สัมภาษณ์พิเศษ: เปิดใจ’วิชัย โชควิวัฒน์’ว่าด้วยเรื่อง’ชงเอง-กินเอง’

หมายเหตุ – “นพ.วิชัย โชควิวัฒน” รองประธานคนที่ 2 ในคณะกรรมการกองทุนหนังสือพิมพ์มติชนรายวันสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ด สสส.) เป็น 1 ใน 7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ที่ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจมาตรา 44 สั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งต่อมา นพ.วิชัยระบุว่าเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม และเบื้องหลังมาจากกลุ่มธุรกิจบาป โดยได้เปิดใจกับ “มติชน” นับจากบรรทัดนี้

เป็น 1 ใน 7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ถูกปลด

ผมคงพูดแทนใครไม่ได้ เพราะแต่ละคนล้วนมาจากการสรรหา กล่าวคือ โครงสร้างของบอร์ด สสส.มีจำนวน 21 คน แบ่งเป็น กรรมการโดยตำแหน่ง 12 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน แต่รอบนี้ถูกปลด 7 คน เหลืออีก 2 คน ในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒินั้น ตามกฎหมายกำหนดให้รองประธานคนที่ 2 มาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในจำนวนนี้อีก 8 คนก็มาจากสาขาต่างๆ ทั้งสาธารณสุข การศึกษา ด้านสังคม ด้านกฎหมาย เป็นต้น ทั้งหมดล้วนมาจากความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.)

กระแสปลดบอร์ด สสส.มีมากว่าครึ่งปี

Advertisement

เรื่องการปลดคนในตระกูล ส.เป็นกระแสมาอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานแรกคือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ถูกการใช้อำนาจ โดยหวยไปลงที่ “นพ.วินัย สวัสดิวร” เลขาธิการ สปสช. ซึ่งชัดเจนว่า นพ.วินัยไม่มีความผิด ตรงกันข้ามยังประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่อย่างดี ได้รับรางวัลขององค์กรบริหารกองทุนของรัฐดีเด่นต่อเนื่องทุกปี และปีล่าสุดได้ถึง 2 รางวัล และคนไปมอบรางวัลคือคนที่ออกคำสั่ง ม.44 ส่วน สสส.ถูกกระทำมาเป็นระยะกว่าครึ่งปีแล้ว และมีข่าวว่าจะใช้อำนาจ ม.44 ปลดบอร์ดเช่นกัน แต่เหตุการณ์ก็ผ่านไป

จนกระทั่งต้นเดือนธันวาคม 2558 ก็มีผู้ใหญ่ในฟากรัฐบาลพูดชัดเจนว่าจะมีการใช้อำนาจ ม.44 ปลดบอร์ด ตอนนั้นเราก็แปลกใจ เพราะเรื่องจะปลดบอร์ดมีมาต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องน่าจะคลี่คลาย แต่มาถูกตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ว่าใช้เงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ไม่มีประสิทธิผล ไม่สามารถทำให้เกิดผลดีตามที่ สสส.ควรจะทำ และมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ ซึ่งเป็นการกล่าวหาฝ่ายเดียวและไม่ถูกทำนองคลองธรรมมาตั้งแต่ต้น ที่สำคัญเมื่อ สตง.มาตรวจสอบกลับไปออกข่าวอีก ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ควรจะทำ เพราะ สตง.เป็นหน่วยตรวจสอบระดับชาติ หากตรวจพบสิ่งที่ผิดปกติไม่ถูกต้อง โดยหลักสากลต้องแจ้งให้ผู้รับการตรวจได้ทราบและชี้แจงก่อนจะสรุป ไม่ใช่การออกข่าวจนเกิดความเสียหาย

