กทม. เตรียมสร้างท่อระบายน้ำ-เวนคืนที่ดินทำ แก้มลิง ภาคกลาง-ใต้ฝนยังหนักถึง 11 พ.ย.

วันที่ 6 พฤศจิกายน นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร(สสนก.) กล่าวว่า จากการตรวจสอบแบบจำลองสภาพอากาศ(วาฟ) พบว่า เวลานี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำที่บริเวณแหลมญวน ได้เคลื่อนที่ไปบริเวณประเทศกัมพูชา แต่มีกำลังไม่แรงนัก นอกจากนี้ ที่บริเวณทะเลอันดามันก็มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง เป็นร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ทั้งนี้ต้อง เฝ้าระวัง หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางล่าง และภาคใต้ตอนบน จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง พบว่า ตั้งแต่ เวลา 5.00 น. มีกลุ่มเมฆหนาแน่นจากหย่อมความกดอากาศต่าได้เคลื่อนเข้าปกคลุมในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกแล้ว

“การคาดการณ์ฝน พบว่า ช่วงวันที่ 7-9 พฤศจิกายน บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่กลับมาปกคุลมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้ง ส่งผลให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะมีฝนจากการปะทะของมวลอากาศในระยะแรก ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีก่าลังแรงขึ น ประกอบหย่อมความกดอากาศต่่าเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางล่าง และภาคใต้ตอนบน จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง และ ช่วงวันที่ 10-13 พฤศจิกายน บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะอ่อนก่าลังลงอีกครั้งในช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน ส่วนส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะยังคงมีก่าลังแรง รวมทั้งจะเกิดการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่่าในทะเลอันดามัน ส่งผลให้จะยังคงมีฝนตกหนักภาคใต้ตอนบน จากนั้นประเทศไทยจะมีฝนลดลงในช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน”นายรอยล กล่าว

นายรอยล กล่าวว่า สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่นั้น พบว่าเวลานี้ มี ปริมาณน่ากักเก็บรวมทั้งประเทศอยู่ร้อยละ 70 โดย เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน่ากักเก็บคงเหลือร้อยละ 51 เป็นน่าใช้การได้จริง 3,103 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากเดือนที่ผ่านมา ที่ระดับน้ำยังอยู่ในระดับน้อยมาก โดยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนนั้น มีน้ำไหลลงอ่างฯ 12.13 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำออกไป 1.07 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่ เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือร้อยละ 81 เป็นน้ำใช้การได้จริง 4,833 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน มีน้ำไหลลงอ่างฯ 7.13 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายออกไป 3.99 ล้านลูกบาศก์เมตร

วันเดียวกัน ที่อาคารศรีจุลทรัพย์ นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรบริหารจัดการน้ำเพื่อวางแผนพัฒนาเมืองในกรุงทเพมหานครและปริมณฑล จัดโดยสถาบันพัฒนาเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทรราธิราช ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในสังกัดกรุงเทพมหานคร(กทม.) ร่วมสถานฑูตเนเธอร์แลนด์ โดยจัดการอบรมตั้งตั้งแต่วันที่ 7-18 พฤศจิกายน

Advertisement

นายจักกพันธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ปัญหาน้ำรอระบายที่เกิดขึ้นในพื้นที่กทม.นั้น เกิดจากหลายปัจจัย 1.ฝนตกหนักในพื้นที่ 2.ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงล้นตลิ่ง เนื่องจากน้ำเหนือไหลบ่า 3.น้ำทะเลหนุนสูง 4.การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่ง บางพื้นที่ในกทม.แผ่นดินจะทรุดตัว ประมาณ 1-3% 5.ระบบระบายน้ำของกทม.ยังไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100% 6.พื้นที่รองรับน้ำไม่เพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันกทม.มีพื้นที่รองรับน้ำ 21 แห่งที่อยู่ในการบริหารจัดการของกทม. สามารถรองรับน้ำได้ 13 ล้าน ลบ.ม. แต่ ต้องการพื้นที่ที่สามารถรับน้ำได้ไม่ต่ำกว่า 21 ล้าน ลบ.ม. โดยขณะนี้ กทม.มีโครงการของสำนักการระบายน้ำ ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อจะสร้างแก้มลิงเพิ่มอีก 6 แห่ง แต่ยังไม่ใช่ระยะเวลาอันใกล้นี้

รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวอีกว่า กทม.พยายามแก้ปัญหาน้ำรอระบายมาโดยตลอด แต่ก็ต้องมองถึงขีดความสามารถในการระบายน้ำของแต่ละพื้นที่ด้วยเช่นกัน ซึ่งการระบายน้ำรอระบายที่เกิดจากฝนตกนั้น เราใช้ท่อระบายน้ำเป็นหลักในการแก้ปัญหา แต่ในกทม.นั้นมีถนน ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 6,400 กม. และมีท่อระบายน้ำซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายขนาดตั้งแต่ 1 เมตร 30 ซ.ม. 40 ซ.ม. 60 ซ.ม. อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ให้งบประมาณจำนวน 2,200 ล้านบาท เพื่อเป็นการขยายท่อระบายน้ำให้มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1.5-2 เมตร โดยจะนำไปวางใต้ท่อเก่าที่มีอยู่ โดยในระยะแรกมีทั้งสิ้น 11 โครงการ งบประมาณ 2,200 ล้านบาท และระยะที่ 2 มีทั้งสิ้น 5 โครงการ งบประมาณ 289 ล้านบาท อย่างไรก็ตามจากถนนทั้งหมด 6,400 กม.นั้น โครงการทั้ง 2 ระยะนั้นทำได้ไม่ถึง 20 กม. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงท่อระบายน้ำนั้นต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image