จิตแพทย์แนะทางออกลดขัดแย้งในโซเชียลฯ

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์สุขภาพจิตของคนไทยจากความโศกเศร้าต่อการจากไปของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่าจากการติดตามสภาวะสุขภาพจิตพบว่า บางส่วนมีแนวโน้มดีขึ้น คาดว่าภาวะความโศกเศร้าจะเป็นเช่นนี้ไปอีก 1 เดือน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ  กลุ่มที่มีภาวะโศกเศร้านาน ได้แก่ เด็ก  และผู้สูงอายุ  เนื่องจากเด็กยังเป็นวัยที่ต้องการความเอาใจใส่ แต่ขณะนี้พ่อแม่บางส่วน  อาจสนใจแต่ข่าว ร้องไห้ทุกข์เศร้าหากเป็นเด็กเล็กมากอาจไม่มีความเข้าใจ เพียงพอ อีกทั้งรายการโทรทัศน์ก็ไม่มีรายการเด็กทำให้เด็กอาจรู้สึกความสนใจในตัวเองน้อยลง ไม่มีสิ่งบันเทิงเกิดขึ้น

นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ส่วนในผุ้สูงอายุ  ต้องเข้าใจว่าเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของประเทศ จากการเห็นพระราชกรณียกิจจำนวนมากที่พระองค์มีให้มามากกว่า 70 ปี จึงมีความผูกพันลึกซึ้งมาก ความเศร้าโศกย่อมมีมากและการแสดงออกก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ  แต่ต้องหากเวลาผ่อนคลาย และดึงไปกิจกรรมอื่นๆ  อย่างไรก็ตาม หากผ่านพ้นช่วงนี้ และมีการคืนรายการโทรทัศน์กลับมาสู่ปกติ  อาจเป็นช่วงเช้า กลางวันและเย็นเพราะรายการเด็ก หรือรายการแม่บ้าน ไม่มีพิษภัย และครอบครัวจะเพิ่มความใส่ใจหันมาถือโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน  ด้วยจิตอาสาหลากหลาย ขณะเดียว สื่อมวลชนก็ควรเลือกสัมภาษณ์ประชาชนที่ดูมีความหวัง มิใช่หดหู่อย่างเดียว   เช่น จะนำพระองค์เป็นแบบอย่าง น้อมนำพระบรมราโชวาท  ซึ่งเป็นไปในทางบวก มีทางออกเกิดขึ้น

“ที่สำคัญขอให้คนไทยลดความขัดแย้ง  โดยเฉพาะกรณีความเห็นต่างในโซเชียลฯ ที่อาจสร้างความไม่สบายใจในสังคม โดยให้มองว่าเป็นคนไม่รู้กาลเทศะ  ไม่รู้อะไรควรหรือไม่ควร  ขอให้พวกเราคิดถึงแต่น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ที่ต้องการเห็นบ้านเมืองมีแต่ความสามัคคี  ไม่มีความรุนแรง  สังคมช่วยได้ด้วยการไม่ส่งต่อข้อความ ไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่ เพราะการแชร์ข้อความทางลบต่อไปอีกนั้น ไม่ส่งผลดีต่อใครเลย” นพ.ยงยุทธ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image