ที่ผ่านมา สสส.ก็มีการชี้แจงตลอด อย่างกรณี ข้อ 1.สสส.ทำนอกกรอบนั้นไม่จริงเลย เพราะเราทำอยู่ในกรอบ โดยกรอบที่เขียนไว้เป็นกรอบสากลคือ อยู่ในคำจำกัดความของคำว่าสุขภาพตามองค์การอนามัยโลก ว่าสุขภาพ หมายความว่า สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ไม่เพียงปราศจากโรคหรือความพิการเท่านั้น ซึ่งเขียนไว้ชัดเจน ซึ่งไทยก็เป็นสมาชิกขององค์การอนามัยโลก เราก็ยึดตามคำจำกัดความที่เป็นสากล โดย สสส.ทำงานด้านสร้างเสริมสุขภาพ ก็มีองค์กรที่ทำงานด้านนี้ในระดับสากล ซึ่งมีการประชุมครั้งสำคัญในด้านการสร้างเสริมสุขภาพของโลก ที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา หรือกฎบัตรออตตาวา ในปี 2529 ข้อ 2.ข้อกล่าวหาว่ากรรมการมีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยเป็นกรรมการและไปตั้งมูลนิธิเพื่อรับเงิน สสส. ลักษณะชงเองกินเอง ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาร้ายแรง ผมได้ชี้แจงว่าไม่ใช่ เพราะหลักการเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นเรื่องสากล อะไรคือประโยชน์ทับซ้อน หากเป็นประโยชน์ทับซ้อนส่วนตัวของกรรมการ อันนี้ห้ามเด็ดขาด เช่น กรรมการมีกิจการของตัวเอง เป็นบริษัทห้างร้าน จะมาขอทุนจาก สสส.ไม่ได้

Advertisement

แต่หากเป็นส่วนราชการที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่งด้วยนั้น จะมาขอทุน สสส.ก็ไม่ถือว่าผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะกระทรวง ทบวง กรมเป็นหน่วยงานสาธารณะ ความจริงหากกระทรวงสาธารณสุขมาขอทุน สสส. ถามว่ากรรมการที่เป็นผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขนั่งใน สสส.ได้ แต่อยู่ร่วมพิจารณาไม่ได้ อย่างกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิส่วนหนึ่งก็มาจากข้าราชการ เพราะเรามีข้อจำกัดในการเลือกคน เราต้องการคนที่มีความรู้ มีความสามารถ มีประวัติการทำงาน มาบริหารกิจการเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติมากที่สุด จึงต้องสรรหามาจากส่วนราชการ แต่เมื่อมานั่งเป็นกรรมการใน สสส.และอยู่ในส่วนราชการ เราก็ไม่ห้ามส่วนราชการนั้นๆ มาขอทุน อย่างบางคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน เราก็ไม่ได้ห้ามมหาวิทยาลัยนั้นรับทุน เพราะจะไม่เป็นธรรม ซึ่งไม่ถือว่าเป็นประโยชน์ทับซ้อน เรียกว่าเป็นเอกชนสาธารณประโยชน์ ซึ่งกฎหมายเขียนในมาตรา 18 พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 ชัดเจนว่ากรณีดังกล่าวไม่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หลังจากมีการชี้แจงและทางศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เข้ามาจับเรื่องนี้ ก็เปิดโอกาสให้ สสส.เข้าไปชี้แจงต่อ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและประธาน ศอตช. ซึ่งได้ออกมาสรุปชัดเจน

