิอระงับเหตุ สำหรับสายงานป้องกันปราบแราม เข่น เครื่องมือหยุดรถยนต์ ไม้ง่ามที่พกง่าย ขณะที่สงกรานต์ นำนศ.ช่วยเหลือผู้ใช้รถ-ล้างแอร์ตู้ยามตร.ฟรี

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) มอบหมายให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. โดย พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ รองจเรตำรวจแห่งชาติ (ช่วยเหลืองาน ปป.) ได้เป็นตัวแทน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และ ร.ท.สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประชุมหารือ การดำเนินการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ภายใต้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา ครั้งที่ 1
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้ พ.ต.อ.พิษณุ วัตถุ รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา /คณะทำงาน , พ.ต.อ.สมบัติ หงษ์ทอง รอง ผบก.ภ.จว.ชัยภูมิ /คณะทำงาน , พ.ต.อ.พิชิต มีแสง รอง ผบก.ภ.จว.ชัยภูมิ /คณะทำงาน , พ.ต.อ.กรกฎ โปชยะวณิช รอง ผบก.สปพ./คณะทำงาน , พ.ต.อ.ธีระชัย ชำนาญหมอ รอง ผบก.สส.บช.น./คณะทำงาน , พ.ต.อ.ฐีรวิทย์ บุษบัน รอง ผบก.อก.บช.น. /คณะทำงาน , ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา , ดร.พงค์สิลป์ รัตนอุดม ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก , นายพิชเชฎฐ์ สุคนธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ที่ห้องประชุม ศปก.ตร. ชั้น 20 อาคาร 1 ตร.


นอกจากนี้ ยังมีตัวแทน บช.น. , ภ.1-9 เข้าร่วมประชุมผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (video conference) ดังนี้พล.ต.ต.สำเริง สวนทอง รอง ผบช.น. ,พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภ.1 ,พล.ต.ต.สุรจิต ชิงนวรรณ์ รอง ผบช.ภ.2 }พล.ต.ต.พรหมณัฏฐเขต ฮามคำไพ รองผบช.ภ.3 ,พล.ต.ต.สายเพชร ศรีสังข์ รอง ผบช.ภ.4 ,พล.ต.ต.พิเชษฐ จีระนันตสิน รอง ผบช.ภ.5 ,พล.ต.ต.พยูห์ ธนะศรีสืบวงศ์ รอง ผบช.ภ.6 ,พล.ต.ต.ปรัชญา ประสานสุข รอง ผบช.ภ.7 ,พล.ต.ต.ศักย์ศิรา เผือกอ่ำ รอง ผบช.ภ.8 ,พล.ต.ต.กฤษฎา แก้วจันดี รอง ผบช.ภ.9
สำหรับเนื้อหาการประชุม คือ 1.ให้ บช.น. , ภ.1-9 สำรวจตู้ยามจราจร และสายตรวจในพื้นที่ ที่มีความประสงค์ล้างแอร์ เพื่อที่จะได้แจ้งจุดและจำนวน กับสถาบันอาชีวศึกษา ดำเนินการจัดส่งนักเรียนภายในสังกัดมาช่วยดำเนินการจิตอาสาในการล้างแอร์ 2.ให้ บช.น. , ภ.1-9 ประสาน สถาบันอาชีวศึกษา ในพื้นที่แต่ละจังหวัด เพื่อตั้งจุดบริการประชาชน จำนวน 77 จุด ทั่วประเทศ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 3.ด้านนวัตกรรม ให้ บช.น. , ภ.1-9 ส่งรายชื่อผู้แทน มาร่วมเป็นคณะทำงาน ในการให้นักเรียนอาชีวศึกษา คิดค้น นวัตกรรม เครื่องมือที่สามารถใช้ระงับเหตุ เบื้องต้น ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ โดยจะมีสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว


พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ ได้สั่งการคือ 1.จัดทำข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ภัยคุกคามและสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์(ข้อมูล IPB)ของโรงเรียน สถานศึกษาที่มีความเสี่ยงที่จะก่อเหตุทะเลาะวิวาท 2.สำรวจปฏิทินการศึกษาของแต่ละสถาบันการศึกษาที่มีความเสี่ยงจะก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยให้มีข้อมูลวันเปิด-ปิด ภาคเรียนวันจัดกิจกรรมสำคัญต่างๆ เพื่อประกอบการวางแผน และพื้นที่ภายนอก จุดเสี่ยงจุดล่อแหลม 3.จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจรับผิดชอบประจำสถานศึกษา เป็นผู้ประสานงาน 4.สน./สภ.ทุกแห่งจัดประชุมร่วมกับสถานศึกษา เน้นการทำงานเชิงรุก 5.เพิ่มจุดติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ในพื้นที่ให้มากขึ้น โดยขอความร่วมมือภาครัฐและเอกชน 6.จัดสายตรวจเฝ้าระวังป้องกัน จุดเสี่ยง/จุดล่อแหลม ตามห้วงเวลาที่เหมาะสม จัดชุดเคลื่อนที่เร็วร่วมปฏิบัติและเข้าจุดก้าวสกัดจับ
พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวว่า 7.มีการบูรณาการกำลัง ในการตรวจค้น/จับกุม 8.กำหนดแผนการระดมปิดล้อม ตรวจค้น กดดัน การรวมกลุ่มในที่สาธารณะ การตรวจค้นยานพาหนะ 9.กำหนดแผนมาตรการป้องกัน กลุ่มบุคคลที่จะติดตามไปทะเลาะวิวาทในสถานพยาบาล และมีการซักซ้อมแผน 1.ดำเนินการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มข้น เฉียบขาดในทุกฐานความผิด 11.แสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชน ขยายแนวร่วม และ12.ให้ บช.น. /ภ.1-9 โฆษก ตร. และ สท.ประชาสัมพันธ์ เสนอข่าวในเชิงบวก กิจกรรม โครงการที่เกี่ยวข้องให้ประชาชนทราบ13.มอบหมายให้ รอง ผบช. และ รอง ผบก.น./ภ.จว. ที่รับผิดขอบงาน ปป. และ หน.สน./สภ. ควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติอย่างใกล้ชิด

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image