‘หมอธีระวัฒน์’ เตือนโควิด XBB.1.16 ขณะที่คนไทยหลายโรค พีเอ็ม2.5 ซ้ำ ยิ่งรุนแรง

แฟ้มภาพ

‘หมอธีระวัฒน์’ เตือนโควิด XBB.1.16 ขณะที่คนไทยมีต้นทุนสุขภาพจากหลายโรค เจอพีเอ็ม2.5 ซ้ำ ยิ่งรุนแรง

เมื่อวันที่ 17 เมษายน นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และปัญหาพีเอ็ม2.5 ในไทย ว่า

โควิด เจอ พีเอ็ม = ฉิบหาย

-โควิดสายพันธุ์ย่อยโอมิครอนอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะผันตัวมาจากตัวที่ติดมนุษย์ไปหมดแล้ว ต้องหาทางเจาะใหม่ตามวัฏจักร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรุนแรง

Advertisement

-ที่ไม่ควรรุนแรงเพราะมีภูมิคู่จากวัคซีน (ซึ่งไม่ควรฉีดมากเกินไปเพราะจะทำให้นักฆ่า ระบบภูมิคุ้มกัน T และ inmate ชาชิน เฉื่อย) และภูมิจากการติดตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้ระบบนักฆ่าแข็งแรงมากกว่าวัคซีนด้วยซ้ำ
พีเอ็มซ้ำซากมา 8-9 ปี พินาศมากขึ้นเรื่อยๆ

-พีเอ็ม 2.5 เมื่อหายใจเข้าไปจะแทรกซึมเข้าไปในเลือดไปทุกอณูของร่างกาย

-ค่าปลอดภัยของ PM2.5 คือ 13.3 ทุกๆ ระดับที่สูงขึ้น 10 ความเสี่ยงเส้นเลือดตันเพิ่ม โดยผ่านการกระตุ้นตัว อักเสบ IL1 beta IL-6 TNF alpha และอื่นๆ

Advertisement

-ทุกๆ ปริมาณที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของฝุ่นจิ๋ว 2.5 จนถึง 33.3 จะเพิ่มความเสี่ยงของการตาย 4.14% และสำหรับไนโตรเจนไดออกไซด์เพิ่มความเสี่ยงในลักษณะเดียวกันโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นอีก 1.3%

-ฝุ่นจิ๋ว PM10 จะเสี่ยงตายต่อโรคหัวใจ สูงขึ้นจนถึงระดับ 57.3
ระดับสูงกว่านี้ภาวนากันเอง เมืองไทยไม่เคยมี 33.3 หรือ 57.3 มานานแล้ว
เป็นการรายงานในวารสารของสมาคมโรคหัวใจ (Journal of American College of Cardiology) วันที่ 26 มกราคม 2021 นี่เอง รวมทั้งบทบรรณาธิการ

-รายงานมาจากพื้นที่มณฑลหูเป่ย์ และมีเมืองหลวงก็คืออู่ฮั่น ทั้งนี้ เป็นพื้นที่ที่มีมลภาวะทางอากาศเข้มข้น และทำให้สามารถทำการศึกษาจากคนที่ตายจากโรคหัวใจและเส้นเลือด จำนวน 151,608 ราย ค่าเฉลี่ยรายวันของฝุ่นเล็กจิ๋ว 2.5 ในมณฑลนี้ และในหลายพื้นที่ของประเทศจีนและอินเดียอยู่ที่ 63.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และการที่ได้รับฝุ่นพิษจิ๋วเล็ก 2.5 และจิ๋วใหญ่ขึ้นขนาด 10 ไมครอนภายในหนึ่งวัน หรือในวันนั้นเองจะส่งผลกับการตายอย่างมีนัยยะสำคัญ

สรุป ฉิบหายเพราะโควิดติดง่ายขึ้น เพราะเยื่อบุทางเดินหายใจถูกทำลายจากพีเอ็ม

พีเอ็มทำลายระบบภูมิคุ้มกันแทบทุกระบบ ส่งเสริมความรุนแรงโควิด

กลไก ความรุนแรงทำร้ายมนุษย์เหมือนกันของพีเอ็ม และโควิด

อ่าน นพ.ธีระวัฒน์ ชี้โควิด ผสมฝุ่น PM2.5 ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น

ล่าสุด วันที่ 18 เม.ย. ยังโพสต์ถึงโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 เพิ่มเติมว่า

XBB.1.16 พบในหลายประเทศอาจจะถึง 22 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐและอังกฤษมาระยะหนึ่งแล้ว

ความสามารถในการติดเชื้อเพิ่มขึ้นไม่มากนัก 1.2 เท่า

ในอินเดีย ที่เป็นข่าว
ประชากรประมาณ 1,400 ล้านคน
ตามข้อมูล มีผู้ป่วยโควิด
รายใหม่ 3.5 ราย/ล้าน
เสียชีวิตใหม่ 0.01 ราย/ล้าน
ไม่ได้สูงขึ้นมากจากเดิมนักและควรให้ดูต่อไป

ความสำคัญของการป้องกันไม่ให้อาการหนักและตายยังอยู่ที่
ระบบนักฆ่า T cell เช่น CD8 ที่สามารถสังหารได้กว้างขวางแม้ว่าจะหน้าตาเปลี่ยนไป
นอกจากนั้นยังมีระบบเพชฌฆาตด่านหน้า (innate immunity)

ส่วนแอนติบอดีในน้ำเหลืองนั้นเมื่อมีสายพันธุ์ย่อยต่างๆ นานาจะไม่สามารถจับได้เหมาะเหม็งนัก เลยทำให้มีการติดใหม่ได้

ข้อสำคัญในคนไทยคือต้นทุนสุขภาพ อ้วน เบาหวาน ตับ ไต หัวใจ ปอด แถมด้วยมลพิษระยะยาวที่สะสมไว้และยังไม่หมดไปซักที คือ พีเอ็ม2.5

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image