1.ไม่มีเรื่องทุจริต 2.ที่ทำไปไม่นอกกรอบ 3.ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ว่ายังมีเรื่องที่สังคมสงสัยจึงให้ไปดำเนินการ โดยไปแก้ระเบียบข้อบังคับที่อาจมีปัญหา และทำเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นี่คือสถานการณ์ที่เคยประกาศไว้ชัดเจนเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา โดย คตร.ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุขให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง มี นพ.เสรี ตู้จินดา เป็นประธาน เพื่อพิจารณาอะไรไม่ถูกต้องหรือปรับปรุงระเบียบก็แก้ไขให้เรียบร้อย ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ สสส.เข้าไปร่วมด้วย โดยมีตัวแทนผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่ง สสส.มี ทพ.สุปรีดา อดุลยานนท์ รักษาการแทนผู้จัดการ สสส. นายมานิจ สุขสมจิตร ที่ปรึกษา สสส. ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษา สสส. และนายชำนาญ พิเชษฐพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. รวม 4 คนร่วมพิจารณา โดยมีการแก้ระเบียบต่างๆ ตามที่ปรากฏเป็นข่าว ซึ่งตัวแทนของ สสส.ไม่ได้คัดค้านใดๆ ที่สำคัญ สสส.ยังบอกอีกว่าข้อบังคับยังไม่ครบ เพราะ คตร.บอกว่าให้ทำกรอบข้อบังคับให้ชัดเจนขึ้น เพราะคณะกรรมการชุด นพ.เสรีแก้แต่ระเบียบ ดังนั้น สสส.เป็นผู้เสนอให้ทำด้วย จึงมีการร่างระเบียบข้อบังคับเพื่อตีกรอบให้ชัดมากขึ้น โดย สตง.บอกว่า สสส.ไม่ได้ทำประมวลจรรยาบรรณตามระเบียบ กพร. แม้กฎหมาย สสส.จะไม่บังคับ แต่เราก็ทำเพิ่มโดยมีข้อกำหนดจรรยาบรรณเข้าไปอีก และเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เมื่อทาง คตร.สั่งมาและอยากให้เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนตีกรอบให้แคบลงตามกฎหมายกำหนด โดยระบุให้กรรมการที่นั่งในมูลนิธิห้ามมาของบจาก สสส.เพื่อไม่ให้เป็นข้อติติงได้อีก ก็เขียนเพิ่มและเสนอคณะกรรมการชุดนั้น ดังนั้นทุกอย่างเป็น

กระบวนการหมด ซึ่งการจะใช้ ม.44 ควรมีเหตุผลเพียงพอ เพราะการปลดบอร์ดไม่มีเหตุผลก็อาจเป็นการกลั่นแกล้งหรือใช้อำนาจไม่ชอบธรรม

สิ่งที่เกิดขึ้นกับ สสส.และ สปสช.มีสาเหตุมาจากเรื่องใด

ผมนั่งอยู่ทั้งบอร์ด สปสช.และ สสส. โดยบอร์ด สปสช.ผมเป็นตัวแทนองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ด้านผู้สูงอายุ โดยจากคำสั่งปลด นพ.วินัยก็จะเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง สสส.ก็อีกเหตุผลหนึ่ง แต่ สสส.ผมอาจเข้าใจผิดพลาด แต่ผมเชื่อว่ามาจากธุรกิจบาป คือบุหรี่ เหล้าเป็นเหตุสำคัญ เพราะ สสส.ทำงานได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้ง สสส. และตามที่ควรจะเป็น ซึ่งกระทบต่อธุรกิจบาปค่อนข้างมาก

เพราะอะไรจึงมองว่าเป็นเช่นนั้น

วิธีการเช่นนี้ทำมาแล้วในต่างประเทศ อย่างในวิกเฮลธ์ (Vic Health) รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นต้นแบบ สสส. โดยองค์กรนี้เก็บจากภาษีบุหรี่นำมาทำเรื่องสุขภาพซึ่งได้ผลดี ปรากฏว่าธุรกิจบุหรี่ก็ไปยื่นเรื่องฟ้องว่ากฎหมายที่ทำให้เกิดวิกเฮลธ์ว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลที่นั่นก็ยืนตาม แต่ประชาชนออสเตรเลียในรัฐวิกตอเรียเห็นว่าองค์กรแบบนี้จำเป็นต้องมี จึงได้ออกกฎหมายใหม่ซึ่งไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และได้ก่อตั้งองค์กรขึ้นใหม่ซึ่งมีอยู่ในทุกวันนี้และเป็นต้นแบบสำหรับประเทศไทย โดยไทยเมื่อมี สสส.เห็นว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จึงมีกระบวนการบางอย่างทำให้กฎหมาย สสส. ขัดรัฐธรรมนูญขึ้น เหตุเกิดขึ้นเมื่อครึ่งปีก ว่ามานี้ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดที่แล้ว ซึ่งกำลังร่างรัฐธรรมนูญช่วง 2-3 เดือนสุดท้าย และปิดห้องรัฐธรรมนูญไม่ยอมให้สื่อไปร่วมฟังด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ในช่วงนั้นเองมีเพิ่มบทบัญญัติรัฐธรรมนูญซึ่งหากออกมาแล้ว สสส.จะสิ้นสภาพในอีก 4 ปี โดยการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีตัวแทนบริษัทบุหรี่เข้าไปพัวพันใกล้ชิดอยู่ในกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งเป็นการทำแบบลับๆ แต่มีข่าวเล็ดลอดออกมา จึงทำให้มีการคัดค้านขึ้นจนต้องยุติไป

ทราบหรือไม่ว่าเป็นใคร

ผมทราบ แค่พูดไม่ได้ รู้แค่ว่าใหญ่ แต่ไม่ขอพูดดีกว่า

ทำไมต้องมาปลดที่ นพ.วิชัย

การปลดครั้งนี้ปลดแค่ 7 จาก 9 คน เหลือ 2 คน คือ นางทิชา ณ นคร มาในสายราชการ เพราะเป็นผู้บริหารของบ้านกาญจนพิเษก กระทรวงยุติธรรม อีกคนคือ นายชำนาญ พิเชษฐพันธ์ เป็นนักกฎหมาย สสส. เมื่อปลด 7 คน พวกเราก็งง ก็มานั่งดูกันว่าเพราะอะไร เนื่องจากในคำสั่งไม่ได้อธิบายเหตุผล ก็พบว่า 7 คนนี้มีชื่ออยู่ในมูลนิธิที่รับทุนและเคยรับทุนของ สสส. จากรายงานของ คตร. เราจึงเชื่อว่ามีส่วนทำให้ถูกปลดด้วย แต่ใน 7 คนนี้บางคนเคยรับทุนในอดีต แต่ตอนมาเป็นบอร์ดไม่ได้รับแล้ว ซึ่งการตรวจสอบอาจไม่ได้เปรียบเทียบช่วงเวลา ขณะที่บางคนลาออกจากมูลนิธิหรือองค์กรแล้ว ซึ่งเป็นคำสั่งโดยมิชอบ


มีโอกาสได้พบใครก่อนถูกปลดหรือไม่

ไม่มีเลย ส่วนตัวผม ผมทำงานที่ไหนไม่เคยยึดติด แต่เตรียมตัวเตรียมใจ ผมเป็นชาวพุทธ ผมเชื่อในพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนั้นตำแหน่งหน้าที่เป็นอนิจจัง ถูกผิดเป็นเรื่องของคนออกคำสั่ง

คิดว่ากำลังต่อสู้กับใคร

ส่วนตัวผมเรื่องนี้ต่อสู้กับธุรกิจบาป ถ้าจะเสียใจก็ตรงที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจในทางที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจบาป ทั้งๆ ที่ควรตัดสินใจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ผู้มีอำนาจต้องปกครองประเทศด้วยธรรม ผมเชื่อว่าขณะนี้กำลังต่อสู้กับธุรกิจบาป ส่วนจะเกี่ยวกับการเมืองหรือไม่ผมไม่อยากวิเคราะห์ แต่ผมชัดเจนว่ามาจากธุรกิจบาป และนี่คือชัยชนะของธุรกิจบาป เพราะที่ผ่านมาเขากระทบมาก เห็นได้จากธุรกิจบุหรี่กำลังลำบากจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐ เพราะมีคนไข้ที่ป่วยมะเร็งเขาฟ้องบริษัทบุหรี่ว่าเป็นเหตุให้เขาเป็นมะเร็ง เนื่องจากมีงานวิจัยมากระบุว่าบุหรี่เป็นเหตุให้เป็นมะเร็งปอด แต่ส่วนใหญ่ก็ แพ้คดีเพราะพิสูจน์ค่อนข้างยาก แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้กระบวนการยุติธรรมใหม่ขึ้นใช้วิธีฟ้องแบบ กลุ่ม ให้กลุ่มผู้เสียหายร่วมกันฟ้อง และให้รัฐฟ้องแทน เพราะรัฐเสียหายจากการเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลประชาชนจากโรคที่มาจากบุหรี่ โดยคนไข้จำนวนมากมาร่วมเป็นพยานให้ ทำให้การฟ้องคดีถูกคู่ เพราะรัฐมีทนายแผ่นดินเข้าไปต่อสู้ จนทำให้บริษัทบุหรี่ยอมความและจ่ายค่าเสียหายให้จำนวนมหาศาล นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในหลายรัฐของสหรัฐ และเรื่องเหล่านี้จะลามมายุโรป ธุรกิจบุหรี่จึงเซ จึงต้องหาลูกค้าทางเอเชียมาทดแทน ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเป้าหมายที่ธุรกิจบุหรี่ต่อสู้ให้ได้ เพราะไทยเป็นประเทศเล็กพริกขี้หนู เราทำงานบุหรี่ได้ดีจนทำให้บริษัทบุหรี่มีบาดแผลมาก เมื่อปี 2529 เป็นต้นมาได้มีการต่อสู้กับบริษัทบุหรี่เข้มข้นมาก ซึ่งไทยต่อสู้มาตลอด

ส่วนตัวผมเรื่องนี้ต่อสู้กับธุรกิจบาป ถ้าจะเสียใจก็ตรงที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจในทางที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจบาป ทั้งๆ ที่ควรตัดสินใจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ผู้มีอำนาจต้องปกครองประเทศด้วยธรรม ผมเชื่อว่าขณะนี้กำลังต่อสู้กับธุรกิจบาป ส่วนจะเกี่ยวกับการเมืองหรือไม่ผมไม่อยากวิเคราะห์ แต่ผมชัดเจนว่ามาจากธุรกิจบาป และนี่คือชัยชนะของธุรกิจบาป เพราะที่ผ่านมาเขากระทบมาก เห็นได้จากธุรกิจบุหรี่กำลังลำบากจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐ เพราะมีคนไข้ที่ป่วยมะเร็งเขาฟ้องบริษัทบุหรี่ว่าเป็นเหตุให้เขาเป็นมะเร็ง เนื่องจากมีงานวิจัยมากระบุว่าบุหรี่เป็นเหตุให้เป็นมะเร็งปอด แต่ส่วนใหญ่ก็ แพ้คดีเพราะพิสูจน์ค่อนข้างยาก แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้กระบวนการยุติธรรมใหม่ขึ้นใช้วิธีฟ้องแบบ กลุ่ม ให้กลุ่มผู้เสียหายร่วมกันฟ้อง และให้รัฐฟ้องแทน เพราะรัฐเสียหายจากการเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลประชาชนจากโรคที่มาจากบุหรี่ โดยคนไข้จำนวนมากมาร่วมเป็นพยานให้ ทำให้การฟ้องคดีถูกคู่ เพราะรัฐมีทนายแผ่นดินเข้าไปต่อสู้ จนทำให้บริษัทบุหรี่ยอมความและจ่ายค่าเสียหายให้จำนวนมหาศาล นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในหลายรัฐของสหรัฐ และเรื่องเหล่านี้จะลามมายุโรป ธุรกิจบุหรี่จึงเซ จึงต้องหาลูกค้าทางเอเชียมาทดแทน ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเป้าหมายที่ธุรกิจบุหรี่ต่อสู้ให้ได้ เพราะไทยเป็นประเทศเล็กพริกขี้หนู เราทำงานบุหรี่ได้ดีจนทำให้บริษัทบุหรี่มีบาดแผลมาก เมื่อปี 2529 เป็นต้นมาได้มีการต่อสู้กับบริษัทบุหรี่เข้มข้นมาก ซึ่งไทยต่อสู้มาตลอด

จากนี้จะกู้ชื่อเสียงอย่างไร

ผมไม่ติดเรื่องชื่อเสียง ผมไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ทุกอย่างเสื่อมได้หมด

การถูกปลดครั้งนี้คือจบแล้วใช่หรือไม่

จบไม่จบอีกเรื่อง แต่สำหรับส่วนตัวผม หลายคนอยากให้ผมเคลื่อนไหวต่อสู้ แต่ผมแก่แล้ว อายุเกือบ 69 ปีในอีกไม่กี่เดือน ทุกเช้าตื่นขึ้นมารู้ว่ายังหายใจอยู่ก็พอใจแล้ว

มาถึงบรรทัดนี้ นพ.วิชัยทิ้งท้ายเพียงว่า “ขอปล่อยวาง”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image